Page 125 - สังคมโลก
P. 125
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-19
ครั้งที่ 2 ของเยอรมันโดยเริ่มจากการผนวกออสเตรีย เชโกสโลวะเกีย และบุกโปแลนด์ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการ
ดำ�เนินการตามนโยบายเลเบนส์เราม์นี้เอง
6. สาเหตคุ วามขดั แย้งทางสังคม
ความขัดแย้งด้านเชื้อชาติและศาสนาเป็นสาเหตุส�ำ คัญอันหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดสงครามระหว่างมนุษยชาติ มนุษย์
สว่ นใหญม่ คี วามรกั และผกู พนั ตอ่ เผา่ พนั ธุแ์ ละสงั คมของตน กลุม่ คนทีม่ คี วามรูส้ กึ เปน็ อนั หนึง่ อนั เดยี วกนั ทางเชือ้ ชาติ
ศาสนา ภาษา ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม และมาตุภูมินี้เรียกว่า “ชาติ” เมื่อคนในชาติ
มีความจงรักภักดีต่อชาติ และมีความคิดความเชื่อว่าชาติของตนสูงส่งกว่าชาติอื่น มีความรักในบ้านเกิดเมืองนอน
ยกย่องเชิดชูภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม และศาสนาประจำ�ชาติ ภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และมรดกที่บรรพบุรุษได้
สร้างไว้ ตลอดจนต้องการที่จะเผยแพร่คุณลักษณะของชาติตนออกไปให้เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบในสังคมของ
ชนชาติอื่น เราเรียกแนวคิดนี้ว่า “ชาตินิยม” (Nationalism) และเมื่อความรู้สึกชาตินิยมเลยเถิดไปถึงขั้นที่ต้องการให้
ชาติของตนครอบงำ�ชาติอื่น เพราะมองว่าชาติอื่นตํ่าต้อย ล้าหลัง และด้อยกว่าชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านชาติพันธุ์
ทางชีววิทยา วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา ศิลปวิทยาการ ความเจริญด้านวัตถุ ตลอดจนระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
แนวคิดเช่นนี้เรียกว่า “ความหลงชาติ” (Chauvinism) ซึ่งจะนำ�ไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชาติ และเกิดสงครามเพื่อ
ครอบงำ�หรือทำ�ลายล้างชนชาติอื่นในที่สุด
ในสมยั โบราณชาวจนี จะถอื วา่ อารยธรรมจนี เจรญิ กา้ วหนา้ สงู สง่ กวา่ วถิ ชี วี ติ ความเปน็ อยูข่ องชนชาตอิ ืน่ ชาวจนี
เรียกตนเองว่า “ฮั่น” ซึ่งมาจากคำ�ว่าราชวงศ์ฮั่นที่เป็นยุคแห่งการวางรากฐานอารยธรรมจีน อันหมายถึงชนชาติที่เจริญ
รุ่งเรือง มีวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่วนชนชาติอื่นนั้น ชาวจีนจะเรียกว่า “ฮวนนั้ง” หรือ “ฟานเหริน” แปลว่า คนป่าเถื่อน
ดังนั้น นโยบายทางการเมืองประการหนึ่งของจักรวรรดิจีนทุกยุคทุกสมัยก็คือ การปราบปราม หรือการปกครอง
หรือการมีอำ�นาจเหนือชนชาติอื่นที่อยู่รอบๆ ดินแดนของชาวจีน จักรวรรดิจีนจึงมักทำ�สงครามขยายอำ�นาจเข้าไปยัง
ดินแดนของชนเผ่าอืน่ ๆ ท�ำ ใหเ้ กดิ สงครามยดื เยือ้ ระหวา่ งจนี กับชนเผ่าตา่ งๆ มาโดยตลอด จกั รวรรดิจีนยงั เรียกตนเอง
ว่าเป็น “จักรวรรดิศูนย์กลาง” (中国: จงกว๋อ) ของโลก ซึ่งอาณาจักรอื่นๆ เช่น อยุธยาและรัตนโกสินทร์ แม้ไม่ถูกยึด
ครองก็ต้องยอมสวามิภักดิ์และถวายบรรณาการแก่จักรพรรดิจีน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการยอมรับความยิ่งใหญ่
ของจีน มิฉะนั้นอาจถูกรุกรานและยึดครองได้
ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติในทวีปแอฟริกาเกิดขึ้นทั่วไปนับครั้งไม่ถ้วน ทำ�ให้เกิดเป็นสงครามกลางเมือง
ที่รุนแรง อาทิ สงครามกลางเมืองในซูดานระหว่างชาวแอฟริกาผิวดำ�เผ่าบาร์กู (Bargou) กับชนเผ่าจันจาเวด (Jan-
jaweed) ซึ่งเป็นพวกอาหรับ ที่เพิ่งยุติลงใน ค.ศ. 2003 สงครามกลางเมืองในเอธิโอเปียระหว่างชาวเอธิโอเปียกับชาว
เอริเทรียช่วง ค.ศ. 1998-2000 สงครามกลางเมืองในรวันดา-บุรุนดีระหว่างชนเผ่าฮูตู (hutu) กับชนเผ่าตุตซี (Tutsi)
ช่วง ค.ศ. 1993-2005 เป็นต้น ในทวีปเอเชียก็มีสงครามกลางเมืองระหว่างชาวทมิฬและชาวสิงหลในศรีลังกาช่วง ค.ศ.
1983-2009 เป็นต้น
ในด้านศาสนานั้น ความขัดแย้งเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาได้ก่อให้เกิดสงครามใหญ่มาแล้วหลายครั้ง อาทิ
สงครามครูเสดระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลามในช่วง ค.ศ. 1095-1272 ซึ่งแบ่งเป็นสงครามย่อยถึง 9 ครั้ง
และสิ้นสุดลงโดยที่ไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด สงคราม 30 ปี ระหว่างคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกกับ
คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ในช่วง ค.ศ. 1618-1648 และยุติลงโดยมีการทำ�สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
ซึ่งให้อิสระแก่เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในการกำ�หนดนิกายของศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำ�แคว้นของตน และให้
ประชาชนสามารถประกอบศาสนกิจได้โดยเสรี ไม่ต้องถูกครอบงำ�โดยฝ่ายศาสนจักรอีกต่อไป การบุกรุกของศาสนา
อิสลามสู่อินเดียโดยพวกมุสลิมอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การโจมตีที่นำ�โดยสุลต่านมาห์มุดแห่งกัสนี ชาวตุรกี
ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช