Page 40 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 40

8-30 การวิจัยเบอ้ื งตน้ ทางสารสนเทศศาสตร์

เรื่องที่ 8.2.2
การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองทางสารสนเทศศาสตร์

       การออกแบบการวจิ ยั เชงิ ทดลองทางสารสนเทศศาสตร์ ประกอบดว้ ย การออกแบบประชากรและ
กลุ่มตัวอย่าง การออกแบบเครื่องมือวิจัย การออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูล และการออกแบบ
การวิเคราะหแ์ ละนำ� เสนอขอ้ มูล ดังน้ี

1. การออกแบบประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

       1.1 	การออกแบบประชากร ในการวิจัยเชิงทดลองน้ันผู้วิจัยจะต้องก�ำหนดประชากรท่ีจะศึกษา
ใหช้ ดั เจนวา่ เปน็ ใคร มคี ณุ สมบตั อิ ยา่ งไร เชน่ ตอ้ งการเปรยี บเทยี บประสทิ ธภิ าพของการสอน วธิ กี ารสบื คน้
ฐานขอ้ มลู ออนไลนใ์ หก้ บั ผใู้ ชบ้ รกิ ารหอ้ งสมดุ ของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช ประชากร คอื ผใู้ ชบ้ รกิ าร
ท้ังหมดที่สามารถเข้ารับการสอนได้ อาจจ�ำแนกเป็นผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก
นอกจากนนั้ ยงั อาจแบง่ ยอ่ ยไดอ้ กี หลายกลมุ่ กลมุ่ อาจารย์ กลมุ่ นกั วชิ าการ กลมุ่ ผบู้ รหิ าร กลมุ่ ผปู้ ฏบิ ตั กิ าร
กลุ่มลูกจ้าง กลุ่มนักศึกษา เป็นต้น เม่ือก�ำหนดกลุ่มประชากรท่ีจะศึกษาได้แล้วก็จะก�ำหนดขนาดกลุ่ม
ตัวอยา่ งจากประชากรน้ันๆ ที่เหมาะสมกบั แบบการทดลองท่เี ลือกใช้

       1.2 	การออกแบบกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย การก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และการสุ่ม
ตวั อย่าง ดงั น้ี

            1.2.1 การก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เมอื่ กำ� หนดกลมุ่ ประชากรท่จี ะศกึ ษาได้แล้วกจ็ ะ
กำ� หนดขนาดกลุม่ ตวั อยา่ งจากประชากรนัน้ ๆ ที่เหมาะสมกับรปู แบบตา่ งๆ ของการทดลอง เช่น ตวั อยา่ ง
ส�ำหรับการเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม ใน 3 ลักษณะ (การเปรียบเทียบค่าเฉล่ีย การเปรียบเทียบ
คา่ สดั สว่ น และการเปรยี บเทยี บคา่ สดั สว่ นในลกั ษณะอตั ราเสย่ี งสมั พทั ธ)์ ขนาดตวั อยา่ งสำ� หรบั การเปรยี บเทยี บ
มากกว่า 2 กลมุ่ และขนาดตวั อยา่ งส�ำหรบั การหาค่าความสมั พนั ธ์ เป็นตน้

            การกำ� หนดจำ� นวนกลุม่ ตัวอย่างว่าจะมีกก่ี ลุม่ มากน้อยเพียงใด ผ้วู จิ ยั ต้องทราบว่าจะมีกลุ่ม
ทดลองหรอื กลมุ่ ควบคมุ หรอื จะมเี ฉพาะกลมุ่ ทดลอง ในการวจิ ยั เชงิ ทดลองขน้ั ตน้ อาจจะมเี พยี งกลมุ่ ทดลอง
เทา่ นน้ั แตจ่ ะมจี ำ� นวนเทา่ ใดในแตล่ ะกลมุ่ กต็ อ้ งมาพจิ ารณาวา่ ตวั แปรทต่ี อ้ งการศกึ ษามลี กั ษณะทซี่ บั ซอ้ น
หรือไมเ่ พยี งใด สมมติฐานท่ีตั้งไว้ต้องการพิสูจน์อะไร และมตี วั แปรทต่ี ้องการศึกษาเปรยี บเทยี บ เช่น จะ
เปรยี บเทียบระหวา่ ง เพศ อายุ และรายไดข้ องกลมุ่ ตัวอยา่ งท่ีไดร้ บั การจัดกระทำ� เช่นเดยี วกัน จะมผี ลใน
การเปลยี่ นแปลงทแี่ ตกตา่ งกนั แคไ่ หน จ�ำเปน็ ตอ้ งมตี วั แทนของกลมุ่ ตวั อยา่ งในแตล่ ะกลมุ่ ใหเ้ พยี งพอทจี่ ะ
สรุปได้ว่าผลท่ีศึกษามีความเท่ียง โดยปกติขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการทดลองจะไม่มาก แต่จะเน้นที่
อ�ำนาจในการทดสอบของจำ� นวนหน่วยตวั อยา่ งทีค่ �ำนวนไดว้ า่ เพยี งพอหรอื ไม่

            1.2.2 การสุ่มตัวอย่าง การก�ำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง ต้องใช้การสุ่มโดยค�ำนึงถึงโอกาสใน
การถกู เลอื กของหนว่ ยประชากร (probability sampling) ซึ่งมคี วามสำ� คญั ต่อการออกแบบการวจิ ยั เชิง
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45