Page 111 - สังคมโลก
P. 111
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-5
เรื่องท่ี 7.1.1
ความหมายและแนวคดิ เกีย่ วกับสงคราม
1. ความหมายของสงคราม
“สงคราม” มีความหมายกว้างขวางมาก นอกจากจะหมายถึงการต่อสู้กันด้วยกำ�ลังคนและอาวุธซึ่งเป็นเรื่อง
ทางการทหารและความมั่นคงแล้ว ยังมีผู้ใช้คำ�ว่า “สงคราม” ในเรื่องของการต่อสู้แข่งขันกันในด้านอื่นๆ อีกมาก อาทิ
สงครามเศรษฐกิจ สงครามสื่อ (สารมวลชน) สงครามชีวิต เป็นต้น แต่ในที่นี้จะจำ�กัดความคำ�ว่า “สงคราม” เฉพาะใน
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การทหาร และความมั่นคงของชาติ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของสงครามไว้สั้นๆ ว่า “การรบใหญท่ ม่ี คี น
จำ�นวนมากต่อสูฆ้ า่ ฟนั กนั โดยปริยายหมายถึง อาการทีค่ ลา้ ยคลงึ กันเชน่ น้นั เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก”1 และยัง
ยกตวั อยา่ งประเภทของสงครามอกี 4 อยา่ ง ไดแ้ ก่ สงครามกลางเมอื ง สงครามนวิ เคลยี ร์ สงครามเยน็ และสงครามโลก
ส่วน Wikipedia, the free encyclopedia ได้อธิบายว่า “สงครามเป็นแบบแผนพฤตกิ รรมท่แี สดงออกโดย
สัตว์สายพันธุไ์ พรเมท (primate species) คอื สัตว์ท่ีเลย้ี งลูกด้วยนม มีรก มีฟันที่สมบรู ณ์ และสามารถใช้มือในการจบั
ฉวยสง่ิ ตา่ งๆ ได้ ซึง่ รวมถงึ มนษุ ยแ์ ละลิงตระกลู ตา่ งๆ โดยเป็นการแสดงพฤติกรรมความขดั แย้งทร่ี ุนแรงระหวา่ งสตั ว์
2 กลมุ่ สงั คมขนึ้ ไป ความขดั แยง้ ดงั กลา่ วนเี้ กดิ จากความตอ้ งการเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ งความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งกลมุ่ โดย
กลมุ่ หนงึ่ ตอ้ งการมอี �ำ นาจเหนอื อกี กลมุ่ หนง่ึ หรอื กลมุ่ หนง่ึ ตอ้ งการมอี �ำ นาจทดั เทยี มอกี กลมุ่ หนง่ึ ” 2 แต่ในที่นี้สงคราม
จะจำ�กัดเฉพาะในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างมนุษย์เท่านั้น
ควินซี ไรท์ (Quincy Wright)3 นักรัฐศาสตร์อเมริกัน (ค.ศ. 1890-1970) ได้อธิบายว่า สงครามในความ
หมายทั่วไปคือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง โดยเฉพาะระหว่างรัฐอธิปไตย ซึ่งกระทำ�โดยการใช้กองกำ�ลังขนาด
ใหญ่ เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน สภาวะสงครามอาจประกอบด้วยกระบวนการอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้กำ�ลังอาวุธเข้า
ประหัตประหารกัน เช่น มาตรการกดดันทางการทูตซึ่งได้แก่ การเรียกเอกอัครราชทูตที่ประจำ�อยู่ในรัฐคู่ขัดแย้งกลับ
ประเทศ การลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตลงให้เหลือเพียงเจ้าหน้าที่ประจ�ำ สถานเอกอัครราชทูต การปิดสถาน
ทูต และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต การโฆษณาชวนเชื่อให้ร้ายหรือโจมตีรัฐคู่ขัดแย้ง การบ่อนทำ�ลายทางการ
เมืองโดยการก่อวินาศกรรม การส่งสายลับไปทำ�จารกรรม การบีบบังคับและบ่อนท�ำ ลายทางเศรษฐกิจ เช่น การใช้กอง
กำ�ลังปิดล้อมชายฝั่งศัตรู (Blockade) การจัดทำ�รายชื่อผู้ต้องห้ามที่ถูกพิจารณาว่าเป็นฝ่ายศัตรูไม่ให้ทำ�การค้าขาย
(Blacklist) การกว้านซื้อสินค้าจากชาติเป็นกลางเพื่อมิให้ตกไปอยู่ในมืองของฝ่ายศัตรู (Pre-emptive buying)
การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน (Enemy Assets) การทำ�ข้อตกลงกับรัฐที่สาม
เพื่อกีดกันทางการค้าแก่รัฐศัตรู (Trade Policy) การจำ�กัดโควต้าสินค้า (Quota) การตั้งกำ�แพงภาษี (Tariff) และ
การงดออกใบอนญุ าตทางการคา้ (License) เปน็ ตน้ ตลอดจนการบอ่ นทำ�ลายทางสงั คมและวฒั นธรรม เชน่ การปลอ่ ย
ข่าวลือเรื่องโรคระบาดในรัฐศัตรู เป็นต้น
1 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำ�กัด 2546 หน้า 1112
2 “War”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/War, (11/6/2553)
3 Quincy Wright, “War”, International Encyclopedia of the Social Science, Vol.16, The Macmillan Company & The
Free Press, 1968, pp. 453-467.
ลิขสิทธขิ์ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช