Page 65 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 65

การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 4-55

       จากกรณีตัวอย่างงานวิจัยเร่ือง การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีข้อสังเกต
เกี่ยวกับการออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างใน 4 ประเด็น ดังนี้

       1. 	 การก�ำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ช่ืองานวิจัยควรแสดงถึงกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ดังน้ันกลุ่มผู้ให้
ข้อมูล หรือประชากรการวิจัยควรเป็นนักเรียนในศตวรรษท่ี 21 ซึ่งครอบคลุมท้ังนักเรียนระดับประถมศึกษา
และระดับมัธยมศึกษาท่ัวประเทศ ผู้วิจัยก�ำหนดประชากรการวิจัย เป็นนักเรียนระดับช้ันมัธยมศึกษาตอน
ปลายของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จ�ำนวน 24,027 คน
และกำ� หนดขอบเขตการวจิ ยั ดา้ นแหลง่ ขอ้ มลู วา่ กลมุ่ ตวั อยา่ ง ไดแ้ ก่ นกั เรยี นระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย
สังกัดส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จ�ำนวน 540 คน ซ่ึงได้มาจากการสุ่มแบบหลาย
ข้ันตอน (multi-stage random sampling) ซึ่งไม่ครอบคลุมชื่อเร่ือง นอกจากนี้พื้นที่ท่ีศึกษาก็ศึกษาเฉพาะ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ใน 2 จังหวัด คือ พิษณุโลก
และอุตรดิตถ์

            กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับช้ันมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการ
ศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จ�ำนวน 540 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายข้ันตอน (multi-stage random
sampling)

       ในกรณีน้ีควรก�ำหนดประชากรให้กว้างขวางครอบคลุมชื่อเร่ือง หรือในทางตรงข้าม ควรก�ำหนด
ชื่อเรื่องให้แคบลงตามกลุ่มที่ศึกษา กล่าวคือ ก�ำหนดชื่อเรื่องเป็น การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียน
มัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

       2. 	 กรอบตัวอย่าง งานวิจัยเร่ืองนี้ศึกษาประชากรกว้างขวาง ครอบคลุมนักเรียนในศตวรรษท่ี 21
การออกแบบการเลือกกลุ่มตัวอย่างต้องด�ำเนินการมากกว่า 1 ขั้นตอน กรอบตัวอย่างน่าจะมีหลายกรอบ

       3. 	 ขนาดตวั อยา่ ง งานวิจัยน้ีเป็นงานวิจัยและพัฒนา การด�ำเนินงานแบ่งเป็น 2 ข้ันตอน ดังนี้
            ขั้นที่ 1 พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษท่ี 21
            ขน้ั ที่ 2 การตรวจสอบความตรงเชงิ โครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบง่ ช้ที กั ษะของนักเรยี น

ในศตวรรษที่ 21 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
            งานในข้ันตอนที่ 2 มีการทดสอบทักษะของนักเรียนท่ีเป็นกลุ่มตัวอย่าง ซ่ึงได้แก่ นักเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษามัธยมศึกษา
เขต 39 จ�ำนวน 540 คน ผู้วิจัยระบุวิธีการก�ำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ 1 : 20 เพ่ือวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งใช้เกณฑ์ขนาดตัวอย่าง 20
หน่วยต่อตัวแปรเกณฑ์ที่ศึกษา 1 ตัวแปร ดังนั้นขนาดของกลุ่มตัวอย่างข้ันตํ่าตามเกณฑ์จึงเท่ากับ แต่ผู้วิจัย
คาดว่าอาจได้ข้อมูลซ่ึงตอบกลับทางไปรษณีย์ไม่ครบ 480 คน ผู้วิจัยจึงได้เพ่ิมตัวอย่างเป็น 540 คน เพ่ือให้
ได้ข้อมูลท่ีเพียงพอส�ำหรับการวิเคราะห์ ซ่ึงถือว่ามีการออกแบบการรวบรวมข้อมูลเพ่ือให้ได้ข้อมูลท่ีมากพอ
ในการวิจัย แต่ควรเพิ่มเติมค�ำอธิบายว่าเหตุใดจึงก�ำหนดจ�ำนวนนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 4, 5 และ 6 ใน
แต่ละโรงเรียน จ�ำนวน 10 คน เท่ากันทุกชั้น
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70