Page 26 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 26

2-16 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

หนึ่งของกระบวนการวิจัย แต่การสังเคราะห์งานวิจัยเป็น ‘การวิจัยรูปแบบหนึ่งท่ีมีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์
โดยบูรณาการงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่ศึกษาปัญหาวิจัยแนวเดียวกัน ให้ได้สรุปผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่อยู่
บนพ้ืนฐานของตัวอย่างขนาดใหญ่ อันเป็นผลรวมขนาดตัวอย่างจากงานวิจัยทุกเรื่อง เป็นผลท�ำให้ได้ผลการ
สังเคราะห์งานวิจัยที่มีความตรงภายนอก (external validity) สูงมาก และได้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่
มมี ากกวา่ ผลรวมจากผลการวจิ ยั แตล่ ะเรอื่ งทน่ี ำ� มาสงั เคราะห’์ และ 3) คำ� วา่ ‘การทบทวนงานวจิ ยั (research
review)’ นั้นไม่เหมาะสมเพราะนอกจาก ‘การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง’ มิได้จ�ำกัดเฉพาะรายงานวิจัย
เท่าน้ัน ยังมีเหตุผลอีกประการหน่ึงคือ ค�ำศัพท์ ‘การทบทวนงานวิจัย’ เป็นค�ำพ้องท่ีใช้กันอย่างกว้างขวาง
ในการจัดพิมพ์วารสารวิชาการประเภทที่มี ‘การประเมินทบทวนโดยเพื่อนนักวิจัย (peer review) เพื่อ
ตรวจสอบคุณภาพงานวิจัยตามเกณฑ์ของวารสาร และเสนอแนะประเด็นแก้ไขปรับปรุงกรณีผลงานวิจัยอยู่
ในวิสัยที่ปรับปรุงให้เข้ามาตรฐานได้ รวมท้ังการตัดสินยอมรับหรือปฏิเสธงานวิจัยในการพิมพ์เผยแพร่ลงใน
วารสารวิชาการ’

            อน่ึง เป็นท่ีน่าสังเกตว่า ความคิดเห็นของ Cooper, Hedges, & Valentine (Eds.) (2009)
ที่เสนอข้างต้น ไม่ตรงกับแนวคิดของสมาคมวิชาชีพ กล่าวคือ American Psychological Association
(APA) (2010) เสนอ ‘มาตรฐานการรายงานบทความท่ีลงพิมพ์ในวารสาร (journal Article Reporting
Standards – JARS) ของ APA (2010)’ โดยระบุมาตรฐานด้านนี้ว่าเป็น ‘การทบทวนผลงานวิชาการท่ตี รง
กบั ประเด็นวจิ ยั (review of relevant scholarship)’ เป็นรายงานส่วนส�ำคัญท่ีต้องเสนอในรายงานวิจัย บท
ที่ 1 โดยเสนอต่อจากหัวข้อ บทน�ำ (Introduction) ใช้ช่ือหัวข้อเป็น ‘หัวข้อที่ 2 คือ ความส�ำคัญของปัญหา
วจิ ยั (the importance of the problem)’ เชน่ เดยี วกบั สมาคมวชิ าชพี American Educational Research
Association (AERA) (2006) ซึ่งเสนอมาตรฐานการรายงานบทความวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ลงพิมพ์ใน
วารสารของ AERA ใช้ค�ำว่า ‘การทบทวนผลงานวชิ าการที่ตรงกับประเด็นวจิ ัย (review of relevant schol-
arship)’ ผู้เขียนมีความเห็นว่าท้ัง AERA และ APA ต่างก็เสนอมาตรฐานการทบทวนวรรณกรรม จึงต้อง
มีค�ำคุณศัพท์ขยายค�ำว่า ‘การทบทวนวรรณกรรม’ เพื่อแสดงถึงคุณภาพตามมาตรฐานของ ‘การทบทวน
วรรณกรรม’ ด้วย

            เม่ือพิจารณาความหมายของค�ำว่า ‘การทบทวนวรรณกรรม (literature review)’ ที่น�ำเสนอ
ข้างต้นผู้เขียนจึงสรุปได้ว่า ‘การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง กระบวนการศึกษาวรรณกรรมทเี่ กี่ยวขอ้ งกับ
การวจิ ยั ซง่ึ ประกอบดว้ ย ขอ้ เขยี นหรอื บทความทเ่ี สนอสาระทางวชิ าการเฉพาะดา้ นวรรณกรรม สงิ่ พมิ พเ์ ผย
แพร่ที่เกี่ยวข้องเช่ือมโยงตรงกับการวิจัย โดยที่วรรณกรรมดังกล่าวอาจอยู่ในรูปต้นฉบับลายมือเขียน หรือ
รูปภาพ วดี ทิ ศั น์ วัสดุส่งิ พมิ พ์ หรอื โบราณวตั ถุ หรือเอกสารทผี่ ลิตเปน็ ประจ�ำและผลติ ใช้เฉพาะคราว’ และ
‘กระบวนการด�ำเนินงานทบทวนวรรณกรรม หมายถึง ชุดการด�ำเนินงานหลายข้ันตอน หรือกระบวนการ
ดำ� เนนิ งานทนี่ กั วจิ ยั ตอ้ งดำ� เนนิ การเพอ่ื ศกึ ษาวรรณกรรมทเี่ กยี่ วขอ้ งตามหลกั วจิ ยั ’ ซึ่งมี ‘ข้ันตอนหลักในการ
ด�ำเนินงาน’ รวม 7 ข้ันตอน คือ 1) การก�ำหนดวัตถุประสงค์ 2) การค้นคืน 3) การประเมินคุณภาพ
4) การอ่านศึกษาท�ำความเข้าใจ 5) การจัดจ�ำแนกสาระเป็นหมวดหมู่ 6) การสังเคราะห์สาระสรุปตาม
วัตถุประสงค์ท่ีก�ำหนด และ 7) การน�ำเสนอรายงานผลการทบทวนวรรณกรรม
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31