Page 31 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 31
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2-21
เม่ือเปรียบเทียบผลงานการสร้างอาคารของช่างฝีมือ กับผลงานการสร้างศาสตร์ด้วยการ
สังเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา จะเห็นว่ากระบวนการสร้างคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ
นักวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยนักวิชาการเชิงทฤษฎีเป็นผู้จัดท�ำโครงการวิจัย ซึ่งเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของนัก
วิจัยในการวิจัย เช่นเดียวกับพิมพ์เขียวของสถาปนิกในการสร้างอาคาร และนักวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยนัก
วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลมาตรวจสอบ และวิเคราะห์ตามโครงการวิจัยจนเสร็จสิ้น ท�ำให้นักวิทยาศาสตร์ได้
ผลการวิจัยมาจัดท�ำเป็นรายงาน นักวิจัยจึงเป็นผู้รับผิดชอบงานเช่นเดียวกับช่างก่อสร้างผู้ลงเสาเข็ม
สร้างฐานอาคาร ก่อสร้างโครงอาคาร และช่างก่ออิฐผู้ใช้ฝีมือวางอิฐทีละแผ่น ประสานด้วยซิเมนต์ และฉาบ
ผิวด้วยซิเมนต์ตามพิมพ์เขียวจนได้อาคารตามพิมพ์เขียวที่สถาปนิกจัดท�ำขึ้น ส่ิงท่ีแตกต่างกันระหว่างงาน
ของนักวิจัยกับงานของช่างก่อสร้างและช่างก่ออิฐ คือ เหล็กเสาเข็มทุกเส้น และปูนซิเมนต์ทุกถุงของช่าง
ก่อสร้างและอิฐของช่างก่ออิฐทุกก้อนมีรูปร่างเหมือนกัน ท�ำให้ง่ายต่อการก่อสร้าง และการก่ออิฐด้วยการ
เรียง การเช่ือมประสานด้วยซิเมนต์ และการลงสี แต่ข้อมูลหรือรายงานวิจัยแต่ละเรื่องของนักวิจัยมีลักษณะ
ต่างกันหลากหลาย ท�ำให้นักวิจัยต้องท�ำงานหนักในการสังเคราะห์สาระหรือข้อมูลจากรายงานวิจัยโดยการ
ใช้สถิติวิเคราะห์ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อสังเคราะห์สรุปรวมสาระจากงานวิจัยทุกเรื่องเข้า
ด้วยกันให้ได้ผลตามโครงการวิจัยท่ีก�ำหนด
จากการอปุ มางานของนกั วจิ ยั ทเี่ ทยี บเคยี งไดก้ บั การออกแบบและกอ่ สรา้ งอาคารของสถาปนกิ
วิศวกร และช่างฝีมือดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ากรณีอาชีพของสถาปนิก วิศวกร และช่างฝีมือ ย่ิงประกอบ
อาชีพของตนด้วยทักษะนานเท่าใด ย่อมมีทักษะทางวิชาชีพเพ่ิมสูงข้ึนมากเท่านั้น อาชีพนักวิจัยก็เช่นเดียวกัน
นักวิจัยไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยสาขาวิชาใดก็ตาม เมื่อต้องด�ำเนินการวิจัยและต้องท�ำกิจกรรมการทบทวน
วรรณกรรม อันเป็นข้ันตอนการวิจัยข้ันตอนหน่ึงท่ีมีความส�ำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อการวิจัย และต่อตัวนักวิจัย
ทั้งในด้านการด�ำเนินงานวิจัย และในด้านการพัฒนาทักษะวิชาชีพของนักวิจัย โดยเฉพาะการสะสมองค์ความ
รู้ทางวิชาการเพ่ือจะได้มีความเช่ียวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ท้ังในฐานะอาจารย์ผู้สอนท่ีสามารถให้
ความรู้แก่ศิษย์ได้อย่างแจ่มชัด และในฐานะผู้เชี่ยวชาญการวิจัยในสาขาวิชาชีพของตนท่ีสามารถสนทนา
เสวนา และแลกเปล่ียนเรียนรู้กับนักวิจัยในสถานศึกษา สมาคมวิชาชีพ ตลอดจนองค์การธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ทางด้านการวิจัยได้ ดังสาระด้านความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรมต่อไปน้ี
การทบทวนวรรณกรรมของนักวิจัยทุกสาขาวิชาล้วนมีความส�ำคัญต่อการวิจัยอย่างมากและ
ได้รับการยอมรับว่าเป็นข้ันตอนการด�ำเนินงานที่ส�ำคัญมากในกระบวนการวิจัย นักวิชาการหลายคน ได้แก่
Adams & Schvaneveldt, 1991; Boell & Cecez-Kecmanovic, 2015; Cooper & Hedges, 2009;
Kerlinger & Lee, 2000; Levy & Ellis, 2006; Madsen, 1992; Neuman, 1991; Smallbone & Quin-
ton, 2011 ได้น�ำเสนอสาระเรื่อง ‘ความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรม’ และผู้เขียนน�ำมาสังเคราะห์สรุป
พบว่าการทบทวนวรรณกรรมมีความส�ำคัญย่ิงต่อการวิจัยและรายงานการวิจัย ต่อนักวิจัยผู้ผลิตงานวิจัย
และตอ่ นกั วชิ าการทวั่ ไปรวมทง้ั บคุ ลากรในหนว่ ยงานดา้ นการกำ� หนดนโยบาย และดา้ นการปฏบิ ตั งิ านสามารถ
น�ำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการก�ำหนดนโยบาย และการปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดการพัฒนากิจการด�ำเนิน
งานในความรับผิดชอบของตน ดังสาระสรุป 7 ประการ ดังน้ี