Page 38 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 38
2-28 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
(The Collaborating Operation Center) ท�ำหน้าที่สนับสนุนการด�ำเนินกิจกรรมทั้งหมดตามนโยบาย โดย
มีกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านการประสานงานส�ำคัญ (The Substantive Coordinating Groups) 3 กลุ่ม รับผิด
ชอบการท�ำงานประสานกันในด้านการสังเคราะห์งานวิจัยแบบมีระบบ (systematic reviews) 3 สาขาวิชา
คือ ความยุติธรรมต่อผู้กระท�ำผิด (criminal justice) สวัสดิการสังคม (social welfare) และการศึกษา
(education) 4) กลุ่มผปู้ ฏบิ ัติงานด้านวธิ ีการ (The Methods Group) รับผิดชอบการศึกษาวิธีการวิจัยด้าน
สถิติ (statistics) แบบแผนการวิจัยก่ึงทดลอง (quasi-experimental design) นอกจากนี้ยังศึกษาการค้น
คืน กระบวนการ และการน�ำวิธีการไปใช้ (retrieval, process and implementation) ด้านสารสนเทศ
เก่ียวกับการทดลองแบบสุ่ม และแบบก่ึงทดลอง (randomized and quasi experiments) ด้วย และ
5) กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ (The Users Group) ท�ำหน้าท่ีประสานงานระหว่าง Campbell Collaboration
Organization และกลุ่มองค์การสมาชิกร่วมมือรวมพลัง เช่น “ศูนย์ประสานงาน และปฏิบัติการสารสนเทศ
และหลักฐานเพ่ือการก�ำหนดนโยบาย” ในสังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน ซ่ึงเป็นองค์การท่ีปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
กับ Campbell Collaboration Organization ในด้านภาระหน้าที่ เครือข่ายผู้ใช้ประโยชน์ปลายทาง ที่อยู่
บนเว็บ และความคิดริเร่ิมร่วมกัน โครงสร้างการบริหารองค์การท้ังหมดนี้ช่วยประกันว่าประชาคม และ
องค์การทุกหน่วยงาน ท่ีอยู่ระหว่างสายงานบริหารองค์การ สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่เป็นองค์ความรู้ของ
Campbell Collaboration Organization และน�ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างท่ัวถึง การประชุมคร้ังแรกของ
Campbell Collaboration เมื่อปี 2000 มีนักวิจัยจาก 13 ประเทศ รวม 85 คน เข้าร่วมประชุม ต่อมาจ�ำนวน
ประเทศสมาชิกมีเพิ่มมากขึ้น และมีการจัดตั้ง Campbell Centre ข้ึนในประเทศสมาชิกทุกประเทศโดยการ
สนับสนุนจากรัฐบาลแต่ละประเทศ เริ่มจาก Nordic Campbell Collaboration ปี ค.ศ. 2001 คติพจน์ของ
สมาชิก Campbell Collaboration คือ “The Campbell Collaboration: Providing Better Evidence
for a Better World” ท�ำให้การทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR แพร่หลายเป็นท่ียอมรับน�ำไปใช้ในการวิจัย
สาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมศาสตร์ และการศึกษามากขึ้น (Cooper, Hedges, & Valentine, 2009;
Turner & Nye, 2019)
จากผลงานการพัฒนาและวางกรอบการด�ำเนินการวิจัยด้านการสังเคราะห์งานวิจัยแบบ SLR และ
การสังเคราะห์งานวิจัยแบบการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis synthesis) ขององค์การ Cochrane
Collaboration และ Campbell Collaboration ซ่ึงให้ต้นแบบการทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR ไว้ด้วย
นั้น ได้สรุปวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR รวม 2 แบบ ดังนี้
1.1 วตั ถปุ ระสงคข์ องการทบทวนวรรณกรรมทไี่ ดจ้ ากความหมายของการทบทวนวรรณกรรม จาก
แนวคิดและแนวปฏิบัติในการวิจัยแบบ SLR ท่ีพัฒนาโดยองค์การ Cochrane Collaboration และองค์การ
Campbell Collaboration น้ัน ได้ก�ำหนดความหมายของ การทบทวนวรรณกรรม ไว้ว่า “การทบทวน
วรรณกรรม” หมายถึง “กระบวนการส�ำรวจเอกสารท่ีพิมพ์เผยแพร่ในอดีตท่ีผ่านมาเกี่ยวกับประเด็นปัญหา
วจิ ยั ทีน่ กั วิจยั ต้องการศึกษาหาคำ� ตอบปญั หาวจิ ยั เพ่อื คัดเลอื ก (select) เอกสารเฉพาะรายการที่ตรงประเด็น
วิจัย ค้นคืน (retrieve) เอกสารและนำ� มาศึกษา (study) ท�ำความเข้าใจเอกสารแต่ละเรื่อง วิเคราะห์แยกเป็น
ส่วนย่อย ๆ (digest) คัดกรอง (sift) ส่วนที่ส�ำคัญและเก่ียวข้องกับปัญหาวิจัยน�ำมาจัดหมวดหมู่สาระ