Page 18 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 18

4-8 พืน้ ฐานสงั คมและวัฒนธรรมเขมร

เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่คนในสังคมส่วนใหญ่ยังคงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและดารงชีวิตโดยอาศัยธรรมชาติ
ซง่ึ ทาใหส้ มาชิกหลกั ในครอบครัวมหี นา้ ทดี่ ังจะกล่าวตอ่ ไป

       ผ้ชู าย หน้าทห่ี ลกั คือหาเลีย้ งและเปน็ ผนู้ าครอบครวั ชาวเขมรจงึ มคี า่ นยิ มเก่ียวกบั ผู้ชายว่าต้องมี
ความรู้เพ่ือนาพาครอบครัวไปสู่ความเป็นอยู่ท่ีดี นอกจากน้ีผู้ชายสามารถเล่ือนสถานภาพท่ีสูงกว่าชาติ
กาเนิดของตนเองได้โดยการบวชหรือรับราชการ (Ross Russell R., 1987: 99) สังคมเขมรกาหนด
ลักษณะทด่ี ขี องผูช้ าย หรือบรุ ุษครบลกั ษณ์ ไว้วา่ “หาของประดบั ตกแตง่ ให้ภรรยา ลกู หลาน และตนเอง”
คากล่าวนี้เปน็ คณุ ลักษณะประการหน่ึงของผชู้ ายท่เี ปน็ สามพี ึงกระทา

       ชาวเขมรมีค่านิยมกับลูกชายวา่ มีหน้าท่ีศึกษาเล่าเรยี น เน่ืองจากการศึกษาจะทาให้เปน็ หัวหนา้
ครอบครัวที่สมบูรณ์ในอนาคตได้ คา่ นยิ มดงั กล่าวสว่ นหน่งึ สะท้อนได้จากภาษิตสานวน ดังตวั อยา่ ง

           “ผู้หญิงมีรูปเป็นทรัพย์ ผ้ชู ายมีความรู้เป็นสมบตั ิ”
           “ชาติตระกลู ดี ยากจนความรู้ ถือว่าต้อยตา่ ”

       ภาษิตสานวนข้างต้นแสดงว่าความรู้เป็นสิ่งจาเป็นสาหรับผู้ชาย ที่จะช่วยเลื่อนสถานภาพทาง
สังคม นอกจากนีย้ ังมีค่านิยมว่าผู้ชายควรทางานราชการ เพราะเป็นอาชีพทม่ี ีเกยี รติ มีอานาจ และสรา้ ง
ชอ่ื เสียงให้แกค่ รอบครวั และวงศต์ ระกลู และเปน็ ทย่ี กย่องของคนในสงั คม (อุบล เทศทอง, 2548) ในขณะ
ท่ีลูกชายในชนบทจะเป็นแรงงานสาคัญสาหรับงานเกษตรกรรมและต้องรับหน้าที่สืบทอดอาชีพ โดย
อาศยั สมาชิกในครอบครวั เป็นแรงงานสาคญั

       ผู้หญิง สังคมเขมรเป็นสังคมแบบมาตาธิปไตย1 สืบสายเลือดหรือมรดกทางฝ่ายหญิง ตามท่ีได้
กลา่ วไวแ้ ลว้ ว่าหลงั จากพธิ แี ตง่ งาน ฝ่ายชายจะตอ้ งเขา้ ไปอยใู่ นบา้ นฝา่ ยหญงิ ดังนนั้ สถานภาพของผู้หญิง
ท่ีเป็นภรรยาในครอบครัวจึงมีมาก นอกจากนี้ภรรยาหรือแม่เปรียบเสมือนหางเสือเรือท่ีนาพาครอบครัว
ไปสู่ทางท่ีปรารถนา ครอบครัวใดจะมีฐานะดีหรือไม่ ลูกจะฉลาดหรือไม่ ล้วนเป็นส่ิงสาคัญท่ีแม่ต้องดูแล
ในภาษาเขมรมสี านวนท่สี ะทอ้ นวา่ ผู้หญงิ ในครอบครวั มีความสาคัญ เช่น

           “สามีเป็นผู้หาทรัพย์ ภรรยาเป็นผู้ดแู ล”
           “ไม่เช่ือคาสตรี ไม่มีข้าวเปลือกไว้ทานา”
           “ทรัพย์สมบตั ิคงอยู่ได้เพราะภรรยารู้เกบ็ บ้านอยู่ได้เพราะภรรยาดี”

         1 แม้จะมีข้อโต้แย้งว่ากัมพูชาไม่ใช่สังคมแบบมาตาธิปไตยก็ตาม แต่ในที่น้ีอาศัยหลักฐานทางภาษาและวัฒนธรรมเป็น
สาคัญ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23