Page 30 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 30
2-20 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ใช้ประโยชน์ท่ัวไป โดยไม่ใช้ภาษาวิชาการเลย ผู้อ่านจะสังเกตเห็นว่าการแบ่งกลุ่มผู้อ่านหรือผู้ใช้งานวิจัยเป็น
4 กลุ่มดังกล่าว สะท้อนความเข้มทางวิชาการสูงโดยไม่สนใจด้านการน�ำไปปฏิบัติ หรือการก�ำหนดนโยบาย
ในกลุ่มแรก แต่สะท้อนความเข้มด้านการน�ำผลการวิจัยไปใช้ปฏิบัติจริง หรือใช้เป็นแนวทางก�ำหนดนโยบาย
โดยให้ความส�ำคัญทางวิชาการน้อยมากในกลุ่มท่ีสี่
สรุปสาระข้อ 1.2.1 ความหมายของ ‘การทบทวน และการทบทวนวรรณกรรม’ ที่เสนอข้าง
ต้นได้ 3 ประการ ดังนี้ 1) ค�ำศพั ท์ภาษาไทยของค�ำวา่ ‘literature review’ มีหลายค�ำ แต่ค�ำว่า ‘การทบทวน
วรรณกรรม (literature review)’ เป็นค�ำที่มีความหมายเหมาะสมมากกว่าค�ำอื่น 2) การทบทวนวรรณกรรม
หมายถึง กระบวนการศกึ ษาวรรณกรรมที่เกยี่ วขอ้ งกับการวจิ ัยซึง่ ประกอบดว้ ย ขอ้ เขยี นหรอื บทความทเี่ สนอ
สาระทางวิชาการเฉพาะด้านเอกสารพิมพ์เผยแพร่ท่ีเก่ียวข้องเช่ือมโยงตรงกับการวิจัย โดยท่ีวรรณกรรมดัง
กล่าวอาจอยู่ในรูปต้นฉบับลายมือเขียน หรือรูปวัสดุสิ่งพิมพ์ หรือโบราณวัตถุ หรือเอกสารที่ผลิตเป็นประจ�ำ
และผลิตใช้เฉพาะคราว และ 3) กระบวนการทบทวนวรรณกรรม มีกระบวนการด�ำเนินงานท่ีส�ำคัญ 4
ข้ันตอนหลัก คือ ขั้นตอนที่ 1 การนิยามและก�ำหนดปัญหาท่ีต้องการในการทบทวนวรรณกรรมให้ชัดเจน
เพ่ือเป็นแนวทางในการทบทวนวรรณกรรม ขนั้ ตอนที่ 2 การค้นคืน ประเมิน ศึกษา จ�ำแนกจัดหมวดหมู่สาระ
และสังเคราะห์สรุปสาระจากวรรณกรรมเพ่ือให้ผู้อ่านได้ทราบสถานะของปัญหาวิจัยในอดีตข้อค้นพบใหม่
และแนวทางเสนอแนะแก้ไขปัญหา ข้ันตอนที่ 3 การระบุความสัมพันธ์ ความขัดแย้ง ช่องว่าง และความ
ไม่สอดคล้องระหว่างสถานการณ์จากการทบทวนวรรณกรรมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และข้ันตอนที่ 4 การ
เสนอแนะแนวทางด�ำเนินการวิจัยเพ่ือตอบปัญหาวิจัย หรือกล่าวอีกอย่างหน่ึงว่า กระบวนการด�ำเนินงาน
ทบทวนวรรณกรรม มขี น้ั ตอนหลกั ในการดำ� เนนิ งานรวม 7 ขน้ั ตอน คอื ขน้ั ตอนที่ 1 การกำ� หนดวตั ถปุ ระสงค์
ขน้ั ตอนท่ี 2 การคน้ คนื ขนั้ ตอนท่ี 3 การประเมนิ คณุ ภาพ ขนั้ ตอนท่ี 4 การอา่ นศกึ ษาทำ� ความเขา้ ใจ ขนั้ ตอนท่ี 5
การจัดจ�ำแนกสาระเป็นหมวดหมู่ ขน้ั ตอนท่ี 6 การสังเคราะห์สาระสรุปสถานะความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น
หรือตัวแปรในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ท่ีก�ำหนด และข้ันตอนท่ี 7 การน�ำเสนอรายงานผลการทบทวน
วรรณกรรม ซ่ึงประกอบด้วยกรอบความคิดในการวิจัย และแนวทางการด�ำเนินการวิจัยเพ่ือตอบปัญหาวิจัย
1.2.2 ความส�ำคญั ของการทบทวนวรรณกรรม Cooper & Hedges (2009) อธิบายไว้ชัดเจนว่า
นักวิจัยทุกคนที่ได้เรียนรู้ ‘วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)’ นอกจากจะได้เรียนรู้ว่า ‘ศาสตร์
ทุกสาขาวิชา ที่เกิดจากการสะสม (acuumulation) และความร่วมมือ (cooporation) ในการสะสมความรู้’
แล้ว ยังเกิดความเข้าใจและเข้าถึง ‘วิธีการ ความส�ำคัญ และผลการทบทวนวรรณกรรม’ อันเป็นผลจากการ
สะสมความรู้ของนักวิจัยรุ่นพี่ในศาสตร์ทุกสาขาวิชาได้ง่าย เปรียบเทียบได้เช่นเดียวกับผลงานของช่างฝีมือ
ผู้ก่อสร้างอาคารตามพิมพ์เขียวท่ีสถาปนิกจัดท�ำข้ึน ที่เร่ิมต้นจากการเลือกและก�ำหนดพื้นที่ก่อสร้าง การวาง
ต�ำแหน่งลงเสาเข็มรากฐานของอาคารตามมาตรฐานท่ีก�ำหนด จากนั้นด�ำเนินการก่อสร้างโครงอาคารตาม
พิมพ์เขียวจนเสร็จเรียบร้อย ภาระงานหนักต่อมา คือการก่อสร้างผนังอาคารคอนกรีต โดยเริ่มจากคนงาน
ขนอิฐใส่บุ้งกี๋มาให้ช่างก่ออิฐ (bricklayers) ผู้น�ำอิฐแต่ละแผ่นมาวางเรียงกัน เพื่อก่อก�ำแพงอาคารแต่ละด้าน
โดยจัดเรียงอิฐแต่ละแผ่นอย่างเป็นระเบียบ และเช่ือมประสานอิฐทุกก้อนด้วยซิเมนต์ ฉาบผิวด้วยซิเมนต์
ให้เรียบ และทาหรือพ่นสีหรือปูกระเบื้อง จนอาคารเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามที่ก�ำหนดในพิมพ์เขียว