Page 116 - สังคมโลก
P. 116
7-10 สังคมโลก
ของตนเองใน ค.ศ. 1509 เป็นต้น ส่วนความคิดทางเมืองของเขานั้น ในช่วงชีวิตของเขาไม่มีผู้มีอำ�นาจคนใดยอมรับ
เลย กว่าที่แนวคิดทางการเมืองในหนังสือเรื่อง “เจ้า” (Il principe) และเรื่องอื่นๆ ของมาเคียเวลลีจะเป็นที่กล่าวขวัญ
ถึงก็หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้วหลายปี
2.4 ฮวิ โก โกรติอุส (Hugo Grotius)13 นักปรัชญาและนักกฎหมายระหว่างประเทศชาวเนเธอร์แลนด์ มีชีวิต
อยู่ในชว่ ง ค.ศ. 1583-1645 ไดเ้ ขยี นหนังสอื เปน็ ภาษาละตนิ ชือ่ De jure belli ac pacis (ว่าดว้ ยกฎหมายภาคสงคราม
และภาคสันติ) โดยแบ่งเป็น 3 เล่มและพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1625
เล่มที่ 1 มี 3 บท กล่าวถึง คำ�จำ�กัดความของสงคราม ความยุติธรรมตามธรรมชาติ (jus naturae)
และกรณีที่ยอมรับให้มีการทำ�สงครามได้
เล่มท่ี 2 มี 25 บท กล่าวถึง สาเหตุที่ถูกต้องของสงคราม ซึ่งได้แก่ การป้องกันตนเอง ทั้งชีวิตและ
ทรัพย์สิน สิทธิในการครอบครองและเป็นเจ้าของดินแดนว่างเปล่า ขอบเขตอำ�นาจศาลในการพิจารณาคดีข้อขัดแย้ง
ระหว่างประเทศ คำ�สัญญา คำ�สาบาน สนธิสัญญา และข้อผูกมัดต่างๆ ที่กระทำ�โดยผู้แทนของรัฐ การตีความสนธิ
สญั ญา สทิ ธขิ องสถานทตู ความเสยี หายจากสงครามและการชดใชค้ า่ ปฏกิ รรมสงคราม การลงโทษผูก้ ระท�ำ ผดิ กฎหมาย
ระหว่างประเทศ สาเหตุที่ไม่ถูกต้องของสงคราม การหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงคราม และสาเหตุที่ต้องเข้าไป
พัวพันกับสงครามของผู้อื่น
เล่มท่ี 3 มี 25 บท กล่าวถึง ปัญหาการนำ�กฎหมายไปใช้เมื่อเกิดสภาวะสงครามว่าจะใช้กฎหมายอะไร
กบั บคุ คลและทรพั ยส์ นิ ทีไ่ ดร้ บั ความเสยี หาย หนีส้ นิ ทีเ่ กดิ จากสงครามและการยดึ ทรพั ย์ สงครามทีม่ กี ารประกาศอยา่ ง
ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิในการสังหารศัตรูและการดำ�เนินการที่เป็นปฏิปักษ์ในรูปแบบต่างๆ สิทธิ
ที่จะกวาดล้างประเทศของศัตรู การได้มาซึ่งดินแดนและทรัพย์สินของศัตรูจากชัยชนะในสงคราม สิทธิเหนือนักโทษ
สงคราม สิทธิที่จะส่งคืนบุคคลและทรัพย์สินที่ยึด ได้แก่ รัฐศัตรู การควบคุม การปล้นชิง การยึดทรัพย์ และการ
ครอบครองดินแดนศัตรูไม่ให้เกินกว่าเหตุ การเคารพผู้เป็นกลางในสงคราม ความสุจริตใจระหว่างคู่สงครามในการ
ทำ�สนธิสัญญาสันติภาพ การดำ�เนินการของอนุญาโตตุลาการ การส่งคืนตัวประกันและทรัพย์สินประกัน การพักรบ
การให้สิทธิผ่านแดน การส่งคืนเชลยศึก การดำ�เนินสงครามต่อไป และความสุจริตใจต่อฝ่ายเป็นกลางที่ติดต่อค้าขาย
กับศัตร1ู 4
โกรติอุสได้กล่าวถึงความหมายของสงครามโดยอ้างถึงซิเซโร (Cicero) นักปราชญ์ชาวโรมัน ว่า “ซิเซโร ได้
นิยามคำ�ว่าสงครามว่า ‘เป็นการต่อสู้กันด้วยก�ำ ลัง’ ซึ่งคำ�นิยามนี้มีความหมายกว้างรวมไปถึงสงครามทุกลักษณะ การ
ต่อสู้ของปัจเจกชนก็ไม่ถูกตัดออกไปจากค�ำ นิยามนี้ เพราะที่จริงแล้วมันเก่าแก่กว่าสงครามของมหาชนเสียอีกและก็มี
ธรรมชาติเหมอื นๆ กนั ค�ำ วา่ ‘สงคราม’ ซึ่งภาษาลาตินใช้ค�ำ ว่า Bellum นั้น มาจากคำ�โบราณวา่ Duellum ที่มีรากศัพท์
มาจาก Duo ซึ่งแปลว่า ‘สอง’ อันแสดงถึงความแตกต่างระหว่าง 2 บุคคล ในทางตรงกันข้าม คำ�ว่า ‘เอกภาพ’ ภาษา
ลาตินใช้ว่า Unitas ซึ่งมาจากรากศัพท์ Unus ที่แปลว่า ‘หนึ่ง’ ความเป็นหนึ่งเดียวนี้แสดงถึงสภาวะของ ‘สันติภาพ’
ด้วย อย่างไรก็ตาม สงครามมักจะใช้สำ�หรับเรียกความขัดแย้งระหว่างรัฐเป็นหลัก”15
2.5 คาร์ล ฟอน คลาวเซวิทซ์ (Carl von Clausewitz) นักการทหารปรัสเซียซึ่งมีประสบการณ์ในการทำ�
สงครามนโปเลียน มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1780-1831 ได้เขียนหนังสือชื่อ “ว่าด้วยสงคราม” (Vom Kriege) โดย
บรู ณาการสาเหตทุ างการเมือง เศรษฐกจิ และสงั คม ท่เี ปน็ ปจั จยั ส�ำ คญั ของการเกิดสงคราม คราวเซวิทซม์ คี วามเห็นวา่
13 ชื่อภาษาเนเธอร์แลนด์ คือ Huig de Groot (ฮุยก์ เดอ ครอท)
14 Hugo Grotius, On the Law of War and Peace, translated from the origin Latin De Jure Belli ac Pacis by A.C.
Campbell, Kitchener: Batoche Books, 2001.
15 ibid., Chapter I: On War and Right.
ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช