Page 55 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 55
สื่อท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา 2-45
เรื่องที่ 2.2.3 สอ่ื และแหลง่ เรยี นรทู้ ใี่ ชส้ ำ� หรบั การสำ� รวจทางชวี วทิ ยา
การส�ำรวจทางชีววิทยาท่ีจะกล่าวถึงในเร่ืองน้ี เป็นการส�ำรวจหรือการศึกษานอกสถานที่ คือ การพา
ผู้เรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้ท่ีอยู่นอกโรงเรียน เช่น ต้องการให้ผู้เรียนศึกษา เร่ือง ระบบนิเวศแบบน้ําเชี่ยว
ก็อาจพาผู้เรียนไปศึกษาบริเวณนํ้าตก ต้นนํ้า ลําธาร แม่น้ําหรือลําคลอง ซ่ึงผู้เรียนจะได้พบเห็นการดํารงชีวิต
ของพืชและสัตว์ การปรับตัวให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่อาศัย หรือต้องการให้ผู้เรียนศึกษา เรื่อง การจัด
หมวดหมู่ของสัตว์ อาจให้ผู้เรียนเก็บตัวอย่างสัตว์ เพื่อนํามาศึกษาในห้องปฏิบัติการ เช่น การไปจับแมลง
ในสวน ไปรวบรวมสัตว์น้ําจากสะพานปลา เป็นต้น
สื่อที่เป็นแหล่งเรียนรู้และวิธีการท่ีให้ผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่มีจุดเด่นมาก เพราะเป็นการศึกษา
จากสภาพการณ์ท่ีเป็นจริง ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรง เพราะสิ่งท่ีได้เห็นในธรรมชาติบางอย่าง
ไม่สามารถนําเข้ามาในห้องเรียนได้ และบางอย่างยากท่ีจะอธิบายให้เข้าใจเท่ากับการศึกษาจากของจริง
ในเร่ืองน้ีจะกล่าวถึงแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ส�ำหรับการส�ำรวจทางชีววิทยาและอุปกรณ์ที่ใช้ส�ำหรับ
การส�ำรวจทางชีววิทยา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. แหลง่ เรยี นรทู้ ่ีใชส้ ำ� หรับการส�ำรวจทางนิเวศวทิ ยา
แหล่งเรียนรู้ที่ใช้เพื่อให้ผู้เรียนส�ำรวจทางนิเวศวิทยาน้ันมีมาก ผู้สอนสามารถพิจารณาเลือกใช้ได้
ตามจุดประสงค์การเรียนรู้และตามบริบทท่ีตั้งของแหล่งเรียนรู้ท่ีอยู่ในบริเวณโรงเรียนหรือบริเวณที่ไม่ไกล
จากโรงเรียนมากนัก เช่น ท่ีรกร้างว่างเปล่า ป่าไม้หรือสวนป่า สวนผักและผลไม้ สถานเพาะเลี้ยงผึ้ง ล�ำห้วย
หรือบ่อน้ํา เป็นต้น
1.1 ที่รกร้างว่างเปล่า เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เรียนสังเกตและเรียนรู้เก่ียวกับการทดแทน
ทางนิเวศวิทยา (ecological succession) ซ่ึงเริ่มตั้งแต่พืชบุกเบิก (Pioneer plants) และเริ่มถูกแทนท่ีด้วย
พืชอื่น ๆ จนเป็นบริเวณพ้ืนที่ซึ่งเติบโตเต็มที่ เช่น ป่า
1.2 ป่าไม้หรือสวนป่า เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครูผู้สอนสามารถน�ำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้ค้นพบ
ส่ิงต่าง ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของสัตว์และพืช การศึกษาความเป็นอยู่ของสัตว์และพืช การ
คน้ พบแหลง่ ทอ่ี ยอู่ าศยั ของสตั ว์ การพงึ่ พาซง่ึ กนั และกนั ของพชื และสตั ว์ อทิ ธพิ ลของสง่ิ แวดลอ้ มทางกายภาพ
ที่มีต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ ปริมาณของแสงอาทิตย์ ตัวอย่างของประโยชน์และอันตรายของ
พืชและสัตว์
1.3 สวนผักและผลไม้ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ผู้สอนสามารถน�ำไปใช้สอนผู้เรียนให้ทราบถึงวิธีการท่ี
พืชได้รับแสง ความช้ืน และสิ่งที่จ�ำเป็นต่อการเจริญเติบโตพืช การแพร่กระจายของเมล็ดพืช การผสมเกสร
ของดอกไม้ท้ังภายในดอกเดียวกันและข้ามดอก การงอกของเมล็ดพืชและการเจริญเติบโต การสังเกต
ผลของแสง อุณหภูมิ และความชื้น ที่มีต่อการเติบโตของพืช