Page 21 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 21

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-11

            1.1.2 การจัดประเภทแบบที่ 2-การจัดประเภทตามการพิมพ์เผยแพร่และค้นคืน (publication
and retrieval) การจัดประเภทวรรณกรรมตามลักษณะการพิมพ์เผยแพร่และค้นคืน และระดับความยากง่าย
ในการค้นคืนวรรณกรรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

                แบบแรก วรรณกรรมทพี่ มิ พเ์ ผยแพรท่ างวชิ าการและนกั วจิ ยั สามารถคน้ คนื ไดง้ า่ ย เป็น
วรรณกรรมที่มีการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ และการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
ตามกฎเกณฑ์กติกาที่ก�ำหนดโดยองค์การทางวิชาการที่มีสมาชิกเป็นนักวิจัยและนักวิชาการ โดยมีคุณภาพ
แตกต่างกันตาม ‘ดัชนีคุณภาพวารสาร (impact factor - IF)’ เรียกส้ัน ๆ ว่า ‘ดัชนี IF’ โดยท่ีค่าดัชนี IF
ของวารสาร ย่ิงสูงมากเท่าไร แสดงว่าวารสารมีคุณภาพดีมากเท่าน้ัน ดัชนี IF น้ีเป็นดัชนีที่ก�ำหนดข้ึนใช้เป็น
มาตรฐานสากลท่ัวโลก โดยใช้เฉพาะวรรณกรรมแบบแรกน้ี เพราะเป็นวรรณกรรมที่นักวิจัยส่วนใหญ่ต้องใช้
ในการทบทวนวรรณกรรมส�ำหรับการวิจัยของตน และเป็นวรรณกรรมประเภทเอกสารท่ีค้นคืนได้ง่าย
โดยการใช้เครื่องมือค้น (search engine) เช่น Google Scholar ซ่ึงมีคุณค่าและเป็นประโยชน์มากในการ
ค้นคืน (retrieval) เอกสารส�ำหรับการทบทวนวรรณกรรมในการท�ำวิจัย ดังน้ันในตอนท้ายของสาระด้าน
ประเภทเอกสาร ผู้เขียนจึงเสนอสาระด้านดัชนี IF รวมทั้งดัชนีอื่นท่ีใช้ในการค้นคืนวรรณกรรม

                แบบที่สอง วรรณกรรมท่ีไม่มีการพิมพ์เผยแพร่ตามมาตรฐานสากล และนักวิจัยไม่
สามารถคน้ คนื ได้ง่าย Cooper, Hedges, & Valentine (2009) อธิบายว่า วรรณกรรมประเภทน้ีมีช่ือเรียก
อีกช่ือหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการสังเคราะห์งานวิจัย คือ วรรณกรรมสีเทา (gray or grey literature)
หรือวรรณกรรมหลีกหนี (fugitive literature) มีความหมายแยกเป็น 2 แนวคิด แนวคิดแรก หมายถึง
วรรณกรรมวิชาการหรือวรรณกรรมทั่วไปท่ีมีการส่ือสารเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ แต่ไม่มีการ
เผยแพร่ตามมาตรฐานสากล จงึ ไมอ่ ยู่ในฐานขอ้ มลู ทางวิชาการ และไม่สามารถค้นคืนได้ตามแบบวรรณกรรม
วิชาการจัดว่าเป็นเอกสารที่หาได้ค่อนข้างยาก เพราะมักพิมพ์จ�ำนวนจ�ำกัดเท่าที่ต้องการใช้เฉพาะกิจ และ
แนวคิดที่สอง หมายถึง วรรณกรรมวิชาการหรือวรรณกรรมทั่วไปที่มีการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร
อย่างเป็นทางการ ที่ผลิตโดยรัฐบาล สถานศึกษา องค์การธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในรูปเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
และในรูปส่ิงพิมพ์ และมีการพิมพ์เผยแพร่โดยองค์การที่ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการพิมพ์และไม่อยู่ภายใต้การ
บริหารของสำ� นกั พิมพ์ทางธุรกจิ ตัวอยา่ งวรรณกรรมสเี ทา เช่น รายงานการประชมุ สัมมนา วทิ ยานิพนธ์ระดบั
บัณฑิตศึกษาท่ีไม่มีข้อก�ำหนดการพิมพ์เผยแพร่ โครงการพัฒนา/โครงการวิจัยของหน่วยราชการท่ีพิมพ์ใน
วงจ�ำกัด เป็นต้น

            เมื่อพิจารณาด้านคุณภาพของวรรณกรรมแบบที่ 2 พบว่าวรรณกรรมประเภทนี้มีคุณภาพ
เพราะผ่านการตรวจสอบประเมินก่อนพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่พิมพ์จ�ำนวนจ�ำกัดใช้เฉพาะหน่วยงาน จึงเป็น
วรรณกรรมที่หาได้ยากมาก ปัจจุบันมีการพิมพ์วรรณกรรมประเภทนี้เริ่มเผยแพร่ออนไลน์ และมีเคร่ืองมือ
ค้นวรรณกรรมทางวิชาการทั่วไป และวรรณกรรมสีเทา เช่น ‘ศูนย์เอกสารประเทศไทย จัดท�ำโดยส�ำนักวิทย-
ทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.car.chula.ac.th’ และ ‘Google’ โดยเฉพาะ ‘Google
Scholar (scholar.google.com)’ เช่น กรณีต้องการค้นวรรณคดีสีเทาของรัฐบาล ใช้ค�ำค้น ต่อด้วย (site:
gov.) ซึ่งช่วยให้นักวิจัยค้นคืนวรรณกรรมสีเทาได้ และท�ำให้นักวิจัยเข้าถึงและค้นคืนเอกสารประเภทน้ีได้
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26