Page 109 - ท้าวมหาชมพู
P. 109
ท้าวมหาชมพู 71
ในกามคณุ นนั้ จงเหนอื่ ยจงหนา่ ยจงเกลยี ดจงอายแกก่ ามคณุ อยา่
ได้ติดข้องอยู่ด้วยกามคุณเลย จงสละเสียซึ่งเอื้อเฟื้ออาไลยใน
กามคุณอันมีโทษมาก เห็นปานดังพรรณนามาฉนี้
“มหาราชาธิราช” ข้าแต่พระเจ้าราชาธิราชผู้ประเสริฐ
“กึ กมฺมํกํ รมณียํ” พระพุทธเจ้าข้า สิ่งดังฤาที่สมควรข้าพเจ้า
จะพึงรักใคร่ สิ่งดังฤาที่สมควรข้าพเจ้าจะพึงปราถนา สิ่งดังฤาที่
สมควรข้าพเจ้าจะพึงชื่นชมยินดี จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
ดูกรบพิตรพระราชสมภาร “นิพฺพานํ เปมํ นิพฺพานํ รมณียํ”
พระอมตะมหานฤพานนี้แล สมควรที่พระองค์จะพึงรักพึงยินดี
สมควรที่พระองค์จะพึงปราถนา พระอมตะมหานฤพานนี้
เปนที่รงับกิเลศ เปนที่รงับทุกข์รงับความโศกโสกาไลย รงับ
อุปทวะแลไภยอันตรายทั้งปวง พระนฤพานนี้เปนศุขอันประเสริฐ
มีพระพุทธฎีกาตรัสฉนี้แล้วก็โปรดประทานพระธรรมเทศนาสืบ
ต่อไปว่า
“สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสสฺ ปสฺสโต
อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม
สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม
อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํเว ปรมํ สุขํ”
อธบิ ายวา่ ศขุ วเิ วกกลา่ วคอื พระนฤพานอนั สงดั จากกเิ ลศ
นั้น “สุโข” เปนศุขอันล้ำเลิศ ย่อมบังเกิดแก่บุทคลอันพิจารณา
เห็นพระสัทธรรมยินดีในพระสัทธรรมนั้น “อพฺยาปชฺฌํ” ประการ