Page 120 - สังคมโลก
P. 120
7-14 สังคมโลก
เรอ่ื งที่ 7.1.2
สาเหตุของสงครามและการเกิดสงคราม
สงครามเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งโดยความตั้งใจก่อสงครามของผู้มีอำ�นาจ ทั้งโดยวิวัฒนาการของสภาพ
แวดล้อมต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ทำ�สงคราม และโดยอุบัติเหตุหรือสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดสงครามโดยไม่คาดคิดมา
ก่อน อย่างไรก็ตาม ตามคำ�นิยามของคาร์ล ฟอน คลาวเซวิทซ์ สงครามก็คือวิธีการในการดำ�เนินนโยบายของรัฐเพื่อ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำ�หนดไว้22 และในทางปฏิบัติออตโต ฟอน บิสมาร์ก (Otto von Bismarck) อัครมหา-
เสนาบดีของรัฐปรัสเซีย ก็ได้ประกาศนโยบาย “เลือดกับเหล็ก” (Blut und Eisen) ใน ค.ศ. 1862 เพื่อใช้การทหาร
นำ�การเมืองในการดำ�เนินนโยบายรวมชาติเยอรมันและในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ นั่นคือการใช้สงครามเป็นวิธี
ดำ�เนินการให้ได้มาซึ่งเป้าหมายของรัฐปรัสเซียนั่นเอง สำ�หรับสาเหตุของสงครามนั้น พอจะแบ่งออกได้ดังนี้
1. สาเหตุด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์
เฟรเดริค ฮาร์ตมัน (Frederick Hartmann) ได้กล่าวถึงสาเหตุของสงครามไว้อย่างง่ายๆ ว่า “สงครามเกิด
ขึ้นเพราะรัฐอธิปไตยรัฐหนึ่งต้องการโจมตีรัฐอื่น”23 ซึ่งถ้าขยายความไปถึงสงครามสมัยโบราณแล้ว ก็น่าจะรวมถึงการ
ที่ชนชาติหนึ่งต้องการรุกรานชนชาติอื่นๆ หรือการที่แคว้นหนึ่งต้องการผนวกแคว้นอื่นเอาไว้ในอำ�นาจด้วย และความ
ต้องการของรัฐนั้น ที่จริงก็คือความต้องการของผู้ปกครองรัฐหรือผู้ถืออำ�นาจรัฐนั่นเอง ซึ่งอาจเป็นองค์อธิปัตย์ หรือ
รัฐบาล หรือกองทัพก็ได้
ส่วน เคนเนท วอลซ์ (Kenneth N. Waltz) ได้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์มากกว่าการดำ�เนินนโยบายของ
รัฐ โดยกล่าวว่า “สาเหตุหลกั ของสงครามเกิดจากความเหน็ แก่ตวั ความกา้ วร้าวท่ใี ช้ในทางท่ผี ิด และความโงเ่ ขลาของ
มนุษย์ ส่วนสาเหตุอ่ืนๆ ไม่ว่าความจ�ำ เป็นทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางสังคมหรือวัฒนธรม ถือเป็นเร่ืองรอง..........
กลอุบายหลอกลวงและความฉลาดแกมโกงเปน็ ปัจจยั ท่ที �ำ ให้เกดิ สงคราม” 24
ความคิดของวอลซ์สอดคล้องกับสิ่งที่โทมัส ฮอบส์ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Leviathan ที่ว่ามนุษย์โดย
ธรรมชาติเป็นคนก้าวร้าว “มนษุ ยผ์ อู้ นื่ กค็ อื คแู่ ขง่ ซงึ่ กระหายอ�ำ นาจในทกุ รปู แบบเชน่ เดยี วกบั เขา.......คนทอ่ี อ่ นแอทส่ี ดุ
กย็ งั มพี ลงั พอทจี่ ะฆา่ คนทแ่ี ขง็ แรงทส่ี ดุ ซงึ่ อาจกระทำ�ไดโ้ ดยใชก้ ลอบุ ายหรอื โดยการเขา้ รว่ มเปน็ สมคั รพรรคพวกกบั คน
อนื่ ๆ........และผลกั ดนั ใหแ้ ตล่ ะคนพยายามทจ่ี ะท�ำ ลายหรอื ครอบง�ำ ผอู้ น่ื ผลของการชงิ ดกี นั ความไมไ่ วว้ างใจซงึ่ กนั และ
กนั และความกระหายความยิง่ ใหญห่ รือความมชี อ่ื เสียงก็คอื สงครามตลอดกาลระหวา่ งบุคคลตอ่ บคุ คล และระหว่าง
คนทงั้ หมดตอ่ คนทงั้ หมด สงครามไมไ่ ดห้ มายถงึ เฉพาะแตก่ ารฆา่ ฟนั ในวนั นี้ แตย่ งั รวมถงึ เจตจำ�นงอยา่ งแทจ้ รงิ ทจ่ี ะรบ
ราฆ่าฟนั กันด้วย ตราบใดท่เี จตจำ�นงนี้ยังคงมอี ยู่กจ็ ะมแี ตส่ งคราม ไมม่ สี ันตภิ าพ และมนุษย์กค็ ือสนุ ขั ปา่ ส�ำ หรับมนษุ ย์
ด้วยกัน” (Homo homini lupus)25
22 Clausewitz, op.cit., p. 1.
23 Frederick H. Hartmann, The Relations of Nations (third edition), New York: The Macmillan Company, 1967, p.
147.
24 Waltz, op.cit., p. 16.
25 พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ทฤษฎีการเมืองยุคใหม่ นนทบุรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2547 หน้า 63
ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช