Page 57 - การจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น
P. 57

การวเิ คราะหท์ รัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น 6-47

              ภาพท่ี 6.4 ตัวอย่างระเบียนเมทาดาทาเชิงพรรณนาตามมาตรฐานดับลินคอร์

ท่ีมา:	ฐานข้อมลู หอ้ งสมุดดจิ ิทัลของสำ� นกั บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช.

            4.1.5	 มาตรฐานสกีมาเพ่ือการบรรยายเมทาดาทาของวัตถุดิจิทัลหรือมอดส์ มาตรฐาน
มอดส์ (Metadata Object Description Schema: MODS) เป็นแบบแผนที่ใช้ในการบรรยายสารสนเทศ
ดิจิทัลให้อยู่ในรูปของข้อมูลที่มีโครงสร้าง มาตรฐานมอดส์พัฒนาโดย The Library of Congress
Network Development and MARC Standards Office และผเู้ ช่ยี วชาญที่สนใจดา้ นนี้ โดยพัฒนาให้
เป็นแบบแผนของชุดหน่วยข้อมูลทางบรรณานุกรม (bibliographic element set) ท่ีใช้ในวัตถุประสงค์
ต่างๆ โดยเฉพาะในการใช้บรรยายสารสนเทศลักษณะ/ประเภทต่างๆ ในงานห้องสมุด โดยในส่วนของ
การเขียนประโยค (syntax) ของมอดส์ใชเ้ อ็กซเ์ อ็มแอลสกมี า (XML schema) เปน็ ตัวกำ� หนดโครงสรา้ ง
ทางไวยากรณ์ในการวางรปู แบบประโยคและก�ำกบั ขอ้ มลู ภายในเอกสารทีน่ ำ� เสนอ โดยมกี ารใช้สัญลักษณ์
มีการจัดกลุ่มและจดั ระดับของข้อมลู มกี ารก�ำกับ และกำ� หนดการใช้กล่มุ ขอ้ มลู ดังตอ่ ไปน้ี

                -	 มอดสใ์ ชส้ ญั ลกั ษณข์ องแทก็ เปน็ ตวั อกั ษร (language-based tags) ซงึ่ สญั ลกั ษณ์
ของแท็กของมอดส์เทียบได้กับเขตข้อมูลในรูปแบบทางบรรณานุกรมของมาร์คย่ีสิบเอ็ด (MARC21
bibliographic format) เชน่ ส่วนชอ่ื เรอ่ื ง ใช้ <titleInfo> ซ่ึงเทียบได้กบั เขตข้อมูล 245 ซ่ึงท�ำใหเ้ ขา้ ใจ
ได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลขแบบแท็กของมาร์ค (MARC tags) ไม่ต้องแปลความหรือพ่ึงพา
การถอดรหสั เหมือนสญั ลักษณท์ ีเ่ ปน็ ตวั เลข
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62