Page 24 - วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
P. 24
14-14 วฒั นธรรมกับการท่องเทย่ี ว
ต่างๆ ที่เกิดข้ึนตลอดช่วงระยะเวลาท่ีผ่านมาน้ัน ท�ำให้เห็นว่า ภูมิทัศน์ เป็นสิ่งท่ีรวมไว้ซึ่งลักษณะที่เกิด
จากการมองเหน็ นอกจากภมู ทิ ศั นจ์ ะเกย่ี วขอ้ งกบั ตาและการมองเหน็ แลว้ บอ่ ยครงั้ ยงั มคี วามเกยี่ วขอ้ งกบั
ผลลพั ธท์ ม่ี าจากภาพตวั แทน (Representation) ของสง่ิ ตา่ งๆ ดว้ ย (Sennett, 1990; Dorrian and Rose,
2003 อ้างถึงใน Czepczyń ski, Mariusz, 2008, p. 10) การศึกษาเก่ียวกับภูมิทัศน์น้ันโดยท่ัวไปแล้ว
มีพื้นฐานมาจากการรับรู้โลกภายนอกและมีการรวมเอากระบวนการมีความหลากหลายและซับซ้อน
ประกอบด้วยการเข้าใจ การเปรียบเทียบ การจำ� แนก และการใหค้ ณุ คา่ กระบวนการทีก่ ลา่ วนจี้ ะเปน็ สิ่งท่ี
สง่ ผลต่อการตีความภูมทิ ัศน์ของเรา (Czepczyń ski, Mariusz, 2008, p. 5) ในบรบิ ทรว่ มสมัยสามารถ
แบง่ องคป์ ระกอบภมู ทิ ศั นอ์ อกไดเ้ ปน็ 3 สว่ น ไดแ้ ก่ ภมู ทิ ศั นใ์ นฐานะรปู แบบ ภมู ทิ ศั นใ์ นเชงิ ของการใชง้ าน
และภูมทิ ัศน์ในเชิงความหมายและการสอื่ สาร (Czepczyń ski, Mariusz, 2008, p. 11) โดยมีรายละเอียด
โดยสังเขปดงั ต่อไปน้ี
1. ภูมิทัศน์ในฐานะรูปแบบ ภูมิทัศน์เป็นรูปแบบและเป็นลักษณะท่ีของพื้นผิวโลกที่ปรากฏให้
เห็น มุมมองดังกล่าวนี้มักจะมีความเช่ือมโยงกับจินตนาการทางศิลปะ ภาพทิวทัศน์ต่างๆ ซ่ึงปรากฏให้
เหน็ ทง้ั ในโลกตะวนั ตกและในโลกตะวนั ออก ภมู ทิ ศั นน์ อกจากจะมคี วามเกย่ี วขอ้ งกบั จนิ ตนาการทางศลิ ปะ
แลว้ ยงั มกี ลมุ่ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การจดั สวน มคี วามเกย่ี วขอ้ งกบั การออกแบบและสรา้ งสวนขนาดใหญ่ เปน็ การ
จัดการภมู ทิ ัศนโ์ ดยฝมี อื ของมนษุ ย์ ทใี่ ช้ประโยชน์ในแงข่ องการใชง้ านและในเชิงสุนทรยี ์ นอกจากทก่ี ลา่ ว
มาในข้างต้นนี้แล้วจะเห็นได้ว่าในบริบทร่วมสมัยน้ัน ภูมิทัศน์ได้เป็นสิ่งท่ีได้รับความสนใจมากในการ
ออกแบบวิถีชีวิตในเมือง ในแง่น้ีสถาปนิกได้ให้ความส�ำคัญกับท้ังสิ่งปลูกสร้าง สภาพแวดล้อม ไปจนถึง
ภาพลักษณโ์ ดยรวมของสถานทีห่ รือพืน้ ทีน่ น้ั ๆ ดว้ ย (Czepczyń ski, Mariusz, 2008, pp. 11-12)
ในบริบทของประเทศไทยนนั้ จะเหน็ ไดว้ า่ ภมู ิทัศนท์ มี่ คี วามเชอื่ มโยงกับจินตนาการทางศิลปะนัน้
สะท้อนผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) ที่มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเน่ือง มีการรับ
อทิ ธพิ ลการสรา้ งงานจากตะวนั ตกทำ� ใหม้ กี ารสรา้ งสรรคง์ านเขยี นภมู ทิ ศั นท์ ม่ี มี ติ ิ ซงึ่ ศลิ ปนิ ทนี่ กั ศกึ ษารจู้ กั
กันดคี อื ขรัว อินโขง่ ในส่วนของการออกแบบสร้างสวนตา่ งๆ นน้ั จะเหน็ ไดว้ ่าในอดตี การจดั สวนเปน็ สิง่
ท่ีได้รบั ความนิยมในราชส�ำนกั ต่อมาความนยิ มดงั กล่าวก็กระจายสู่สามัญชนท่ัวไป ทัง้ ยังมกี ารสรา้ งสวน
สาธารณะขนาดใหญ่ เหน็ ไดจ้ ากการสรา้ งสวนสตั วด์ ุสิตหรือเขาดนิ ทมี่ ีจุดเริ่มตน้ ใน พ.ศ. 2438 จากการ
ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั (รชั กาลที่ 5) ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งขนึ้ หลงั จาก
ทพ่ี ระองคไ์ ดท้ อดพระเนตรกจิ การสวนพฤกษชาตขิ องตา่ งประเทศ และไดเ้ ปดิ ใหป้ ระชาชนเขา้ มาเทยี่ วพกั
ผ่อนหย่อนใจ จนเมื่อ พ.ศ. 2481 ทางเทศบาลนครกรุงเทพฯ ที่มีหน้าท่ีดูแลพ้ืนท่ีบริเวณน้ีได้เปิดเป็น
สวนสัตว์ ซ่ึงถือเป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย (สวนสัตว์ดุสิต, (ออนไลน์)) นอกจากนี้แล้วยังมี
สวนลุมพินี2 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ซ่ึงเป็นสวน
สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ในบริบทร่วมสมัยสวนสาธารณะเป็นส่ิงท่ีมีความหมายกับพื้นที่เมือง
2 พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยู่หวั (รชั กาลที่ 6) ทรงเป็นผรู้ เิ รม่ิ สร้างสวนลมุ พินีเป็นสถานท่สี �ำหรบั การพกั ผอ่ น
หย่อนใจ และเพื่อเป็นสถานท่ีสำ� หรับการจดั งานสยามรฐั พพิ ธิ ภัณฑ์แสดงสนิ ค้าและทรพั ยากรธรรมชาติตา่ งๆ ทโี่ ดดเดน่ ของสยาม/
ไทย เพ่อื เปน็ การแสดงถึงศกั ยภาพของประเทศและเพอื่ เปน็ ดึงดดู ความสนใจที่จะเขา้ มาลงทนุ ของชาวตะวนั ตก (ธงชัย วนิ จิ จะกลู ,
(2560), น. 81-82; ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ภาสวร สังขศ์ ร, (2560), น. 29-38)