Page 23 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 23
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2-13
หรือระดับจุลภาค (micro level) วรรณกรรมประเภทนี้จึงจัดว่าเป็นรายงานผลการสังเคราะห์งานวิจัยแบบ
ปฐมภูมดิ ว้ ย
4) วรรณกรรมการวิเคราะห์มหาภิมาน (mega-analysis literature) แยกเป็น
2 ประเภท ประเภทแรก เป็นวรรณกรรมอภิมานท่ีนักวิจัยสังเคราะห์รายงานวิจัยอภิมานหลายเร่ืองตามหลัก
การวเิ คราะหอ์ ภิมาน (meta-analysis of meta-analyses) ผู้อ่านควรสังเกตการใช้ค�ำ ‘meta-analysis’ ซึ่ง
หมายถึงการสังเคราะห์ครั้งเดียว และค�ำ ‘meta-analyses’ ซ่ึงหมายถึงรายงานการสังเคราะห์งานวิจัยแบบ
การวิเคราะห์อภิมานหลายฉบับ ผลการสังเคราะห์วรรณกรรมมหาภิมานท้ังหมดด้วยวิธีการทางสถิติที่
นา่ เชอ่ื ถือ ทำ� ให้ไดผ้ ลการสงั เคราะห์งานวจิ ัยทแ่ี ตกตา่ งมีคุณคา่ สงู มากกวา่ วรรณกรรมอภิมานแต่ละเร่ืองทีน่ ำ�
มาสังเคราะห์ กรณีที่ข้อมูลการวิจัยทั้งหมด (รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยแบบวรรณกรรมอภิมานทุกเร่ือง
และวรรณกรรมมหาภิมานท่ีได้ฉบับเดียว) เป็นผลงานของนักวิจัยท้ังหมด ย่อมได้ผลการสังเคราะห์วรรณ-
กรรมมหาภิมานที่จัดว่าเป็นรายงานการสังเคราะห์งานวิจัยแบบปฐมภูมิด้วย แต่ประเภทท่ีสอง กรณีที่ข้อมูล
ท้ังหมดเปน็ ผลงานของนักวิจัยหลายคนแตกตา่ งกนั มใิ ช่ผลงานของนกั วจิ ยั ผสู้ งั เคราะห์งานวจิ ยั เทา่ นน้ั ยอ่ ม
มีผลท�ำให้ผลการสังเคราะห์งานวิจัยแต่ละเล่มมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพและมาตรฐานตามความรู้
ความช�ำนาญและคุณวุฒิของนักวิจัย จึงได้ผลสุดท้ายของการสังเคราะห์วรรณกรรมมหาภิมาน ท่ีจัดว่าเป็น
รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยแบบทุติยภูมิเท่าน้ัน และจัดว่ามีคุณภาพรองลงมาเมื่อเทียบกับการสังเคราะห์
วรรณกรรมมหาภิมานแบบแรก (Glass, 1976; นงลกั ษณ์ วริ ชั ชัย, 2542)
กล่าวโดยสรุป ‘วรรณกรรม’ หมายถึง ‘ข้อเขียน หรือรายงานท่ีเสนอสาระทางวิชาการเฉพาะ
ดา้ น หรอื รายงานวจิ ยั ซง่ึ อาจอยใู่ นรปู ตน้ ฉบบั ลายมอื เขยี น วสั ดสุ ง่ิ พมิ พ์ หรอื โบราณวตั ถุ หรอื เอกสารวชิ าการ
ท้ังประเภทเอกสารท่ีผลิตเป็นประจ�ำตามช่วงเวลา หรือเอกสารที่ผลิตใช้เฉพาะคราว วรรณกรรมจัดว่าเป็น
ข้อมูลท่ีมีคุณค่ามากส�ำหรับการวิจัย ตามหลักการวิจัย ‘วรรณกรรม’ แบ่งประเภทย่อยตามวิธีการท่ีใช้ในการ
จัดประเภทรวม 3 วิธี คือ 1) วรรณกรรมแบ่งตามรูปแบบการสื่อสารของนักวิจัย รวม 4 แบบ ได้แก่
วรรณกรรมส่ือสารแบบปากเปล่าอย่างไม่เป็นทางการ วรรณกรรมสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างไม่เป็น
ทางการ วรรณกรรมส่ือสารแบบปากเปล่าอย่างเป็นทางการ และวรรณกรรมส่ือสารเป็นลายลักษณ์อักษร
อย่างเป็นทางการ 2) วรรณกรรมแบ่งตามลักษณะการพิมพ์เผยแพร่และการค้นคืน รวม 2 แบบ ได้แก่
วรรณกรรมพิมพ์เผยแพร่ทางวิชาการและนักวิจัยสามารถค้นคืนได้ง่าย และวรรณกรรมสีเทา อันเป็น
วรรณกรรมพิมพ์เผยแพร่ใช้เฉพาะหน่วยงาน และนักวิจัยไม่สามารถค้นคืนได้ง่าย และ 3) วรรณกรรมแบ่ง
ตามลักษณะข้อมูล รวม 2 แบบ แบบแรก คือ วรรณกรรมแบ่งตามประเภทข้อมูล ได้แก่ วรรณกรรมเชิง
คุณภาพ วรรณกรรมเชิงปริมาณ และวรรณกรรมผสมวิธี และแบบท่ีสอง คือ วรรณกรรมแบง่ ตามแหลง่ ทมี่ า
ของขอ้ มลู ได้แก่ วรรณกรรมปฐมภูมิ วรรณกรรมทุติยภูมิ และวรรณกรรมการวิเคราะห์อภิมาน/มหาภิมาน
1.2 ความหมายและความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรม การเสนอสาระด้าน ‘การทบทวน
วรรณกรรม’ ในหัวข้อน้ี เป็นการให้ความรู้ต่อจากสาระในหัวข้อ 1.1 ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายและ
ประเภทของวรรณกรรม (literature) ไว้แล้ว เพ่ือให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจความหมายและความส�ำคัญ
ของ ‘การทบทวน’ และ ‘การทบทวนวรรณกรรม’ โดยเสนอสาระแยกเป็น 2 หัวข้อ หัวข้อแรก คือ