Page 57 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 57

แนวคิดเกี่ยวกับส่ือและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1-47

ใช้แอนิเมชัน เพ่ือแสดงให้เห็นถึงโมเลกุลของน้�ำท่ีเปล่ียนไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจากน�้ำที่เป็น
ของเหลวจนกลายเป็นน้�ำแข็งท่ีเป็นของแข็ง หรือเมื่อเดือดจนกลายเป็นไอ หรือการสร้างประสบการณ์ใน
การเรียนผ่านทางการจ�ำลองสถานการณ์ เช่น การฝึกการผ่าตัดจ�ำลอง

            นอกจากน้ันการใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสารยังชว่ ยให้ผูเ้ รยี นสามารถท�ำการศกึ ษา
ทดลองได้รวดเร็วและมากขึ้นกว่าการเรียนในห้องปฏิบัติการปกติ เนื่องจากโปรแกรมหรืออุปกรณ์ดิจิทัล
สามารถจดั เตรยี มไดเ้ รว็ กวา่ การเตรยี มการในหอ้ งปฏบิ ตั กิ าร เชน่ ตอ้ งการใชส้ ารเคมปี รมิ าณ 3 กรมั กส็ ามารถ
พิมพ์หรือใส่ข้อมูลลงไปได้เลยโดยไม่ต้องน�ำสารเคมีมาช่ังให้ได้ปริมาณตามที่ก�ำหนด หรือหากต้องการเพ่ิม
หรือลดอุณหภูมิก็สามารถด�ำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้อุณหภูมิค่อย ๆ เพิ่มไปจนถึงจุดที่ก�ำหนด
สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนมีเวลามากขึ้นในการศึกษาในห้องปฏิบัติการเสมือน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้และ
มีทักษะที่สูงกว่าเน่ืองจากมีเวลาในการศึกษาและท�ำการทดลองมากกว่าการเรียนในห้องปฏิบัติการปกติ
ที่จะต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งไปกับการเตรียมการทดลอง

            4) 	ส่งเสรมิ ทักษะการเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21
            กรอบการเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี 21 (Framework for 21st Century Learning) ไดถ้ กู พฒั นาขนึ้
โดยการรวมตัวของบริษัทเอกชน ผู้น�ำทางการศึกษา และหน่วยงานท่ีมีอ�ำนาจหน้าท่ีในการก�ำหนดนโยบาย
ด้านการศึกษาของรัฐ ก่อต้ังเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ Partnership for 21st Century Learning
เรียกย่อ ๆ ว่า “เครือข่าย P21” เครือข่ายน้ีมีความกังวลและเห็นความจ�ำเป็นท่ีเยาวชนจะต้องมีทักษะส�ำหรับ
การออกไปด�ำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้
ในศตวรรษท่ี 21 ข้ึน โดยสามารถสรุปทักษะส�ำคัญอย่างย่อ ๆ ได้ว่า ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จะต้องเป็นผู้ที่
มีทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ซ่ึงจาก
การน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน
พัฒนาทักษะเหล่าน้ีได้เป็นอย่างดี
            นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารมาใช้ในการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมและพัฒนาในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น

                - 	ช่วยพัฒนาคุณภาพในการเรียนการสอน
                - 	สนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
                - 	ช่วยการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
                - 	ช่วยพัฒนาทักษะในการสื่อสาร
                - 	ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์
                - 	ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
                - 	ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนและสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกและง่ายข้ึน

              หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเรื่องที่ 1.3.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 1.3.1
                      ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 1 ตอนท่ี 1.3 เร่ืองที่ 1.3.1
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62