Page 112 - สังคมโลก
P. 112
7-6 สังคมโลก
ควินซี ไรท์ ถือว่าการต่อสู้กันด้วยกำ�ลังที่จำ�กัดและใช้ระยะเวลาสั้นๆ ไม่นับว่าเป็นสงคราม (war) แต่เป็น
เพียงการสู้รบ (battle) การปราบปรามฝูงชนที่ก่อความไม่สงบหรือพวกก่อกบฏ และการใช้กองกำ�ลังเพื่อยึดครอง
อาณานิคมก็ไม่เรียกว่าสงครามเช่นกัน4 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสงครามต้องมีองค์ประกอบสำ�คัญ 2 ประการ คือ
1. มคี วามขดั แยง้ ระหวา่ งกนั (conflict) ซึง่ อาจเปน็ ความขดั แยง้ ของกลุม่ ชน 2 กลุม่ ขึน้ ไป หรอื ความขดั แยง้
ระหว่างเมือง ไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐ ความขัดแย้งอาจมีสาเหตุมาจากความบาดหมางกันในเรื่องดินแดน
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อุดมการณ์ความเชื่อที่แตกต่างกัน หรือการกดขี่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบกัน แต่ความขัด
แย้งอาจไม่มีสาเหตุเบื้องต้นใดๆ มาก่อนเลยก็ได้ เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมก้าวร้าวต้องการขยายอำ�นาจอิทธิพล
เข้าครอบงำ�อีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพียงเกียรติศักดิ์ ความมีชื่อเสียง ความยิ่งใหญ่ สร้างความเกรงขามให้อีก
ฝ่ายหนึ่ง หรือเพื่อให้สังคมอื่นๆ ยอมรับนับถือ เช่น กรณีของการรุกรานยุโรปของชนเผ่าฮั่นที่นำ�โดยกษัตริย์อัตติลา
(Attila) ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 เป็นต้น
2. ต้องมีการต่อสู้กันด้วยกำ�ลังคนขนาดใหญ่ การใช้ความรุนแรงระหว่างคน 2 คน หรือคนจำ�นวนน้อย
เรียกว่าเป็นการต่อสู้ (fighting) เมื่อการต่อสู้ขยายวงกว้างขึ้นมีจำ�นวนคนมากขึ้น คนที่ทำ�การต่อสู้มีการจัดองค์การ
เป็นระเบียบแบบแผน มีสายงานสั่งการบังคับบัญชา เป็นกองกำ�ลังทหาร หรือกองกำ�ลังพลเรือนติดอาวุธ จะเรียก
ว่าเป็นการสู้รบ (battle) การสู้รบหรือการรบที่เกิดขึ้นทั่วไปหลายแห่งในช่วงเวลาเดียวกัน กินพื้นที่อาณาบริเวณ
กวา้ งขวาง ใชก้ �ำ ลงั คนและอาวธุ ยทุ โธปกรณเ์ ตม็ รปู แบบ ด�ำ เนนิ การโดยผทู้ ถี่ อื ครองอ�ำ นาจของกลมุ่ หรอื เปน็ องคอ์ ธปิ ตั ย ์
ของรัฐ เราเรียกว่า สงคราม (war)
นอกจากองค์ประกอบหลัก 2 ประการนี้แล้ว โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองชาว
อังกฤษ (ค.ศ. 1588-1679) ยังขยายความเพิ่มเติมอีกว่า “สงครามไม่ใชเ่ ป็นเพียงการส้รู บทีเ่ กิดขนึ้ ในขณะนั้นเท่าน้ัน
แตส่ ถานการณข์ องสงครามเรม่ิ มมี ากอ่ นหนา้ นช้ี ว่ งระยะเวลาหนงึ่ แลว้ คอื ตงั้ แตเ่ มอ่ื มเี จตจำ�นง (Will) ทจี่ ะทำ�การตอ่ สู้
กนั ” 5 นั่นคือการวางนโยบายและการเตรียมการเข้าสู่สงครามก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามแล้ว
สิง่ ทีน่ า่ พจิ ารณากค็ อื สถานะสงครามอาจมอี ยูโ่ ดยทีไ่ มม่ คี วามเปน็ ปฏปิ กั ษต์ อ่ กนั อยา่ งเชน่ กรณไี ทยประกาศ
สงครามกับเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยไทยส่งทหารไปช่วยรบในฝรั่งเศส แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่คิดว่า
เยอรมนีเป็นศัตรูเพราะเยอรมนีไม่เคยคุกคามที่จะเอาไทยเป็นอาณานิคมเหมือนกับที่ฝรั่งเศสและอังกฤษกระท�ำ ต่อ
ไทย อีกทั้งยังนิยมชมชอบเยอรมนีในความสามารถด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม การประกาศสงครามของไทย
ต่อเยอรมนีจึงมีลักษณะเป็นทางการและเป็นเรื่องของรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง มากกว่าความรู้สึกต่อต้าน
เยอรมันโดยประชาชนไทยทั่วไป
อีกกรณีหนึ่งคือ การที่ไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้จะมีสถานะสงคราม
ระหวา่ งกนั แตส่ หรฐั อเมรกิ ากเ็ ขา้ ใจดวี า่ ไทยถกู บบี บงั คบั จากญีป่ ุน่ ใหต้ อ้ งกระทำ�เชน่ นัน้ ความคดิ ทีจ่ ะเปน็ ศตั รรู ะหวา่ ง
กันจึงไม่เกิดขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ชื่นชมสหรัฐอเมริกาที่ได้ช่วยเหลือไทยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยช่วย
ดำ�เนินการแก้ไขสนธิสัญญาที่ถูกมหาอำ�นาจต่างๆ เอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจและการศาลได้สำ�เร็จ เมื่อสงคราม
ยุติสหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยแถลงการณ์ว่าการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะ เป็นต้น
ในทางกลับกันความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอาจมีอยู่โดยที่ไม่มีสภาวะสงครามเกิดขึ้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น ความ
สัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในยุคสงครามเย็น แม้จะไม่ได้มีการประกาศสงครามต่อกัน แต่ไทย
กไ็ ดแ้ สดงความเปน็ ปฏปิ กั ษต์ อ่ จนี อยา่ งเปดิ เผย คอื ไมร่ บั รองรฐั บาลปกั กิง่ และรบั รองรฐั บาลจนี ไตห้ วนั ซึง่ เปน็ ฝา่ ยตรง
4 Ibid., p. 453.
5 Thomas Hobbes. The Leviathan, Chapter 13, 1660, http://oregonstate.edu/instruct/ph1302/texts/hobbes/
leviathan-c.html#CHAPTERX111.
ลิขสิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช