Page 19 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 19

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-9

เรอ่ื งท่ี2.1.1ความหมายและความสำ� คญั ของการทบทวนวรรณกรรม

       โดยท่ี ‘การทบทวนวรรณกรรม (literature review)’ เป็นกิจกรรมส�ำคัญขั้นตอนหน่ึงใน
กระบวนการวิจัย และอาจจะมีผู้อ่านส่วนหน่ึงท่ียังขาดความรู้เบ้ืองต้นเกี่ยวกับหลักปรัชญาการวิจัย และ
กระบวนการวิจัย ดังน้ันผู้เขียนจึงได้เสนอสาระเร่ืองดังกล่าวส�ำหรับผู้อ่านที่ยังขาดความรู้ และส�ำหรับผู้อ่าน
ที่มีความรู้แต่ยังต้องการทบทวนความรู้เก่ียวกับ ‘หลักปรัชญาการวิจัย และกระบวนการวิจัย’ ไว้ในภาค
ผนวกของหน่วยที่ 2 นี้ เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เห็นภาพรวมและข้ันตอนต่าง ๆ ในการท�ำวิจัย รวมทั้งเห็น
ภาพความเช่ือมโยงระหว่าง ‘ปรัชญา กิจกรรมการทบทวนวรรณกรรม’ และ ‘กิจกรรมการวิจัยข้ันตอนอื่น’
ส่วนการเสนอสาระในตอนน้ีเป็นการเสนอสาระด้านความหมายของวรรณกรรมและการทบทวนวรรณกรรม
และความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรม ดังน้ี

1. 	วรรณกรรม และการทบทวนวรรณกรรม

       ก่อนที่จะเรียนรู้เร่ือง ‘การทบทวนวรรณกรรม’ ผู้อ่านควรมีความรู้ความเข้าใจด้าน ‘ความหมาย
และประเภทของวรรณกรรม’ ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่อง ‘ความหมายของการทบทวนวรรณกรรม’ ดังน้ันผู้เขียน
จึงเสนอสาระในตอนน้ีแยกเป็น 2 หัวข้อ คือ 1) ความหมายและประเภทของวรรณกรรม และ 2) ความหมาย
และความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรม ดังต่อไปนี้

       1.1 	ความหมายและประเภทของวรรณกรรม ค�ำว่า ‘วรรณกรรม’ ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า
‘literature’ มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า ‘litteratura’ และภาษาฝรั่งเศสว่า ‘literatus’ ซึ่ง Merriam-
Webster’s Collegiate Online Dictionary (2019) และ Webster’s Ninth New Collegiate Diction-
ary (1991) อธิบายว่ามีความหมายแตกต่างกัน 4 แบบ คือ 1) ผลงานเขียนของผู้เขียนด้านวรรณคดี (liter-
ary) 2) ผลงานเขียนทางวรรณกรรมในรูปร้อยแก้ว (pros) หรือร้อยกรอง เป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
(verse) ที่แสดงออกถึงความรู้สึกและอารมณ์ 3) ข้อเขียนหรือบทความท่ีเสนอสาระทางวิชาการเฉพาะด้าน
เช่น วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ (scientific literature) หรือวรรณกรรมการศึกษา (educational litera-
ture) และ 4) วัสดุส่ิงพิมพ์ หรือเอกสารท่ีน�ำเสนอผลงานเขียน ทั้งเอกสารที่ผลิตเป็นประจ�ำตามช่วงเวลา เช่น
วารสารวิชาการ หนังสือพิมพ์ หรือเอกสารที่ผลิตใช้เฉพาะเร่ือง เช่น เอกสารรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่
เม่ือพิจารณาความหมายที่เหมาะสมจึงได้ความหมายตาม ข้อ 3) ข้างต้น ที่ระบุว่า ‘วรรณกรรม’ หมายถึง
‘ข้อเขียนหรือบทความท่ีเสนอสาระทางวิชาการเฉพาะด้าน’ เช่น วรรณกรรมทางการศึกษา ซ่ึงอาจอยู่ใน
รูปต้นฉบับลายมือเขียน หรือรูปวัสดุส่ิงพิมพ์ หรือโบราณวัตถุ เช่น ศิลาจารึก หรือเอกสารท้ังประเภทเอกสาร
ท่ีผลิตเป็นประจ�ำตามช่วงเวลา เช่น วารสารวิชาการ หรือประเภทเอกสารท่ีผลิตใช้เฉพาะคราว เช่น เอกสาร
รณรงค์การเลิกสูบบุหรี่พระราชบัญญัติการศึกษา มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24