Page 126 - สังคมโลก
P. 126
7-20 สังคมโลก
ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงการรุกรานโดยสุลต่านบัคเตียร์ คัลยี ชาวตุรกี ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เพื่อทำ�ลาย
พุทธศาสนาและศาสนาฮินดู จนทำ�ให้พุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย แต่ศาสนาฮินดูยังยืนหยัดต่อสู้อยู่ได้31 และ
ความขดั แยง้ ไดด้ �ำ รงตอ่ มาจนถงึ ครสิ ตศ์ ตวรรษที่ 20 จนเปน็ สาเหตใุ หม้ กี ารแบง่ แยกประเทศเปน็ อนิ เดยี และปากสี ถาน
ตามมาด้วยการสู้รบบริเวณชายแดนของ 2 ประเทศ และสงครามก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้น
7. การเกดิ สงคราม
สงครามอาจเริ่มขึ้นจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการระหว่างคู่ขัดแย้งหรือโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น
ในกรณีสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 หลัง
จากที่เยอรมนีรุกรานโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เป็นต้น
สงครามอาจเกิดขึ้นจากการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยื่นคำ�ขาด (Ultimatum)32 ให้อีกฝ่ายหนึ่งดำ�เนินการใดๆ ตาม
ที่ตนต้องการภายในกำ�หนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น ในกรณีสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ออสเตรีย-ฮังการียื่นคำ�ขาดต่อ
เซอร์เบียในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ให้เซอร์เบียหยุดยั้งการดำ�เนินการใดๆ ที่เป็นการกล่าวร้ายต่อราชวงศ์
ฮับสเบิร์กของออสเตรีย และหยุดการกระทำ�ทุกอย่างที่เป็นการคุกคามความมั่นคงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
โดยรัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจะรอรับการตอบรับคำ�ขาดดังกล่าวภายในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 เวลา 18.00
นาฬิกาตรง มิฉะนั้นรัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจะประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ซึ่งในที่สุดเซอร์เบียก็ไม่ได้ตอบรับ
คำ�ขาดดังกล่าว ทำ�ให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น
สงครามอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด�ำ เนินมาตรการทางทหารต่ออีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีการ
ประกาศสงครามก่อนล่วงหน้า เช่น กรณีที่ญี่ปุ่นใช้ฝูงบินของกองทัพเรือบุกโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ในหมู่เกาะฮาวาย
ของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 อันหมายถึงการประกาศสงครามของญี่ปุ่นต่อสหรัฐอเมริกา และ
ทำ�ให้สหรัฐอเมริกาซึ่งวางตัวเป็นกลางมาโดยตลอดต้องเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่นั้นมา
สงครามอาจเกิดขึ้นโดยมีการกระทำ�ที่แสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์ของคู่ขัดแย้งเป็นลำ�ดับขั้นตอนออกมาให้เห็น
อย่างชัดเจน ซึ่งกระบวนการที่นำ�ไปสู่สงครามมีดังนี้33
1. เกิดความตึงเครียด (Tension) ระหว่างคู่กรณีอันเนื่องมาจากความขัดแย้งในปัญหาด้านใดด้านหนึ่งหรือ
หลายๆ ด้าน
2. คู่ขัดแย้งมีการเตรียมพร้อมทางทหาร (Military preparation) โดยให้ทหารประจำ�การเตรียมกำ�ลังเต็ม
อัตราศึก
3. มีการแสดงการคุกคามต่อกัน (Threat) เช่น การแสดงแสนยานุภาพของกำ�ลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์
เป็นต้น
4. มีการระดมพล (Mobilization) โดยการเกณฑ์ทหารเข้าประจำ�การเพิ่ม มีการเรียกกองกำ�ลังสำ�รองที่เป็น
ทหารกองหนุนเข้ารายงานตัว และอาจมีการจัดตั้งกองกำ�ลังพลเรือนติดอาวุธซึ่งเป็นกำ�ลังเสริม
5. มีการตรึงกำ�ลังทหารบริเวณชายแดน (Border hostilities) ซึ่งในสภาวะสันติจะไม่มีการตั้งกองทหาร
ค่ายทหาร หรือป้อมปราการประชิดพรมแดนมิตรประเทศ
31 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กาลานุกรมพระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์ผลิธัมม์ 2552 หน้า
80-99
32 Ultimatum (อุลติมาตุม) เป็นภาษาลาติน แปลว่า “สิ่งสุดท้าย” ซึ่งมีการแปลความหมายในทางการทูตว่า “การคุกคามว่าจะประกาศ
สงคราม” (threat to declare war)
33 Wright, op.cit., p. 453.
ลิขสทิ ธข์ิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช