Page 32 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 32
2-22 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ประการทหี่ นงึ่ ความส�ำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือเช่ือมโยงความรู้ทางวิชาการ ระหว่าง
องค์ความรู/้ ผลงานวิจัยในอดตี กับความร้ใู หม่ทีจ่ ะได้จากงานวิจยั ชว่ ยใหร้ ายงานวจิ ยั เปน็ ผลงานต่อยอดจาก
งานวิจัยท่ีมีอยู่แล้ว แสดงให้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการท่ีเป็นผลจากการวิจัยใหม่นั้น
ประการที่สอง ความส�ำคัญในฐานะเป็นหลักฐานเตือนนักวิจัยมิให้ใช้ผลการทบทวน
วรรณกรรมที่ซ้ําซ้อนกับงานวิจัยในอดีต เพื่อหลีกเลี่ยงการท�ำวิจัยซ้ําอันเป็นการสูญเสียทรัพยากรเพื่อการ
วิจัยโดยไม่ได้องค์ความรู้ใหม่ท่ีแตกต่างจากงานวิจัยเดิม การทบทวนวรรณกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น
นอกจากต้องไม่มีการทบทวนวรรณกรรมซ้ําซ้อนกับงานวิจัยท่ีมีนักวิจัยได้ท�ำไว้ก่อนแล้ว ยังต้องได้สาระใหม่
ท่เี ปน็ แนวทางให้นกั วิจัยมงุ่ ค้นหาวรรณกรรมใหมแ่ ละทันสมยั เพิม่ เตมิ อนั จะนำ� ไปสกู่ ารวจิ ยั ทีเ่ ป็นนวัตกรรม
ซ่ึงให้ผลการวิจัยใหม่ที่มีคุณค่าสูงทางวิชาการ และเกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการและสังคม
ประการที่สาม ความส�ำคัญในการแสดงหลักฐานท่ีมาของกรอบแนวคิด และแนวทาง
ในการด�ำเนินงานวิจัย อันเป็นหัวใจส�ำคัญของการวิจัย เพราะผลจากการทบทวนวรรณกรรมช่วยให้นักวิจัย
สามารถน�ำองค์ความรู้ใหม่ล่าสุดท่ีได้จากการทบทวนวรรณกรรม มาเป็นฐานความคิดในการสร้างกรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical framework) และ/หรือกรอบแนวคิดส�ำหรับการวิจัย (research frame-
work) รวมทง้ั การกำ� หนดสมมตฐิ านวจิ ยั (research hypotheses) ซง่ึ นกั วจิ ยั ทกุ คนทราบดวี า่ ‘กรอบแนวคดิ
เชิงทฤษฎี และ/หรือกรอบแนวคิดในการวิจัย และสมมติฐานวิจัย’ มีความส�ำคัญยิ่งต่อการวิจัย เพราะ
นอกจากเปน็ หลกั ฐานแสดงถงึ ศกั ยภาพของนกั วจิ ยั ความทนั สมยั และคณุ คา่ ของงานวจิ ยั แลว้ ยงั ชว่ ยก�ำหนด
แนวทางในการวิจัย และแสดงถึงผลการวิจัยท่ีคาดว่าจะได้รับด้วย
ประการท่ีสี่ ความส�ำคัญในฐานะเป็นบทสรุปสังเคราะห์องค์ความรู้ท้ังมวลในเรื่อง
น้ัน ๆ อันเป็นประโยชน์อย่างย่ิงต่อนักวิจัยรุ่นหลัง เพราะเม่ือนักวิจัยรุ่นหลังได้ศึกษารายงานวิจัยฉบับน้ีแล้ว
ได้เห็นว่ามีวรรณกรรมบางส่วนท่ีเป็นประโยชน์ สามารถน�ำผลการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวไปใช้เป็นฐาน
ความคิดในการพัฒนาต่อยอดได้ ช่วยประหยัดเวลาสืบค้น จัดหา และศึกษางานวิจัยด้วยตนเองท้ังหมดได้
ประการทีห่ ้า ความส�ำคัญในฐานะเป็นกลไกเสริมสร้างความมั่นใจให้นักวิจัย และผู้ใช้
ผลงานวิจัยนั้น รวม 2 ประเด็น คือ ประเดน็ แรก ทั้งนักวิจัยและผู้ใช้ผลงานวิจัยม่ันใจได้ว่า ‘นักวิจัยมีความ
รอบรู้เป็นอย่างดี และมีความพร้อมด้านความรู้เดิมที่มีอยู่ท้ังหมดเกี่ยวกับปัญหาวิจัยท่ีจะด�ำเนินการวิจัย
และเช่อื มัน่ ไดว้ า่ ผลการวิจัยไม่ซํา้ ซ้อนกบั ผลงานวจิ ัยในอดีต’ และประเดน็ ทสี่ อง นักวจิ ยั ผ้ทู �ำวจิ ยั เองมีความ
เชื่อม่ัน และมั่นใจในศักยภาพของตนเองมากขึ้นว่า ‘เมื่อมีความสามารถใช้การทบทวนวรรณกรรมในการ
แสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องท่ีจะท�ำวิจัยได้อย่างดี ย่อมสามารถใช้การทบทวนวรรณกรรมในการศึกษา
ด้านวิธีการวิจัยท้ังหมดเพื่อให้ได้วิธีการวิจัยที่เหมาะสมต่อการวิจัยได้’ ซ่ึงมีผลท�ำให้ได้ผลงานวิจัยของ
นักวิจัยผู้น้ันมีคุณภาพท้ังด้านวิธีการวิจัยที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักวิจัย และด้านผลการวิจัยที่มีคุณค่าสูง
ใช้ประโยชน์ได้จริง กรณีดังกล่าวมีความส�ำคัญช่วยให้นักวิจัยมีประสบการณ์มากย่ิงข้ึน มีสมรรถวิสัย และ
มีความช�ำนาญในการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวเพิ่มพูนทวีข้ึนเร่ือย ๆ
ประการท่ีหก ความส�ำคัญในฐานะเป็นเครื่องบ่งช้ีคุณภาพงานวิจัยเพราะงานวิจัยที่มี
การทบทวนวรรณกรรมได้สมบูรณ์ มีกรอบแนวคิดแสดงความสัมพันธ์เก่ียวข้องระหว่างตัวแปรหรือ
ประเด็นหลักเชิงคุณภาพท่ีตรงตามปัญหาวิจัย รวมทั้งสมมติฐานวิจัย โดยใช้วรรณกรรมอ้างอิงท่ีทันสมัย