Page 129 - สังคมโลก
P. 129
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-23
ทหารของศัตรู ไม่ใช่พลเรือน บ้านเมือง สถาบันทางการเมือง และระบบเศรษฐกิจของฝ่ายตรงข้าม35 อย่างไรก็ตาม
ความรุนแรงของสงครามก็อาจมีผลกระทบต่อพลเรือนและสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมได้
ตัวอย่างเช่น สงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 เมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีและยึดครองกรุง
ศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระหมินทราธิราช ทำ�ให้กรุงศรีอยุธยาต้องพ่ายแพ้อย่างราบคาบ และตกเป็นประเทศราชของ
กรุงหงสาวดีเป็นเวลาถึง 15 ปี หรือการบุกตีโต้เยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตรในปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการทุ่ม
กำ�ลังทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์อย่างเต็มที่เพื่อทำ�ลายกองทัพเยอรมันให้ราบคาบ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยุติสงคราม
โดยเร็วและเด็ดขาด ซึ่งย่อมมีผลกระทบที่เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และบ้านเรือนของพลเรือนเยอรมัน
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้น
นอกจากนนั้ ยงั มกี ารแบง่ ประเภทของสงครามออกเปน็ ลกั ษณะยอ่ ยอกี มากมาย อาทิ สงครามเชงิ รกุ (Defensive
warfare) สงครามเชิงรับ (Offensive warfare) สงครามชายแดน (Border warfare) สงครามสนามเพลาะ
(Trench warfare) ซึ่งทหารทั้งสองฝ่ายตั้งแนวประจันหน้ากันโดยขุดร่องเป็นแนวยาวหลายแนวเชื่อมต่อกันเพื่อ
เป็นที่หลบภัยป้องกันการโจมตีของข้าศึก และยิงต่อสู้ตรึงกำ�ลังกันจากสนามเพลาะเป็นระยะเวลานานกว่าที่จะมี
การบุกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สงครามสนามเพลาะเป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้ในสงครามหลายแห่ง อาทิ สงครามกลางเมือง
ของสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1861-1865 สงครามระหว่างทหารอังกฤษกับพวกบัวร์ (Boer) หรือชาวนาเนเธอร์แลนด์
ในแอฟริกาใต้ ค.ศ. 1879-1915 และที่มีชื่อเสียงมากคือสงครามสนามเพลาะในดินแดนประเทศฝรั่งเศส ใน
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามในเมอื ง (Urban warfare) ซึ่งเป็นการสู้รบของกองกำ�ลังทหารในสมรภูมิที่เป็นเมือง
ที่อยู่อาศัย มีบ้านเรือนและพลเรือนเป็นองค์ประกอบของสนามรบ ทำ�ให้การรบเป็นไปด้วยความยากลำ�บาก และไม่
สามารถแยกแยะได้ว่าผู้ใดเป็นพลเมืองที่แท้จริง หรือผู้ใดเป็นพลเรือนติดอาวุธ (militia) ที่เป็นกำ�ลังของฝ่ายศัตรู
เป็นต้น
1.3 สงครามกลางเมือง (Civil war) เป็นสงครามระหว่างคู่ปฏิปักษ์ซึ่งเป็นคนในชาติเดียวกัน อาทิ
สงครามกลางเมืองในสเปน ค.ศ. 1936-1939 ระหว่างฝ่ายฟาสซิสต์กับฝ่ายพันธมิตรประชาธิปไตย-คอมมิวนิสต์-
กษัตริย์นิยม หรือเป็นสงครามระหว่างมลรัฐหรือแคว้นภายในสหพันธรัฐ อาทิ สงครามระหว่างเซอร์เบียกับโครเอเทีย
ในสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย ค.ศ. 1991-1995 หรือเป็นสงครามระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล อาทิ
สงครามกลางเมืองในไอร์แลนด์ ค.ศ. 1922-1923 ระหว่างฝ่ายรัฐบาลของรัฐไอร์แลนด์อิสระ กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
ที่ใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เป็นต้น สงครามกลางเมืองอาจเป็นการต่อสู้ของกองทหารประจำ�การหรือกองกำ�ลัง
พลเรือนติดอาวุธก็ได้ โดยฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามกลางเมืองมีเป้าหมายที่จะเข้าควบคุมดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศ
หรอื ยดึ ครองประเทศทัง้ หมด หรอื เปลีย่ นแปลงรฐั บาล หรอื ลม้ ลา้ งระบอบการเมอื งการปกครอง บอ่ ยครัง้ ทีม่ กี องกำ�ลงั
ต่างชาติเข้าแทรกแซงในสงครามกลางเมืองในฐานะพันธมิตรของคู่สงคราม อาทิ อิตาลีเข้าร่วมในสงครามกลางเมือง
ของเยอรมันใน ค.ศ. 1866 โดยเป็นพันธมิตรกับปรัสเซียและบรรดารัฐฝ่ายเหนือของเยอรมันเพื่อรบกับออสเตรีย
และบรรดารัฐฝ่ายใต้ของเยอรมัน เป็นต้น หรือมหาอำ�นาจเข้าแทรกแซงสงครามกลางเมืองเพื่อเข้ามาช่วยเหลือระงับ
ข้อขัดแย้งและยุติสงคราม เช่น ฝรั่งเศสส่งกองทหารเข้าไปในโก๊ตดิวัวร์ใน ค.ศ. 2002 เพื่อรักษาความสงบและยุติ
สงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายรัฐบาลของประธานาธิบดีกบักโบ (Gbagbo) กับฝ่ายกบฏ เป็นต้น
35 Clausewitz, op.cit.
ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช