Page 34 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 34
2-24 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
สรุป
เร่ืองที่ 2.1.1 เสนอสาระรวม 2 หัวข้อ คือ วรรณกรรมและการทบทวนวรรณกรรม และความส�ำคัญ
ของการทบทวนวรรณกรรม ดังสาระสรุปแต่ละหัวข้อดังนี้
วรรณกรรม และการทบทวนวรรณกรรม ‘วรรณกรรม’ วรรณกรรม หมายถงึ ‘ขอ้ เขยี น หรอื รายงาน
ที่เสนอสาระทางวิชาการเฉพาะด้าน หรือรายงานวิจัย ซึ่งอาจอยู่ในรูปต้นฉบับลายมือเขียน วัสดุสิ่งพิมพ์ หรือ
โบราณวัตถุ หรือเอกสารวิชาการทั้งประเภทเอกสารที่ผลิตเป็นประจ�ำตามช่วงเวลา หรือเอกสารที่ผลิตใช้
เฉพาะคราว วรรณกรรมจัดว่าเป็นข้อมูลท่ีมีคุณค่ามากส�ำหรับการวิจัย ตามหลักการวิจัย ‘วรรณกรรม’ แบ่ง
ประเภทย่อยตามวิธีการท่ีใช้ในการจัดประเภทรวม 3 วิธี คือ 1) วรรณกรรมแบ่งตามรูปแบบการส่ือสารของ
นักวิจัย 2) วรรณกรรมแบ่งตามลักษณะการพิมพ์เผยแพร่และการค้นคืน และ 3) วรรณกรรมแบ่งตาม
ลักษณะข้อมูล ส่วน ‘การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง กระบวนการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
วิจัยที่นักวิจัยต้องการท�ำวิจัย มีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้ได้สาระส�ำคัญเป็นแนวทางในการด�ำเนินการวิจัยต่อไป’
และ ‘กระบวนการด�ำเนนิ งานทบทวนวรรณกรรม หมายถึง ชุดการด�ำเนินงานหลายข้ันตอน ท่ีนักวิจัยต้อง
ด�ำเนินการเพื่อศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องตามหลักวิจัย’ รวม 7 ข้ันตอน คือ 1) การก�ำหนดวัตถุประสงค์
2) การค้นคืนวรรณกรรม 3) การประเมินคุณภาพ 4) การอ่านศึกษาท�ำความเข้าใจ 5) การจัดจ�ำแนกสาระ
เป็นหมวดหมู่ 6) การสังเคราะห์สาระสรุปตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด และ 7) การน�ำเสนอรายงานผลการ
ทบทวนวรรณกรรม
ความส�ำคัญของการทบทวนวรรณกรรมต่อนักวิจัย การทบทวนวรรณกรรมมีความส�ำคัญต่อนัก
วิจัย แยกได้เป็น 7 ด้าน คือ 1) เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการ ระหว่างองค์ความรู้/ผลงานวิจัย
ในอดีตกับความรู้ใหม่ท่ีจะได้จากงานวิจัย 2) เป็นหลักฐานเตือนนักวิจัยให้หลีกเลี่ยงการใช้วรรณกรรมท่ี
ซ้ําซ้อนกับงานวิจัยในอดีต อันจะก่อให้เกิดการท�ำวิจัยซ้ําซ่ึงเป็นการสูญเสียทรัพยากร 3) ผลงานการทบทวน
วรรณกรรมด้านการสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework) กรอบแนวคิดส�ำหรับการวิจัย
(research framework) และการก�ำหนดสมมติฐานวิจัย ช่วยให้นักวิจัยรู้ผลการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ และ
มีแนวทางในการด�ำเนินการวิจัยท่ีมีคุณภาพสูง เพราะมีรากฐานจากความรู้ใหม่ล่าสุดท่ีได้จากการทบทวน
วรรณกรรม 4) เป็นบทสรุปสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งมวลในเร่ืองน้ัน ๆ อันเป็นประโยชน์อย่างย่ิงต่อนักวิจัย
รุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อยอดโดยไม่ต้องเสียเวลาทบทวนวรรณกรรมซ้ํา 5) เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพงานวิจัยท่ีส�ำคัญ
6) เป็นกลไกเสริมความมั่นใจให้นักวิจัยว่ามีความรอบรู้อย่างดี และพร้อมท่ีจะด�ำเนินการวิจัยได้ และ 7) เป็น
กลไกเสริมความม่ันใจให้นักวิจัยมีความเชื่อมั่น และม่ันใจในศักยภาพของตนเองมากขึ้นว่าสามารถผลิตงาน
วิจัยท่ีมีคุณภาพสูง ตรงตามหลักการลงทุนทางวิชาการในการเสริมสร้างสมรรถภาพวิจัยของตน ท�ำให้ได้
ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์จริงตามหลักวิจัย
นอกจากนี้ผู้เขียนได้น�ำเสนอสาระด้านหลักปรัชญาการวิจัย กระบวนการวิจัยและดัชนีคุณภาพ
(ดงั รายละเอียดภาคผนวกทา้ ยเรอ่ื งท่ี 2.1.1 ซึง่ อยกู่ อ่ นตอนท่ี 2.2)
หลังจากศึกษาเน้อื หาสาระเรือ่ งที่ 2.1.1 แล้ว โปรดปฏิบตั ิกิจกรรม 2.1.1
ในแนวการศึกษาหนว่ ยที่ 2 ตอนที่ 2.1 เรอ่ื งท่ี 2.1.1