Page 123 - สังคมโลก
P. 123

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-17

4. 	 สาเหตดุ ้านการแขง่ ขันทางทหารและการพฒั นาอาวธุ

       การพัฒนาอุตสาหกรรมไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ๆ และการแข่งขันทางเศรษฐกิจอันนำ�
ไปสู่ความขัดแย้งทางการค้าเท่านั้น แต่ยังทำ�ให้มีการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย
มหาอำ�นาจต่างๆ จึงแข่งขันกันผลิตอาวุธเพื่อเสริมสร้างแสนยานุภาพ ทำ�ให้เกิดความหวาดระแวงและมีท่าทีเป็นการ
คุกคามซึ่งกันและกัน เมื่อใดที่ฝ่ายต่างๆ ยังรักษาดุลแห่งอำ�นาจทางทหารระหว่างกันได้ ความขัดแย้งที่มีอยู่ก็ยังไม่
ปะทุรุนแรงขึ้น ดังเช่นในยุคสงครามเย็นระหว่างทศวรรษที่ 1950-1980 ซึ่งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตแข่งขัน
กันสะสมอาวุธนิวเคลียร์อย่างมหาศาลในจำ�นวนที่เท่าเทียมกันอันเป็นการถ่วงดุลอำ�นาจกัน จนกระทั่งดุลแห่งอำ�นาจ
(Balance of Power) นัน้ กลายเปน็ ดลุ แห่งความกลวั (Balance of Terror) จงึ ไม่มฝี า่ ยใดกลา้ ทีจ่ ะกอ่ สงครามขึน้ กอ่ น
เพราะผลของสงครามจะนำ�มาซึ่งภัยพิบัติแก่ทุกฝ่าย โดยจะไม่มีผู้ชนะ แต่จะมีแต่ผู้แพ้ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพ
โซเวียตจึงมีการทำ�สนธิสัญญาการเจรจาจำ�กัดอาวุธยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Limitation Talks: SALT) 2
ครั้ง คือใน ค.ศ. 1972 และ ค.ศ. 1979 และต่อมาก็มีการทำ�สนธิสัญญาการลดอาวุธยุทธศาสตร์ (Strategic Arms
Reduction Treaty: START) ระหว่าง 2 มหาอำ�นาจดังกล่าว ซึ่งครั้งหลังสุดได้มีการเจรจากันใน ค.ศ. 2010 ที่	
กรุงปราก สาธารณรัฐเชก

       แต่การแข่งขันด้านการทหารและการพัฒนาอาวุธก็ไม่ได้ยุติลงด้วยสันติวิธีเสมอไป การแข่งขันกันสะสม
กำ�ลังทหารได้นำ�ไปสู่วิกฤตการณ์ และการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มาแล้ว นอกเหนือจากสาเหตุด้าน
เศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง และแม้ว่าในยุคสงครามเย็นจะไม่มีสงครามโดยตรงระหว่างมหาอำ�นาจค่าย
โลกเสรแี ละมหาอ�ำ นาจค่ายคอมมวิ นสิ ต์ ความขัดแย้งดา้ นอดุ มการณ์ทางการเมืองกก็ ่อใหเ้ กิดสงครามระหวา่ งประเทศ
และสงครามกลางเมืองในภูมิภาคต่างๆ หลายแห่ง อาทิ สงครามเกาหลีใน ค.ศ. 1950-1953 สงครามอินโดจีนครั้งที่
2 ใน ค.ศ. 1954-1975 และสงครามในประเทศกำ�ลังพัฒนาในทวีปแอฟริกาอีกหลายแห่ง เป็นต้น สงครามเหล่านี้ถูก
มองว่าเป็นสงครามตัวแทน (Proxy War) ในความขัดแย้งระหว่างมหาอำ�นาจ 2 ค่าย โดยที่มหาอำ�นาจไม่ต้องสู้รบกัน
โดยตรง แต่ให้ประเทศเลก็ ๆ ที่เป็นพนั ธมติ รของตนทำ�สงครามกับฝา่ ยตรงข้ามเพื่อแย่งชงิ พื้นทีแ่ ละเขตอทิ ธิพลในการ
สู้รบนี้ มหาอำ�นาจแต่ละฝ่ายได้สนับสนุนงบประมาณทางทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ ให้แก่พันธมิตรของตน มีทั้ง
การระบายอาวุธเก่าออกมาใช้และการส่งอาวุธชนิดใหม่ให้มาทำ�การทดลองประสิทธิภาพ งบประมาณทางการทหาร
ของมหาอำ�นาจและของประเทศกำ�ลังพัฒนาในยุคสงครามเย็นจึงสูงมาก เพราะแม้จะมีการเจรจากันเพื่อจำ�กัดอาวุธ
นิวเคลียร์ แต่การแข่งขันกันสร้างอาวุธสงครามตามแบบก็ยังเป็นไปอย่างเสรี

       ในครสิ ตศ์ ตวรรษที่ 21 ซึง่ สิน้ สดุ ยคุ สงครามเยน็ ไปแลว้ งบประมาณดา้ นการปอ้ งกนั ประเทศของทัง้ มหาอ�ำ นาจ
และประเทศเลก็ ๆ กไ็ มม่ ที า่ ทวี า่ จะลดลง แตก่ ลบั เพิม่ มากขึน้ ไปอกี ใน ค.ศ. 2008 งบประมาณการทหารของทกุ ประเทศ
ทวั่ โลกสงู ถงึ 1,464 พนั ลา้ นดอลลารส์ หรฐั ฯ28 โดยถา้ คดิ เปน็ หนว่ ยเงนิ พนั ลา้ นดอลลารส์ หรฐั ฯ จะเปน็ ของสหรฐั อเมรกิ า
607 จีน 84.9 ฝรั่งเศส 65.7 อังกฤษ 65.3 รัสเซีย 58.6 เยอรมนี 46.8 ญี่ปุ่น 46.3 อิตาลี 40.6 ซาอุดิอาระเบีย 38.2
และอินเดีย 32.7

       ประเทศอุตสาหกรรมที่ส่งอาวุธออกจำ�หน่ายให้แก่ประเทศต่างๆ ใน ค.ศ. 2009 มีมูลค่าสูงสุด 10 ประเทศ
แรกโดยคิดเป็นหน่วยเงินล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีดังนี้ สหรัฐอเมริกา 6,795 รัสเซีย 4,469 เยอรมนี 2,473 ฝรั่งเศส
1,851 อังกฤษ 1,024 สเปน 925 จีน 870 อิสราเอล 760 เนเธอร์แลนด์ 608 อิตาลี 588 และสวีเดน 353

	 28 Stockholm International Peace Research Institute, Arms Industry, Wikipedia, the free encyclopedia, http://
en.wikipedia.org/wiki/Arms_Industry, (26/7/2553)

                              ลขิ สิทธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128