Page 37 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 37

การค้นคว้าและการน�ำเสนอวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 2-27

สังเคราะห์งานวิจัยแบบ SLR และการสังเคราะห์งานวิจัยแบบการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis syn-
thesis) รวมท้ังเผยแพร่ผลการด�ำเนินงานดังกล่าวจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เน่ืองจากการทบทวน
วรรณกรรมแบบ SLR เป็นผลการพัฒนาของ Cochran Collaboration และ Campbell Collaboration
ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอสาระสังเขปขององค์การท้ังสององค์การ ด้านประวัติ หลักการด�ำเนินงาน และผลงาน
แต่ละองค์การ เพื่อให้เข้าใจความเช่ือมโยงระหว่างการสังเคราะห์งานวิจัยแบบ SLR และการทบทวน
วรรณกรรม ดังนี้

       องคก์ ารความรว่ มมอื รวมพลังคอแครน (Cochran Collaboration Organization) เป็นองค์การซ่ึง
ก่อตั้งเม่ือปี ค.ศ. 1993 โดยใช้ชื่อของนักระบาดวิทยา Archie Cochrane มีสมาชิกมากกว่า 11,500 คน
จากประเทศทั่วโลกกว่า 90 ประเทศ โดยมีสมาชิกที่เป็นนักวิจัย นักวิชาชีพสาธารณสุข และประชาชนผู้ใช้
บริการด้านสาธารณสุขที่มีความสนใจร่วมกันเพื่อรวบรวมสังเคราะห์หลักฐานการป้องกันและการรักษาโรค
หรือสาเหตุที่เป็นปัญหาสาธารณสุข โดยด�ำเนินการในลักษณะการจับกลุ่มรวมกันเป็น Cochrane Review
Groups (CRGs) มากกว่า 50 กลุ่ม กระจายอยู่ท่ัวโลก แต่ละกลุ่มรับผิดชอบการผลิตและการเผยแพร่
รายงานการทบทวน (review) ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ผลการด�ำเนินงานทั้งหมดเสนอเข้าท่ีประชุม
ของนักวธิ วี ิทยา โดยมีหน่วยงาน Cochrane Methods Groups จัดการประชุมแบบซมิ โพเซยี มเพ่อื อภิปราย
ผลวิจัยท่ีเสนอใน Cochrane Review กลุ่มนักวิธีวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลักในการผลิตบทความวิจัยเพ่ือ
พิมพ์เผยแพร่ใน Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions หรือเรียกสั้น ๆ
ว่า Cochrane Handbook ให้ได้แนวทางการพัฒนาผลวิจัยให้เป็นรูปธรรมที่ใช้ประโยชน์ได้ ประเมิน
ประยุกต์ใช้ และเผยแพร่ความรู้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Cochrane Editorial Unit (CEU) ช่วงปี ค.ศ.
2009 มีรายงานว่าจ�ำนวนงานวิจัยท่ีพิมพ์เผยแพร่ท้ังหมดมีจ�ำนวนสูงถึง 479,462 เรื่อง งานวิจัยดังกล่าวเป็น
สอ่ื กลางทที่ ำ� ใหก้ ารทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR แพรห่ ลายมาก (Cochrane Community, 2017; Cooper,
Hedges, & Valentine, 2009)

       องคก์ ารความรว่ มมอื รวมพลงั แคมพเ์ บลล์ (Campbell Collaboration Organization) เป็นองค์การ
ท่ีท�ำหน้าท่ีคล้ายคลึงกับ Cochrane Collaboration organization เกิดจากความคิดของนักวิจัยผู้เข้าร่วม
การประชุมในอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1999 และได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 2000 โดยใช้ชื่อของศาสตราจารย์ชาว
อเมริกัน และสมาชิก Natioanal Academy of Sciences ในสหรัฐอเมริกา ผู้มีอิทธิพลสูงยิ่งต่อการวิจัย
ทางสังคมศาสตร์ ชื่อ Donald T. Campbell (1916-1996) การด�ำเนินงานในระยะแรกได้รับทุนสนับสนุน
จากนักวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าควรต้องเผยแพร่แนวคิดเกี่ยว
กับ SLR ในการวิจัยด้านการแทรกแซง (intervention) หรือการจัดกระท�ำ (treatment) เพ่ือพัฒนา
คุณลักษณะ/พฤติกรรม Campbell Collaboration ลักษณะโครงสร้างการบริหารองค์การ ประกอบด้วย
หน่วยงานรวม 5 แบบ ดังน้ี 1) คณะกรรมการขับเคล่ือนระดับนานาชาติ (The International Steering
Group) บริหารงานโดยคณะกรรมการซ่ึงมีประธานและรองประธานจ�ำนวน 2 คน ท�ำหน้าท่ีรับผิดชอบด้าน
การก�ำหนดนโยบายขององค์การ 2) ฝา่ ยเลขานกุ าร (The Secretariat) เป็นกลุ่มผู้ด�ำเนินการกระจายงานหลัก
ตามนโยบายท่ีคณะกรรมการขับเคลื่อนระดับนานาชาติก�ำหนด 3) ศูนย์ปฏิบัติงานร่วมมือรวมพลัง
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42