Page 36 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 36

2-26 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

       การใช้ Google Scholar เป็นเคร่ืองมือในการค้นคืน (retrieve) วรรณกรรมประเภทงานวิจัยใหม่
ล่าสุดเป็นสิ่งที่นักวิจัยควรต้องท�ำ แต่การค้นคืนงานวิจัยดังกล่าวจะไม่ได้ผลดี หากนักวิจัยไม่รู้แน่ชัดว่าจะ
ค้นคืนงานวิจัยเพื่อท�ำอะไร และเมื่อค้นคืนงานวิจัยใหม่ล่าสุดมาใช้ในการทบทวนวรรณกรรมแล้วจะเกิด
ประโยชน์อย่างไร ดังน้ันการเสนอสาระในตอนน้ีจึงเสนอสาระที่นักวิจัยจ�ำเป็นและควรต้องรู้ก่อนเร่ิมต้นการ
ค้นคืนงานวิจัย รวม 2 หัวข้อ คือ วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม ดังนี้

1. 	วัตถปุ ระสงคข์ องการทบทวนวรรณกรรม

       การเสนอสาระด้านวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมในตอนน้ี ผู้เขียนใช้หลักการทบทวน
วรรณกรรมแบบมีระบบ (systematic literature reviews - SLR) ซึ่งเป็นรูปแบบการทบทวนวรรณกรรม
ที่ใช้ในการวิจัยที่มีมาตรฐานสากล และใช้ในการท�ำวิทยานิพนธ์ รวมทั้งการเผยแพร่ผลการวิจัยระดับ
นานาชาติ ผลจากการศึกษาทบทวนประวัติของ SLR (Amrollahi, Ghapanchi & Talaei-Khoei, 2013;
Boell & Cecez-Kecmanovic, 2015) พบว่าในระยะแรก SLR เป็นงานวิจัยอิงหลักฐาน (evidence-based
research) ท่ีนักวิจัยได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยในอดีตเพ่ือตอบค�ำถามวิจัย โดยเร่ิมใช้ในสาขาวิชา
แพทยศาสตร์เป็นคร้ังแรกช่วงทศวรรษท่ี 1990s เห็นได้จากผลงานวิจัยหลายเร่ืองท่ีใช้ SLR พิมพ์เผยแพร่
ในวารสาร JAMA รวมทั้งในการประชุมวารสารวิชาการของอังกฤษร่วมกับ UK Cochrane Centre ในปี
ค.ศ. 1992 ต่อมาช่วงกลางทศวรรษที่ 1990s นักวิจัยในสาขาวิชาการศึกษา จิตวิทยา การพยาบาล
บรรณารักษศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาวิชาอื่น ๆ เริ่มรับแนวคิด SLR มาใช้ในการวิจัยสาขาวิชาของตน
และเริ่มใช้การทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการด�ำเนินการทบทวนวรรณกรรม
ท่ีมีวัตถุประสงค์และวิธีการมาตรฐาน (standardized method) ในการด�ำเนินงานเข้มงวด มีผลท�ำให้การ
ทบทวนวรรณกรรมมีคุณสมบัติเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific) ท�ำซ้ําได้ (replicable) เป็นปรนัย
(objective) ไม่ล�ำเอียง (unbiased) และเข้มงวด (rigorous) รวมทั้งผลการทบทวนวรรณกรรมท่ีได้ตรง
ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนดไว้ สรุปในภาพรวมได้ว่าผลการทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR มีคุณภาพดีกว่า
การทบทวนวรรณกรรมแบบเก่า ซ่ึงนักวิจัยค้นคืน ประเมิน และด�ำเนินการสังเคราะห์ผลการศึกษาค้นคว้า
และน�ำเสนอสาระตามทีน่ ักวิจยั แต่ละคนตอ้ งการ โดยไมม่ ีมาตรฐานการด�ำเนินงานที่ตรวจสอบได้ มผี ลท�ำให้
การทบทวนวรรณกรรมมีคุณสมบัติเป็นวิธีการอวิทยาศาสตร์ (unscientific) ท�ำซํ้าไม่ได้ (non-replicable)
เป็นอัตนัย (subjective) ล�ำเอียง (biased) และไม่มีระบบ (unsystematic) รวมทั้งผลการทบทวน
วรรณกรรมท่ีได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

       จากผลดีของการทบทวนวรรณกรรมแบบ SLR ข้างต้น ท�ำให้งานวิจัยระยะหลังใช้การทบทวน
วรรณกรรมแบบ SLR มากข้ึน นักวิจัยและองค์การที่เก่ียวข้องกับการสังเคราะห์งานวิจัย โดยเฉพาะองค์การ
ความร่วมมือรวมพลังคอแครน (Cochran Collaboration Organization) ซึ่งสนับสนุนการสังเคราะห์งาน
วิจัยในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และองค์การความร่วมมือรวมพลังแคมพ์เบลล์ (Campbell Collabora-
tion Organization) ซึ่งสนับสนุนการสังเคราะห์งานวิจัยในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์
รวมท้ังสาขาวิชาการศึกษาและจิตวิทยา ต่างมีส่วนในการพัฒนาและวางกรอบการด�ำเนินการวิจัยด้านการ
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41