Page 20 - พื้นฐานสังคมเเละวัฒนธรรมเขมร
P. 20
4-10 พืน้ ฐานสังคมและวฒั นธรรมเขมร
แนวตอบกจิ กรรม 4.1.1
1. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะครอบครัวเขมรคือสงคราม ท่ีทาให้ทั้งจานวนและลักษณะ
ครอบครัวชาวเขมรเปลีย่ นแปลง และระบบสาธารณสขุ ท่ียงั ไม่ดีพออันทาให้เดก็ ชาวเขมรเสยี ชวี ิตในชว่ ง
วยั 1-5 ปี
2. บทบาทของผู้ชายคือเป็นผู้นาและหาเล้ียงครอบครัว ผู้ชายจึงต้องมีความรู้เพ่ือนาพา
ครอบครัวไปสู่ความเป็นอยู่ท่ีดี ส่วนเด็กชายมีหน้าที่ต้องศึกษาเล่าเรียนเพ่ือเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดใี น
อนาคต
เร่ืองที่ 4.1.2
กลุ่มคนในสังคม
คนเช้ือสายเขมรเป็นคนกลุ่มหลักในสังคม และยังมีคนกลุ่มต่างๆ ทั้งที่ใช้ภาษาเขมรหรือใช้
ภาษาอ่ืน บางกลุ่มมีไม่มาก เช่น พะนอง (Pnong) ซะเตียง (Stieng) ซึ่งรวมกันแล้วอาจไม่ถึงร้อยละ 1
ของคนทงั้ ประเทศ ในขณะที่บางกลุม่ กม็ ีจานวนมากพอควร เช่น คนเชอื้ สายเวยี ดนาม จีน ฯลฯ
ความสืบเน่ืองทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมที่ยาวนานกว่าสองพันปี ย่อมส่งผลให้มีคนกลุ่ม
ต่างๆ หลายกลุ่มอยู่ในสังคมเขมร จานวนประชากรหลังส้ินสงครามในช่วงทศวรรษที่ 1970 มีเพียง 7
ลา้ นคน แต่ดว้ ยอตั ราเกิดที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 3 ทกุ ปี ทาใหป้ จั จบุ นั มีประชากรกว่า 17 ลา้ นคน ในจานวนนี้
กว่าร้อยละ 85 อาศัยอยู่ในชนบท ชาวเขมรใช้ท่ีดินเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมเพียงร้อยละ 30 ของ
พื้นท่ีประเทศ (David Chandler, 1986: 22) หากเทียบสัดส่วนการใช้ประโยชน์จากท่ีดินจะพบว่าพื้นท่ี
ท้ังประเทศซึ่งมขี นาดเลก็ ในเอเชียตะวันออกเฉยี งใตอ้ ยู่แล้ว ก็ยังใช้ประโยชน์จากพน้ื ทน่ี อ้ ยลงไปอีก
สังคมเขมรมีคนกลุ่มต่างๆ กว่า 20 กลุ่ม บางกลุ่มเป็นคนกลุ่มด้ังเดิมท่ีตั้งรกรากมายาวนาน
บางกลุ่มเขา้ มาตั้งรกรากด้วยเหตผุ ลทางเศรษฐกจิ หรือการเมอื งการปกครอง กลุม่ คนท่ีสาคญั มีดังน้ี
1. คนเชื้อสายเขมรหรือชาวเขมร เป็นคนกลุ่มใหญ่ท่ีสุด ลักษณะของชาวเขมรคือผิวคล้ากว่า
คนไทยและคนเวียดนาม ผมหยักศกจนถึงหยิก มีความสูงไล่เล่ียกับคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน