Page 114 - สังคมโลก
P. 114
7-8 สังคมโลก
กฎเกณฑ์การทหารของซุนหวู่นี้ต่อมาได้ถูกศึกษาและนำ�มาใช้โดยผู้นำ�และนักการทหารในสมัยหลังหลายคน
อาทิ อัครมหาเสนาบดีโจโฉ (เฉาเชา) ในยุค 3 ก๊ก เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2 เหมาเจ๋อตงในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ
รบกับฝ่ายญี่ปุ่น และสงครามกลางเมืองกับฝ่ายชาตินิยมจีน (กว๋อหมินตั่ง) นายพลโวเงวียนซับแห่งกองทัพประชาชน
เวียดนามเหนือ ในสงครามกอบกู้เอกราชช่วงทศวรรษที่ 1940-1970 รวมถึงจักรพรรดินโปเลียนก็ถูกกล่าวอ้างว่าได้
ศึกษาและนำ�ยุทธศาสตร์การสงครามของซุนหวู่มาใช้ในสงครามนโปเลียนช่วง ค.ศ. 1799-1815 ด้วย7
2.2 เซก็ สต์ สุ ยลู อิ สุ ฟรอนตนิ สุ (Sextus Julius Frontinus) ขนุ นางโรมนั ที่มีชวี ติ อยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ได้
เขียนหนังสือชื่อ Strategemata หรือ “ยุทธศาสตร์การทหาร” ซึ่งเป็นการรวบรวมตัวอย่างยุทธศาสตร์การทหารของ
กรีกและโรมันที่มีมาในประวัติศาสตร์ โดยกล่าวถึงผู้นำ�และแม่ทัพคนสำ�คัญที่ได้เลือกใช้ยุทธศาสตร์อันเหมาะสมใน
การรบ อาทิ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนียในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งมีกองทัพใหญ่ที่เกรียงไกรเลือก
ที่จะทำ�การรบในที่กว้าง จูเลียส ซีซาร์ แม่ทัพโรมันในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล มีกองทหารซึ่งเป็นพวกที่เคยผ่าน
ศึกมาอย่างโชกโชน เลือกทำ�สงครามกับศัตรูที่มีแต่ทหารเกณฑ์ใหม่ๆ ในสมรภูมิเปิดโล่ง ฟาบิอุส มักซิมุสในศตวรรษ
ที่ 2 ก่อนคริสตกาล เลือกที่จะตั้งรับกองทัพของกษัตริย์ฮันนิบาลแห่งแอฟริกาเหนือในดินแดนอิตาลี แทนที่จะเสี่ยง
ยกทัพออกมาปะทะกับศัตรูในดินแดนสเปนหรือในทวีปแอฟริกา ชาวเมืองไบแซนไทน์ยุคกรีกโบราณในศตวรรษที่ 3
ก่อนคริสตกาล เลือกทีจ่ ะตั้งรบั การบกุ ของพระเจ้าฟิลปิ แห่งมาเซโดเนียภายในกำ�แพงเมอื ง โดยไม่ยอมสง่ กองทัพออก
มารบหน้าเมือง ทำ�ให้สามารถรอดพ้นจากการถูกยึดเมืองและพระเจ้าฟิลิปต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด เป็นต้น8
หนังสือยุทธศาสตร์การทหารของฟรอนตินุสประกอบด้วยหนังสือ 4 เล่ม
เลม่ ท่ี 1 กล่าวถึง การวางแผนรบ การค้นหาแผนการของศัตรู ยุทธวิธีการรุก การถอยทัพ การซุ่มโจมตี
การแก้ปัญหาทหารก่อการกบฏ และการปลุกใจทหารให้ฮึกเหิม
เลม่ ท่ี 2 กลา่ วถงึ การก�ำ หนดเวลาและสถานทีใ่ หเ้ หมาะสมในการรบ การจดั กองทพั การกอ่ กวนกองทพั
ศัตรู การทำ�ให้ศัตรูเสียขวัญ การตีโต้ข้าศึก การป้องกันค่าย และการถอยทัพ
เล่มที่ 3 กล่าวถึง การโจมตีโดยไม่รู้ตัว การใช้กลอุบายโจมตีเมือง การทรยศหักหลัง การล่อลวงกอง
ทหารของศัตรู การปิดกั้นสายนํ้าที่ศัตรูใช้ การใส่ยาพิษลงในแหล่งนํ้า การเสริมกำ�ลังรบ การส่งบำ�รุงเสบียงอาหาร
และการแก้ปัญหาทหารหนีทัพ
เลม่ ท่ี 4 กล่าวถึง ระเบียบวินัยของกองทัพ ความอดกลั้น ความยุติธรรม ความมั่นคงหนักแน่น การมี
เจตจำ�นงที่ดี การเลือกทางสายกลางไม่สุดโด่งในการรบ กฎเกณฑ์และวิธีการเบ็ดเตล็ดต่างๆ ของกองทัพ9
นักการทหารในสมัยต่อมาได้ศึกษาและนำ�เอายุทธศาสตร์การทหารของฟรอนตินุสไปใช้ในการทำ�สงคราม
หลายคน แม้แต่หนังสือของนิกโกโล มาเคียเวลลี เรื่อง “ว่าด้วยศิลปะแห่งสงคราม” (Dell’arte della guerra) ก็ได้
รับอิทธิพลจากงานเขียนของฟรอนตินุสเช่นกัน10
2.3 นกิ โกโล มาเคยี เวลลี (Niccolò Machiavelli) นักการทูตและนักปรัชญาการเมืองชาวฟลอเรนซ์ อิตาลี ซึ่ง
มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1469-1527 ได้เขียนหนังสือชื่อ “ว่าด้วยศิลปะแห่งสงคราม” ใน ค.ศ. 1519-1520 โดยอุทิศผล
งานแด่โลเรนโซ ดิ ฟิลิปโป สโตรสซี (Lorenzo di Filippo Strozzi) รัฐบุรุษแห่งเมืองฟลอเรนส์ โดยเขียนในลักษณะ
บทสนทนาระหว่างพวกขุนนางและนักการทหารของฟลอเรนส์ที่แสดงความเห็นถกเถียงกันเกี่ยวกับสถานการณ์ทาง
7 “Sun Tzu”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Sun_Tzu, (6/7/2553)
8 Sextus Julius Frontinus, Strategemata, translated by Charles E. Bennet, Cambridge: Loeb Classical Library, 1925,
Http://penelope.uchicago.edu/Thayer/E/Roman/Texts/Frontinus/Strategemata/home.html
9 ibid.
10 รุ่งพงษ์ ชัยนาม “มาเกียเวลลี : นักชาตินิยม นักสาธารณรัฐนิยม และนักการทหาร” 21 ปีรัฐศาสตร์ มสธ. รวมบทความวิชาการ
รัฐศาสตร์ เล่ม 12 กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนพิมพ์อักษร 2546 หน้า 90
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช