Page 14 - สื่อ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
P. 14

5-4 ส่ือ นวัตกรรม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ความนำ�

       วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีมุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์
ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และสิ่งของต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ในโลกรอบตัวทั้งสิ่งท่ีมีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยสนับสนุนให้
ผู้เรียนได้ค้นพบและเรียนรู้ความเป็นไปของปรากฏการณ์ของส่ิงต่าง ๆ น้ันด้วยตนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เม่ือ
ผเู้ รยี นสามารถเชอ่ื มโยงประสบการณห์ รอื ความรทู้ ม่ี อี ยเู่ ดมิ กบั ประสบการณห์ รอื ความรใู้ หม่ เกดิ กระบวนการคดิ
ทางวิทยาศาสตร์ โดยผ่านกิจกรรมท่ีต้องสืบค้นหรือแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น กิจกรรมการทดลองหรือ
การสร้างแบบจ�ำลอง ผนวกกับการอภิปรายแลกเปล่ียนความคิดของตนเองกับผู้อื่น ดังน้ัน สื่อการสอนที่ใช้
ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงต้องมีลักษณะที่สอดคล้อง และเป็นส่วนประกอบส�ำคัญให้เกิดผล
ดังท่ีกล่าวขึ้นได้

       ส่ือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีหลายประเภท มีการจัดกลุ่มตามเกณฑ์ที่ใช้แบ่งหลายเกณฑ์
ดงั เช่น สุนนั ท์ สังขอ์ ่อง (2550) ไดร้ ะบุถงึ การจดั แบง่ ส่อื การเรียนการสอนเป็น 3 ประเภท ไดแ้ ก่ วัสดุ อปุ กรณ์
และวิธีการ โดยส่ือประเภทวัสดุ เป็นวัสดุส้ินเปลือง ที่บุบสลาย ผุพังได้ง่าย ในวิชาวิทยาศาสตร์ ส่ือวัสดุคือ
สารเคมีต่าง ๆ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต แผนภาพต่าง ๆ ภาพถ่าย สไลด์ ส่ือประเภทอุปกรณ์เป็นสื่อที่มีความคงทน
ถาวรนำ� มาใชไ้ ดห้ ลายครง้ั โดยอาจใชเ้ ฉพาะหรอื ใชร้ ว่ มกบั สอ่ื ประเภทวสั ดกุ ไ็ ด้ ในวชิ าวทิ ยาศาสตร์ สอื่ อปุ กรณ์
ได้แก่ เครื่องมือท่ีใช้ในห้องปฏิบัติการ แผ่นป้าย หุ่นจ�ำลอง เคร่ืองฉาย คอมพิวเตอร์ และสื่อประเภทวิธีการ
ได้แก่ การจัดระบบ เกม หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหน่ึงที่ผู้สอนจัดไว้เพื่อถ่ายทอดความรู้ หรือกระบวนการ
โดยอาจใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ด้วย ซ่ึงอาจกล่าวได้ว่า วิธีสอนที่จัดระบบเป็นข้ันตอนอย่างดีแล้วก็ถือเป็น
สื่อประเภทกระบวนการได้ ในวิชาวิทยาศาสตร์ ส่ือประเภทวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เกม การ
แสดงบทบาทสมมติ การจ�ำลองสถานการณ์ การไปทัศนศึกษา กิจกรรมอิสระ และกิจกรรมโครงงาน ซ่ึงใน
กระบวนการต่าง ๆ อาจประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ที่แต่ละข้ันตอนก็อาจต้องใช้ส่ืออ่ืน ๆ ประกอบได้อีกด้วย

       ในการจัดการเรยี นการสอนวิทยาศาสตร์ครูตอ้ งออกแบบกจิ กรรมการเรยี นรู้ให้มลี ักษณะสอดคลอ้ ง
กับเน้ือหาและธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ เครื่องมือส�ำคัญของครูคือการใช้ความรู้เร่ืองวิธีสอนแบบ
ต่าง ๆ ซ่ึงแต่ละวิธีสอนจะมีข้ันตอนต่าง ๆ ที่เรียงล�ำดับไว้แล้วอย่างดีให้ครูใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ
กิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
และในขั้นตอนต่าง ๆ ในแต่ละวิธีสอนน้ันจะต้องใช้ส่ือที่เหมาะสมซ่ึงจะสามารถท�ำให้การท�ำงานของครู
วิทยาศาสตร์ประสบความส�ำเร็จได้โดยง่าย เพียงแต่ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในวิธีสอนแบบ
ต่าง ๆ และสามารถคิดเชื่อมโยงไปถึงการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม ประกอบกับการพิจารณาประเภทของสื่อ
การสอนวิทยาศาสตร์ ตามการแบ่งประเภทสื่อการเรียนการสอนตามลักษณะประสบการณ์ของเอ็ดการ์ เดล
(Dale, 1964 อ้างถึงใน นิคม ทาแดง, 2527, น. 91-92) ที่ได้แบ่งประเภทของส่ือการสอนเป็น 10 ประการ
คือ 1) ประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนเจตนารับเป็นสื่อของจริง 2) ประสบการณ์จากสถานการณ์จ�ำลองและ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19