Page 25 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 25
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-15
เนื่องจากการทบทวนวรรณกรรม มีประวัติความเป็นมาท่ีมีการพัฒนาทั้งด้านคำ� ศัพท์ ความ
หมาย และการด�ำเนินงาน ซ่ึงมีการเปลี่ยนแปลง/พัฒนาให้เหมาะสมกับงานมากย่ิงขึ้นตามช่วงเวลาที่ผ่านมา
และผู้เขียนเช่ือว่าการท่ีผู้อ่านได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการทบทวนวรรณกรรม ย่อมช่วยให้ผู้อ่าน
เข้าใจและเข้าถึง ‘ความหมาย วัตถุประสงค์ และการด�ำเนินการในการทบทวนวรรณกรรม’ ได้อย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเสนอความหมายของ ‘การทบทวนวรรณกรรม’ ตามความเห็นขององค์การวิชาชีพด้วย
โดยเสนอในรูปประวัติความเป็นมาในการให้ความหมายค�ำว่า ‘การทบทวนวรรณกรรม’ ก่อนสรุปเป็นความ
หมายท่ีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ดังน้ี
วงการวิจัยประเภทองค์การวิชาชีพการวิจัย เช่น American Educational Research As-
sociation (AERA) (2006) และ American Psychological Review (APA) (2010) ซ่ึงมีสมาชิกจ�ำนวน
มากท่ัวโลก รวมทั้งนักวิจัยส่วนใหญ่ใช้ค�ำว่า ‘review’ ในความหมายว่า ‘กระบวนการทบทวน (process of
reviewing)’ ซ่ึงเป็นความหมายท่ีตรงตามกิจกรรมที่นักวิจัยปฏิบัติจริงโดยมีกระบวนการด�ำเนินงานท่ีส�ำคัญ
4 ข้ันตอนหลัก คือ 1) ในภาพรวม หมายถึง การนิยามและก�ำหนดปัญหาที่ต้องมีการทบทวนวรรณกรรมให้
ชัดเจน เพื่อให้ได้แนวทางจากการทบทวนวรรณกรรม และน�ำไปใช้ในการด�ำเนินการวิจัยให้ได้ผลการวิจัยที่
มีคุณภาพ 2) การค้นคืน ศึกษา และสังเคราะห์สรุปสาระจากวรรณกรรมเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบสถานะของ
ปัญหาวิจัยในอดีตข้อค้นพบใหม่ และแนวทางเสนอแนะแก้ไขปัญหา 3) การระบุความสัมพันธ์ ความขัดแย้ง
ช่องว่าง และความไม่สอดคล้องระหว่างสถานการณ์จากการทบทวนวรรณกรรมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ
4) การเสนอแนะแนวทางด�ำเนินการวิจัยเพื่อตอบปัญหาวิจัย
Cooper, Hedges, and Valentine (Eds.) (2009) นักวิชาการด้านการสังเคราะห์งานวิจัย
และสถิติ เสนอแนวคิดการใช้ค�ำศัพท์ ‘การทบทวนวรรณกรรม (literature review)’ ว่าเป็นค�ำที่มี
ความหมายเหมาะสมมากกว่าค�ำอ่ืน ด้วยเหตุผล 2 ประการ ดังนี้ ประการแรก ค�ำศัพท์อื่นแม้จะใช้ค�ำว่าการ
ทบทวนแต่ใช้ค�ำนามท่ีไม่ใช่ ‘วรรณกรรม’ ซ่ึงไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ค�ำศัพท์ ‘การทบทวนงานวิจัย
(research review)’ เพราะการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง มิได้จ�ำกัดเฉพาะรายงานวิจัยเท่านั้น และ
ค�ำศัพท์ ‘การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (related literature review)’ เป็นศัพท์ที่ไม่เหมาะสมเพราะ
ใชค้ ำ� ขยายมากโดยไมจ่ ำ� เปน็ เนอ่ื งจากนกั วจิ ยั ทราบดวี า่ การทบทวนวรรณกรรมนนั้ นกั วจิ ยั ตอ้ งคดั สรรเฉพาะ
วรรณกรรมท่ี ‘เกี่ยวข้องกับการวิจัย’ เท่าน้ัน โดยไม่จ�ำเป็นต้องระบุวลี ‘ท่ีเกี่ยวข้อง’ และ ประการท่ีสอง
ค�ำศัพท์อื่นทั้งค�ำศัพท์ส�ำคัญและค�ำนามส่วนใหญ่มีความหมายไม่เหมาะสมกับงานท่ีท�ำจริง เช่น ค�ำศัพท์
‘การศึกษางานวิจัย (research study)’ ‘การสังเคราะห์งานวิจัย (research synthesis)’และ ‘การทบทวน
งานวิจัย (research review)’ เพราะ 1) ค�ำว่า ‘การศึกษางานวิจัย (research study)’ ไม่เหมาะสม เพราะ
กิจกรรม ‘การศึกษา’ มีความหมายเทียบได้กับกิจกรรมเพียงส่วนเดียวของกิจกรรม ‘การทบทวน
วรรณกรรม’ และค�ำนาม ‘งานวิจัย’ มีความหมายครอบคลุม ‘วรรณกรรมประเภทงานวิจัย’ เท่าน้ัน ไม่รวม
วรรณกรรมทุกประเภท 2) ค�ำว่า ‘การสังเคราะห์งานวิจัย (research synthesis)’ นั้น แม้จะมีความหมาย
และกระบวนการด�ำเนินงานใกล้เคียงกับค�ำว่า ‘การทบทวนวรรณกรรม’ แต่ขอบข่ายของงานแตกต่างกัน
ดังท่ี Glass (1976); Glass, McGaw, & Smith (1981) อธิบายว่า การทบทวนวรรณกรรม เป็นข้ันตอน