Page 22 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 22
2-12 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
สะดวกมากกว่าในอดีต (Cooper & Hedges, 1994; Cooper & Hedges, 2009; Cooper, Hedges, &
Valentine, 2009)
1.1.3 การจัดประเภทแบบที่ 3-การจัดประเภทตามลักษณะข้อมูล (data charactersitics)
เนื่องจากสาระในวรรณกรรมประเภทงานวิจัยหรือบทความวิชาการ เป็นผลงานท่ีต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล
หรือการน�ำเสนอข้อมูล นักวิจัยจึงจัดแบ่งประเภทตามลักษณะข้อมูลเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบแรก การแบง่ ตามประเภทสาระ (context type) แบ่งเป็น 3 แบบ คอื 1) วรรณกรรม
เชงิ คณุ ภาพ (qualitative literature) ได้แก่ วรรณกรรมประเภทรายงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ท้ังหมด หรือเป็นวรรณกรรมประเภทบทความวิชาการท่ีมีสาระเชิงบรรยาย 2) วรรณกรรมเชงิ ปรมิ าณ (quan-
titative literature) ได้แก่ วรรณกรรมประเภทรายงานวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณท้ังหมด (Glass,
1976) หรือเป็นวรรณกรรมประเภทบทความวิชาการที่มีสาระสรุปผลการด�ำเนินงานเชิงปริมาณ และ
3) วรรณกรรมเชิงผสม (mixed literature) ได้แก่ วรรณกรรมประเภทรายงานวิจัยผสมวิธี (mixed method
research) ทใี่ ชท้ ง้ั กระบวนการวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณและเชงิ คณุ ภาพ หรอื เปน็ วรรณกรรมประเภทบทความวชิ าการ
ท่ีมีสาระทั้งเชิงบรรยายและเชิงปริมาณผสมผสานกัน
แบบท่ีสอง การแบ่งตามแหล่งท่ีมาของข้อมูล (data source) Glass (1976) แบ่ง
วรรณกรรมตามแหล่งที่มาของวรรณกรรมรายงานวิจัยเป็น 4 แบบ ดังน้ี
1) วรรณกรรมปฐมภูมิ (primary literature) เป็นวรรณกรรมรายงานวจิ ยั ท่ีเสนอ
ผลการวจิ ัยจากการวเิ คราะหข์ อ้ มูลทีน่ กั วิจัยรวบรวมข้อมลู ดว้ ยตนเอง หรอื เป็นวรรณกรรมประเภทบทความ
วิชาการที่ผู้เขียนน�ำเสนอผลงานที่เป็นความคิดและประสบการณ์ตรงของผู้เขียนทั้งหมด ด�ำเนินการรวบรวม
และวเิ คราะหข์ ้อมลู แปลความหมายผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล และอภปิ รายผลการวิจัย จัดวา่ เป็นวรรณกรรมท่ี
มคี ุณภาพสูงมาก เนอ่ื งจากข้อมลู ได้จากนกั วจิ ัยโดยตรงไมผ่ ่านคนกลางจงึ มคี ณุ ภาพน่าเชอ่ื ถือ
2) วรรณกรรมทุติยภูมิ (secondary literature) เป็นวรรณกรรมรายงานวิจัยท่ี
เสนอผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่นักวิจัยมิได้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง แต่ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล/
เอกสารรายงานการส�ำมะโนประชากรที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว หรือเป็นวรรณกรรมประเภทบทความวิชาการที่
ผู้เขียนน�ำเสนอผลงานท่ีน�ำวรรณกรรมท่ีพิมพ์เผยแพร่มาสังเคราะห์เรียบเรียงน�ำเสนอเป็นรายงานวิจัย หรือ
เป็นวรรณกรรมประเภทบทความวิชาการที่ผู้เขียนน�ำเสนอสาระจากการสังเคราะห์เรียบเรียงสาระที่ได้จาก
วรรณกรรมท่ีมีการเผยแพรแ่ ลว้ จดั วา่ เป็นวรรณกรรมท่มี คี ณุ ภาพรองลงมา
3) วรรณกรรมการวเิ คราะหอ์ ภมิ าน (meta-analysis literature) เปน็ วรรณกรรม
ท่ีเป็นผลการสังเคราะห์งานวิจัยปฐมภูมิ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์สาระจากงานวิจัยที่ศึกษาวิจัยประเด็น
ปัญหาเดียวกัน ให้ได้สรุปข้อค้นพบที่มีคุณค่าจากงานวิจัยทั้งหมด ซ่ึงประกอบด้วยรายงานวิจัยประเภท
วรรณกรรมปฐมภมู หิ ลายฉบบั (primary researches) นำ� มาสงั เคราะหด์ ว้ ยวธิ กี ารทางสถติ วิ เิ คราะหพ์ หรุ ะดบั
(multi-level analysis) ท่ีมีมาตรฐานสูง ท�ำให้ได้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่แตกต่างไปจากสาระที่มีอยู่ใน
รายงานวิจัยแต่ละเล่มท่ีน�ำมาสังเคราะห์ เพราะผลการสังเคราะห์ได้ข้อมูลจากความแตกต่างระหว่างงานวิจัย
ทั้งหมดในระดับเล่ม หรือระดับมหภาค (macro level) มาหลอมรวมกับข้อมูลท่ีได้จากงานวิจัยเป็นรายเล่ม