Page 39 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 39
การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2-29
(classify) และสังเคราะห์ (synthesize) สรุปสาระท่ีคัดกรองจากเอกสารทุกเร่ือง จัดท�ำรายงานการทบทวน
วรรณกรรม สรุปให้ได้เป็นพ้ืนฐานแนวคิดในการตอบปัญหาวิจัยต่อไป (Cooper, Hedges, & Valentine,
2009)” จากความหมายของการทบทวนวรรณกรรมจะเห็นได้ว่า ผลผลติ ขนั้ ตน้ ที่นักวิจัยได้จากการทบทวน
วรรณกรรม คือ เอกสารท่ีเก่ียวข้องกับการวิจัยจ�ำนวนหน่ึง ซึ่งนักวิจัยได้มาจากกิจกรรมก�ำหนดค�ำส�ำคัญ
เพ่ือใช้ในการค้นคืนเอกสาร และการค้นคืนเอกสารดังกล่าว ผลผลิตขั้นตอนต่อมา คือ ผลจากการศึกษา
ท�ำความเข้าใจ ประมวลสาระส�ำคัญ และสังเคราะห์สาระจากวรรณกรรมที่นักวิจัยได้มา โดยนักวิจัยต้อง
ประเมิน อ่านท�ำความเข้าใจ และวิเคราะห์วรรณกรรมท่ีค้นคืนมาได้ทั้งหมด เพ่ือคัดกรองเฉพาะวรรณกรรม
ท่ีมีข้อความเก่ียวข้องกับปัญหาวิจัยโดยตรง จากน้ันน�ำข้อความท่ีคัดกรองทั้งหมดจากวรรณกรรมทุกเรื่อง
มาจัดหมวดหมู่ สรุป สังเคราะห์สาระทุกหมวดหมู่ เรียบเรียงตามกรอบรายงานการทบทวนวรรณกรรม เพ่ือ
ให้ได้ผลผลติ สุดท้าย คือ “ผลการจัดท�ำรายงานผลการทบทวนวรรณกรรม”
จาก “ความหมายของการทบทวนวรรณกรรม” และ “ผลผลติ ข้ันตน้ ทนี่ กั วจิ ยั ไดร้ บั จากการทบทวน
วรรณกรรม” ที่เสนอข้างต้น จะเห็นว่ากิจกรรมส�ำคัญท่ีนักวิจัยต้องด�ำเนินการในการทบทวนวรรณกรรม
ประกอบด้วยกิจกรรมต่อเนื่องรวม 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การค้นคืนเอกสารท่ีเกี่ยวข้องกับการวิจัย 2) การ
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 3) การวิเคราะห์ ประเมิน และคัดกรองเอกสารเฉพาะส่วนที่เก่ียวข้อง
กับปัญหาวิจัย 4) การจัดหมวดหมู่เอกสารจ�ำแนกตามสาระท่ีคัดกรองมาได้ท้ังหมด และ 5) การสังเคราะห์
สาระน�ำเสนอเป็นรายงานการทบทวนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง กจิ กรรมการดำ� เนนิ งานทง้ั 5 กจิ กรรมนเ้ี ปน็ ผล
ของการด�ำเนินงานการทบทวนวรรณกรรม ที่สรุปเป็นวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมได้ 5 ข้อ
ดังต่อไปน้ี 1) เพ่ือค้นคืนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 2) เพื่อศึกษาเอกสารท่ีเกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ค้นคืน
มาทั้งหมด 3) เพ่ือวิเคราะห์และคัดกรองเอกสารเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย 4) เพ่ือจัดหมวดหมู่
สาระที่คัดกรองมาได้ทั้งหมด และ 5) เพ่ือสังเคราะห์สาระน�ำเสนอเป็นรายงานการทบทวนวรรณกรรมที่
เกี่ยวข้อง
1.2 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมจากแนวคิดของนักวิจัยผู้เขียนวรรณกรรม
วรรณกรรมท้ังประเภทหนังสือ รายงานวิจัย บทความวิจัย จ�ำนวนมากท่ีเผยแพร่ผลงานด้านการทบทวน
วรรณกรรมเป็นส่วนหน่ึงของการด�ำเนินการวิจัย ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้โดยมีบางส่วนแตกต่าง
กันและบางส่วนคล้ายคลึงกัน ในท่ีนี้ผู้เขียนรวบรวมสาระจากวรรณกรรมที่นักวิจัยน�ำเสนอไว้รวม 4 แบบ
ดังน้ี
1.2.1 วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมจาก Cooper, Hedges, & Valentine, 2009;
Hunter, Schmidt, & Jackson, 1982; Levy & Ellis, 2006; Pare, Trudel, Jaana, & Kitsiou, 2015 สรุปได้ว่า
“การทบทวนวรรณกรรมเพอ่ื สะสมความรู้ เปน็ ลกั ษณะส�ำคญั ประการหนงึ่ ทแี่ สดงถงึ ‘ความเปน็ วทิ ยาศาสตร์
(scientific)’ ของรายงานวิจัยน้ัน” การทบทวนวรรณกรรมมีวัตถุประสงค์รวม 5 ข้อ คือ 1) เพื่อสร้างเสริม
ความก้าวหน้าขององค์ความรู้ในศาสตร์ท่ีท�ำวิจัย 2) เพื่อให้เกิดความเข้าใจขอบเขตของประเด็นปัญหาวิจัย
ทน่ี กั วจิ ยั มงุ่ หาคำ� ตอบ 3) เพอื่ คน้ คนื และสงั เคราะหง์ านวจิ ยั เชงิ ประจกั ษ์ 4) เพอ่ื พฒั นาทฤษฎหี รอื กรอบความ
คิดในการวิจัยส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป และ 5) เพ่ือระบุหัวข้อวิจัยหรือประเด็นวิจัยที่ต้องมีการวิจัยต่อไป
ในอนาคต