Page 113 - สังคมโลก
P. 113

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-7

ข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวหาว่าจีนคอมมิวนิสต์มีแผนการรุกรานประเทศไทย ออกคำ�สั่งคณะปฏิวัติฉบับที่
53 หา้ มทำ�การค้าขายกบั สาธารณรฐั ประชาชนจนี และถ้าคนไทยหรอื คนจนี ในประเทศไทยคนใดเดินทางไปสาธารณรฐั
ประชาชนจนี แลว้ กลบั มาประเทศไทยจะถกู จบั กมุ ทนั ที เปน็ ตน้ สว่ นทางฝา่ ยพรรคคอมมวิ นสิ ตจ์ นี กป็ ระกาศสนบั สนนุ
พรรคคอมมิวนิสต์ไทยให้ทำ�การปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลไทยเช่นกัน

2. 	 แนวคดิ เกีย่ วกบั สงคราม

       มีนักคิด นักปรัชญา และนักการทหารหลายท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสงครามและตำ�ราพิชัยยุทธ โดย
กล่าวถึงความหมาย องคป์ ระกอบ และกระบวนการของสงครามไวใ้ นแงม่ มุ ตา่ งๆ ในที่นีจ้ ะขอยกตัวอยา่ งนักคิดส�ำ คญั
บางท่าน ดังนี้

       2.1 ซนุ หวู่ (孫武) แม่ทัพและนักการทหารของแคว้นหวู ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปีที่ 544-492 ก่อนคริสตกาล ได้
เขียนหนังสือชื่อ “กฎเกณฑ์การทหารของซุนจื่อ” หรือ ซุนจื่อปิงฝ่า (孫子兵法)6 ในยุคชุนชิว (ยุคฤดูใบไม้ผลิ-ฤดู
ใบไม้ร่วง) ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ และบ้านเมืองวุ่นวาย ในหนังสือที่ทำ�ด้วยท่อนไม้ไผ่มัดต่อกัน
ม้วนนี้ ประกอบไปด้วยตำ�ราพิชัยยุทธ 13 บท ได้แก่

            บทที่ 1 	 ว่าดว้ ย การวางแผนการรบ โดยต้องประเมนิ ทิศทาง ฤดกู าล ภูมปิ ระเทศ ผูน้ ำ� และการจัดการ
กองทัพ

            บทที่ 2 	 ว่าด้วย การหลีกเลี่ยงสงคราม เพื่อสงวนทรัพยากรและเอาชนะโดยไม่ต้องทำ�สงคราม
            บทท่ี 3 	 ว่าด้วย ยุทธศาสตร์การจู่โจม โดยให้ความสำ�คัญแก่ความแข็งแกร่งของกองทัพ ไม่ใช่ขนาด
ของกองทัพ ซึ่งต้องประกอบกับแผนยุทธศาสตร์และพันธมิตรด้วย
            บทที่ 4 	 ว่าด้วย การจัดและการวางตำ�แหน่งที่ตั้งกองทัพ ซึ่งต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของ
สถานการณ์และสภาพแวดล้อม
            บทที่ 5 	 ว่าด้วย กำ�ลังพลและศักยภาพของกองทัพ ซึ่งเป็นวิธีการสร้างกองทัพที่ดี
            บทที่ 6 	 วา่ ดว้ ย จดุ ออ่ นและจดุ แขง็ ในการรบ การฉวยโอกาสทีเ่ ปน็ ประโยชนต์ อ่ ฝา่ ยของตน และคน้ หา
จุดอ่อนของฝ่ายศัตรู
            บทท่ี 7 	 ว่าด้วย การปฏิบัติการทางการทหาร ซึ่งกล่าวถึงการวางแผนเผชิญหน้าโดยตรงกับข้าศึกและ
วิธีการเอาชนะในการรบ
            บทที่ 8 	 วา่ ดว้ ย ยุทธวิธี 9 แบบ ซึ่งเป็นความยดื หยุน่ ในการรบและความสามารถในการเปลีย่ นยุทธวิธี
การรบได้ตามสถานการณ์
            บทท่ี 9 	 ว่าด้วย การเคลื่อนทัพ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
            บทท่ี 10	ว่าด้วย ชัยภูมิ ซึ่งเป็นการเลือกพื้นที่การจัดตั้งค่ายและกองทหาร และการเลือกสมรภูมิที่
เหมาะสมในการรบกับข้าศึก
            บทท่ี 11	ว่าด้วย ยุทธภูมิ 9 แบบ อาทิ ที่โล่ง ที่อับ ที่ลุ่ม ที่ดอน เป็นต้น
            บทที่ 12	ว่าด้วย การโจมตีด้วยไฟ ซึ่งกล่าวถึงการใช้อาวุธที่ใช้ไฟ อาทิ ธนูไฟ เครื่องดีดลูกไฟ
สภาพการณ์รบและยุทธภูมิที่เหมาะแก่การใช้อาวุธไฟ
            บทที่ 13 ว่าด้วย การใช้สายลับและจารชนเพื่อการสืบข่าวของข้าศึกอย่างมีประสิทธิภาพ

	 6 หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสครั้งแรกใน ค.ศ. 1772 โดย ช็อง โชแซฟ มารี อามิโอต์ (Jean Joseph Marie Amiot) โดยใช้
ชื่อว่า L’Art militaire des Chinois (ศิลปะการทหารของชาวจีน) ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Art of War โปรดดู “The Art
of War”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/ The_Art_of_War, (6/7/2553)

                              ลิขสทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118