Page 14 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 14
2-4 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
คำ� ชีแ้ จง เรือ่ ง “ชอ่ื หนว่ ยที่ 2 และช่อื ตอนในหน่วยท่ี 2”
“การคน้ ควา้ และการนำ� เสนอวรรณกรรมทเี่ กย่ี วขอ้ ง” เปน็ ขนั้ ตอนหนงึ่ ของกระบวนการวจิ ยั มคี วาม
เป็นมาของการใช้ชื่อขั้นตอนนี้หลายแบบ ในระยะแรกต่างกันตามข้อก�ำหนดของวารสาร ท�ำให้มีการใช้ช่ือ
แตกต่างกัน เช่น งานวิจัยของ Schaefer & Bell (1958) ใช้ชื่อ ‘การทบทวนงานวิจัยในอดีต (Review of
Previous Studies)’ Cannell, Miller, & Oksenberg (1981) ใช้ช่ือ ‘มุมมอง (Perspectives)’ Kidd &
Hayden (2015) ใช้ช่ือ ‘ภูมิหลัง (Background) เป็นต้น ต่อมา AERA (2006, 2009, APA (2010),
Nilesen (2007) ได้จัดท�ำและประกาศใช้มาตรฐานการเขียนรายงานวิจัย โดยระบุให้ใช้ช่ือ ‘การทบทวน
วรรณกรรม (Literature Review)’ รายงานวิจัยและวารสารในเครือ AERA และ APA ช่วงปี ค.ศ. 2006
และ 2010 จึงเขียนรายงานวิจัยที่จะพิมพ์ในวารสารตามมาตรฐานดังกล่าว ต่อมา APA และคณะกรรมการ
Communication Board Working Group on Journal Article Reporting Standards (JARS-quali
Workng Group) ไดร้ ว่ มกนั ดำ� เนนิ งานกำ� หนดมาตรฐานการเขยี นบทความวจิ ยั ทพ่ี มิ พใ์ นวารสารกลมุ่ JARS
ส�ำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Appelbaum, Cooper, Kline, Mayo-Wilson, Nezu, &
Rao, 2018; Levitt, Bamberg, Creswell, Frost, Hosselson, & Suarez-Orozco, 2018) มาตรฐาน
ดังกล่าวก�ำหนดให้ใช้ช่ือหัวข้อว่า ‘Introduction’ โดยมีสาระระบุ ‘ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา
วิจัย การทบทวนวรรณกรรม (literature review) และปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์วิจัย’ และประกาศใช้
อย่างเป็นทางการโดยความเห็นชอบของ APA เน่ืองจากวารสารในกลุ่ม JARS มีจ�ำนวนมาก ดังนั้นบทความ
ในวารสารที่พบส่วนใหญ่ระยะหลังส่วนใหญ่จึงใช้ชื่อหัวข้อ Introduction และมีหัวข้อย่อยตามประเด็นใน
การทบทวนวรรณกรรม (literature review) ทั้งส้ิน ดังตัวอย่างงานวิจัยของ Abdel & El-Dakhs (2018),
Averil (2006), Hanks (2019), Orsi (2017), Soresia, Notaa, & Wehmeyerb (2011), Suna & Hsu
(2019), Tsenga, Chen, Hub, & Linda (2017)
ส�ำหรับวารสารของไทย อาจารย์ผู้สอนให้แนวทางการเขียนรายงานวิจัยตามท่ีก�ำหนดในต�ำราวิจัย
ซ่ึงส่วนใหญ่ใช้ค�ำว่า ‘การทบทวนเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง (related documents and research
review)’ ต่อมาต�ำราวิจัยระยะหลังเร่ิมใช้ค�ำว่า ‘การทบทวนวรรณกรรม; การทบทวนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง
(literature review; relevant or related literature review)’ นักวิจัยบางส่วนจึงเริ่มใช้ค�ำว่า ‘การทบทวน
วรรณกรรม’
จากความเป็นมาของช่ือ ‘การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง’ ในระยะแรก และชื่อ
‘การทบทวนวรรณกรรม’ ในระยะหลัง ท�ำให้ผู้เขียนมีเจตนามุ่งเปลี่ยนช่ือหน่วยท่ี 2 ให้ทันสมัย แต่เนื่องจาก
ชื่อ ‘การทบทวนวรรณกรรม’ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคย จึงใช้ชื่อเดิม ‘การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ี
เกยี่ วขอ้ ง’ เปน็ ชอ่ื หนว่ ยท่ี 2 และใชค้ �ำวา่ ‘การคน้ ควา้ และการน�ำเสนอวรรณกรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ ง หรอื การทบทวน
วรรณกรรม’ ในชื่อตอนทั้ง 3 ตอน แต่ยังไม่เปล่ียนช่ือเรื่องทุกเร่ืองในแต่ละตอน ส่วนเนื้อหาทั้งหมดผู้เขียน