Page 131 - สังคมโลก
P. 131

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-25

และระบบหายใจ เอเจนท์ 15 ทำ�ให้เป็นอัมพาต ก๊าซซัลเฟอร์มัสตาร์ดทำ�ให้เป็นแผลพุพองตามผิวหนัง36 เป็นต้น
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝ่ายเยอรมันได้ใช้ก๊าซซัลเฟอร์มัสตาร์ดในการรบกับฝ่ายพันธมิตรมาแล้ว ในปัจจุบัน
อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี ค.ศ. 1993 (Chemical Weapons Convention 1993) ได้ห้ามการผลิตและใช้อาวุธเคมี
เหล่านี้ในการทำ�สงคราม

       2.4 สงครามชีวภาพ (Biological warfare) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามเชื้อโรค (Germ warfare) เป็น
สงครามที่ใช้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งเป็นตัวที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย อะมิบา เป็นต้น และพิษของ
สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ (toxin) เป็นอาวุธในการทำ�ลายชีวิตและแหล่งอาหารของศัตรู เชื้อโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคระบาดและ
ทำ�ลายชีวิตมนุษย์เป็นจำ�นวนมากได้ สามารถติดต่อจากคนสู่คนและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างของเชื้อโรค
ที่สามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพ ได้แก่ ไข้ทรพิษ กาฬโรค อหิวาตกโรค แอนแทร็กซ์ เป็นต้น ในการโจมตีเมืองกัฟฟา
บริเวณคาบสมุทรไครเมียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลได้โยนศพทหารมองโกลที่เสียชีวิตด้วยกาฬโรค
เข้าไปในเมืองเพื่อให้เชื้อโรคแพร่ระบาด ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างของการใช้อาวุธเชื้อโรคที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ
ใน ค.ศ. 1940 เครื่องบินรบญี่ปุ่นก็ได้เอาภาชนะบรรจุตัวหมัดที่มีเชื้อกาฬโรคไปทิ้งลงที่เมืองหนิงโปในประเทศจีน37
ปัจจุบันอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพและพิษ ค.ศ. 1972 (Biological and Toxic Weapons Convention) ได้ห้าม
การผลิตและใช้อาวุธชีวภาพในการทำ�สงคราม

       2.5 	สงครามนิวเคลียร์ (Nuclear war) เป็นสงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีขีดความสามารถในการทำ�ลาย
ล้างสูงมาก ขอบเขตของรัศมีการทำ�ลายเป็นวงกว้างหลายกิโลเมตร นอกจากแรงระเบิดที่มีผลในการทำ�ลายสิ่งต่างๆ
โดยตรงแล้ว ยังมีรังสีที่แผ่ขยายออกมาซึ่งในระยะใกล้จะทำ�อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตถึงตายในทันที และในระยะไกลออก
มาจะทำ�ใหบ้ าดเจบ็ และเปน็ โรคเรือ้ รงั โดยเฉพาะมะเรง็ และจะเสยี ชวี ติ ในเวลาตอ่ มา นอกจากนัน้ ยงั กอ่ ใหเ้ กดิ มลภาวะ
ในบรรยากาศที่เกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์อีกเป็นระยะเวลานาน สงครามนิวเคลียร์ไม่มีแนวรบของทหาร แต่เป็นการ
มุ่งทำ�ลายทุกสิ่งทุกอย่างของศัตรูโดยไม่แยกแยะทหารหรือพลเรือน เป้าหมายของการโจมตีมีทั้งจุดยุทธศาสตร์ ที่ตั้ง
ทางทหาร ฐานที่ตั้งอาวุธนิวเคลียร์ของข้าศึก เมืองใหญ่ และเขตอุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติได้มีการใช้
อาวุธนิวเคลียร์ในการท�ำ สงครามเพียงครั้งเดียว คือในปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณู
2 ลูกที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ตามลำ�ดับ ทำ�ให้มีผู้เสียชีวิต
หลายแสนคน ในยุคสงครามเย็นอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นอาวุธป้องปราม (deterrent weapon) หรืออาวุธยับยั้ง
ที่มหาอำ�นาจมีไว้ข่มขู่หรือถ่วงดุลอำ�นาจกันโดยไม่มีการนำ�มาใช้อย่างแท้จริง

       นอกจากนั้นยังมีสงครามประเภทอื่นอีกมากมาย อาทิ สงครามเยน็ (Cold war) ซึ่งเป็นสภาวะความตึงเครียด
ทางการทูตระหว่างรัฐ 2 รัฐหรือหลายรัฐ แต่ก็ไม่มีความขัดแย้งถึงขั้นการใช้กำ�ลังระหว่างกัน38 โดยมีลักษณะเป็น
สงครามทางการเมืองที่ต่อสู้กันด้วยการโฆษณาชวนเชื่อโจมตีกันมากกว่า สงครามอวกาศ (Space warfare) ซึ่งเป็น
การต่อสู้ด้วยดาวเทียม มีการโจมตีจากพื้นดินสู่ดาวเทียม หรือดาวเทียมสู่พื้นดิน หรือดาวเทียมสู่ดาวเทียม ตลอดจน
การใช้ดาวเทียมเพื่อการสอดส่องติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามและการท�ำ จารกรรมต่างๆ สงครามไซเบอร์
(Cyber warfare) ซึ่งเป็นการต่อสู้กันผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการตรวจจับข้อมูล การก่อวินาศกรรมข้อมูล
ทั้งการเปลี่ยนแปลงและทำ�ลายข้อมูลของศัตรู ตลอดจนการป้อนข้อมูลลวงเพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายตรงข้าม

	 36 “Chemical Warfare”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Chemical_warfare, (28/7/2553)	
	 37 Barenblatt, Daniel. A Plague Upon Humanity: The Secret Genocide of Axis Japan’s Germ Warfare Operation,
New York: Harper Collins, 2004, p. 32, in “Biological warfare”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/
Biological_warfare, (28/7/2553)	
	 38 Pierre Sandahl et Louis de Bèa, “Guerre froide”, Ditionnaire politique et diplomatique, Paris: Librairies Techniques,
S.A., p. 98.	

                              ลขิ สิทธิ์ของมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136