Page 28 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 28
2-18 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ทใี่ ชท้ ฤษฎี วรรณกรรมทม่ี กี ารเปรยี บเทยี บกบั การจดั กระทำ� ตามอดุ มคติ (ideal treatment) และวรรณกรรม
ที่เกีย่ วขอ้ งกับการปฏบิ ตั ิ การประยกุ ต์ใช้ หรอื การกำ� หนดนโยบายจากผลการวจิ ยั
เป้าหมายท่ีสาม การระบุประเด็นส�ำคัญ (identification of central issues)
เปา้ หมายทเี่ ปน็ แรงจงู ใจใหน้ กั วจิ ยั ทบทวนวรรณกรรม คอื การระบปุ ระเดน็ สำ� คญั ในการวจิ ยั ตวั อยา่ งประเดน็
ส�ำคัญในท่ีน้ี ได้แก่ กรอบค�ำถามที่เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยในอดีต แยกเป็นค�ำถามที่กระตุ้นให้นักวิจัยท�ำงาน
วิจัยต่อไปในอนาคต และค�ำถามด้านวิธีวิทยา หรือค�ำถามด้านตรรกะท่ีต้องใช้ รวมทั้งค�ำถามด้านการสร้าง
กรอบแนวคิดใหม่ในการวิจัย ตลอดจนส่ิงท่ีเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการวิจัย อนึ่งการทบทวน
วรรณกรรมส่วนใหญม่ ีเปา้ หมายหลากหลาย มงี านวจิ ัยส่วนน้อยเท่าน้ันทมี่ เี ปา้ หมายเดียว เพราะการทบทวน
วรรณกรรมส่วนใหญ่ เมอื่ มกี ารก�ำหนดเปา้ หมายดา้ นบูรณาการผลการวพิ ากษว์ รรณกรรมงานวจิ ยั ต้องมกี าร
ก�ำหนดเป้าหมายดา้ นการระบุประเดน็ ส�ำคัญสำ� หรบั การวิจัยในอนาคตด้วย
ค. มุมมอง (perspective) สาระส�ำคัญท�ำให้การทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการ
วิจัยมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากการทบทวนวรรณกรรมทั่วไป คือ การท่ีนักวิจัยมีมุมมองเบื้องต้นที่มีผลต่อ
การอภิปรายวรรณกรรม ซ่ึงมีลักษณะต่างกัน 2 มุมมองดังน้ี
มุมมองแรก มุมมองเป็นกลาง (neutral representation) นักวิจัยทบทวน
วรรณกรรมทัง้ จากมมุ มองสนบั สนนุ และมุมมองตอ่ ตา้ น ในการแปลความหมายปญั หาวจิ ัยอยา่ งเท่าเทยี มกนั
และสรปุ ผลการทบทวนวรรณกรรมด้วยมมุ มองเป็นกลางใหผ้ อู้ า่ นเห็นความแตกตา่ งทงั้ สองมมุ มอง
มุมมองท่ีสอง มุมมองสนับสนุน (espousal position) นักวิจัยแบบน้ีทบทวน
วรรณกรรมในทางตรงกนั ขา้ มกับมมุ มองแรก เพราะนกั วิจยั คน้ คนื จัดหา วิเคราะห์ และสงั เคราะหส์ รุปสาระ
น�ำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมเฉพาะดา้ นทน่ี กั วิจัยสนับสนนุ เท่านน้ั โดยนำ� เสนอเหตผุ ล และหลกั ฐานท่ี
หนกั แนน่ รองรบั สาระตามมุมมองที่ตนสนับสนุน
อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่า นักวิจัยที่เสนอมุมมองเป็นกลางส่วนใหญ่ไม่ประสบความ
ส�ำเร็จในการวิจัย เพราะขณะท่ีนักวิจัยที่เสนอมุมมองเป็นกลางอย่างสมบูรณ์รอบด้านไม่อาจคงความเป็น
กลาง โดยไม่ให้การสนับสนุนมุมมองใดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุน้ีสิ่งที่นักวิจัยนิยมปฏิบัติ คือ การเสนอเหตุผล
และหลักฐานที่หนักแน่นเพ่ือสนับสนุนรองรับสาระตามมุมมองทั้งด้านท่ีเป็นข้อขัดแย้ง หรือตรงข้ามกัน โดย
มีการแปลความหมายสรุปให้นํ้าหนักมุมมองเฉพาะด้านอย่างสมเหตุสมผล
ง. ขอบเขต (coverage) ในการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องกับการวิจัย นักวิจัย
ต้องก�ำหนดขอบเขตวรรณกรรมท่ีค้นคืนและจัดหามาทบทวน เพื่อให้ได้วรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องทุกรายการ
เหมาะสมไม่มากและไม่น้อยเกินไปส�ำหรับการวิจัย ขอบเขตท่ีก�ำหนดในการค้นคืนและจัดหาวรรณกรรม
มี 4 แบบ แตกต่างกันตามความต้องการของนักวิจัยในการน�ำผลการทบทวนวรรณกรรมไปใช้ประโยชน์
ต่อไป ดังนี้
ขอบเขตแบบแรก ขอบเขตสมบรู ณ์ (exhaustive coverage) นักวจิ ัยค้นคืนและ
จัดหาวรรณกรรมทเ่ี กยี่ วขอ้ งไดค้ รบทุกรายการ โดยมุ่งหวงั ใหไ้ ด้ผลการทบทวนวรรณกรรมทีส่ มบรู ณ์
ขอบเขตแบบทส่ี อง ขอบเขตสมบรู ณโ์ ดยมกี ารคดั สรรรายการอา้ งองิ (exhaustive
coverage with selective citation) นักวิจัยค้นคืนและจัดหาวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องได้ครบทุกรายการ