Page 121 - สังคมโลก
P. 121

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-15

       นอกจากนั้นในหนังสือชื่อ Libertas ฮอบส์ยังเขียนไว้ว่า “ในสภาวะธรรมชาติของมนษุ ยก์ อ่ นทีจ่ ะมารวมกัน
อยู่ในสังคมเป็นสภาวะแห่งสงคราม ซ่ึงไม่ใช่สงครามธรรมดา แต่เป็นสงครามท่ีทุกคนเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกคน” (bel-
lum omnium contra omnes)26 นั่นคือฮอบส์มองธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ลบ โดยเชื่อว่ามนุษย์ก้าวร้าวและเห็น
มนุษย์คนอื่นเป็นศัตรูทั้งหมด สภาวะการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมีมาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นสงครามระหว่าง
มนุษย์จึงย่อมเกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติสงครามเกิดขึ้นจากผู้นำ�ประเทศที่กระหายความรุนแรงนับครั้ง
ไม่ถ้วน อาทิ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย กษัตริย์อัตติลาของชนเผ่าฮั่น จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส
และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งเยอรมนี เป็นต้น ผู้นำ�เหล่านี้หลายคนได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นวีรบุรุษของชาติ กษัตริย	์
หลายพระองค์ได้รับการถวายพระนามเป็นมหาราชด้วยการทำ�สงครามรุกรานเข่นฆ่าคนจำ�นวนมหาศาล เพื่อสร้าง
ความยิ่งใหญ่ให้แก่ชาติและราชวงศ์ของตน วัฒนธรรมดังกล่าวจึงเป็นการตอกยํ้าการยอมรับพฤติกรรมก้าวร้าวตาม
ธรรมชาติของมนุษย์ว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเท่ากับสร้างความชอบธรรมให้กับการทำ�สงครามนั่นเอง

2. 	 สาเหตุด้านอุดมการณ์และลัทธิทางการเมือง

       ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างผู้นำ�หรือประชาชนของรัฐต่างๆ ได้ก่อให้เกิดสงคราม
ครั้งสำ�คัญขึ้นหลายครั้ง หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 เพื่อสถาปนาระบอบสาธารณรัฐซึ่งเป็นการปกครองที่
ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ได้เกิดกระแสต่อต้านอย่างมากจากจักรวรรดิ อาณาจักร และแคว้นที่มีผู้ปกครองเป็น
จักรพรรดิ กษัตริย์ และเจ้า อาทิ ออสเตรีย รัสเซีย ปรัสเซีย อังกฤษ และรัฐต่างๆ ในยุโรป เพราะผู้ปกครองประเทศ
เหล่านี้กลัวว่าประชาชนในประเทศของตนจะเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการโค่นล้มเจ้า แล้วเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็น
สาธารณรัฐเหมือนฝรั่งเศส ประเทศเหล่านี้ได้ยกทัพบุกสาธารณรัฐฝรั่งเศส ทำ�ให้เกิดสงครามที่ยืดเยื้อต่อไปอีกนาน
และเมื่อแม่ทัพนโปเลียน โบนาปาร์ต สามารถสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศสได้ ก็ได้ทำ�สงครามตีโต้กลับ
เข้าไปในดินแดนประเทศเหล่านี้จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1814 ด้วยความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส

       สาเหตุสำ�คัญประการหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ การเกิดลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี ลัทธินาซีใน
เยอรมัน และลัทธิทหารนิยมในญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 3 ลัทธิมีจุดร่วมกันคือ มีแนวคิดแบบเผด็จการ เน้นความผูกพันและ
ความจงรักภักดีต่อชาติและผู้นำ�  มุ่งสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่ชาติ ไม่เชื่อในหลักเหตุผลและความเท่าเทียมกันของ
มนุษย์ นิยมใช้ความรุนแรงทางการเมืองและในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง มหาอำ�นาจทั้งสามจึงดำ�เนินนโยบายรุกราน
ประเทศอื่นๆ มาโดยตลอด เยอรมันผนวกออสเตรียและเชโกสโลวะเกีย อิตาลียึดครองเอธิโอเปียและอัลบาเนีย ญี่ปุ่น
ยึดครองเกาหลีและแมนจูเรีย ซึ่งทำ�ให้ขัดแย้งกับมหาอำ�นาจที่ยึดถืออุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส
และสหรัฐอเมริกา ในที่สุดเมื่อเยอรมันบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศ
สงครามกับเยอรมันในอีก 2 วันต่อมา

       ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงโลกก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเพราะความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการ
เมอื ง ระหวา่ งกลุม่ ประเทศเสรปี ระชาธปิ ไตยทีม่ สี หรฐั อเมรกิ าเปน็ ผูน้ ำ� กบั กลุม่ ประเทศคอมมวิ นสิ ตท์ ีม่ สี หภาพโซเวยี ต
เป็นผู้นำ�  ความขัดแย้งระหว่างลัทธิประชาธิปไตยกับลัทธิคอมมิวนิสต์ทำ�ให้เกิดสงครามหลายแห่ง อาทิ ในกรีซ ใน
เกาหลี และในเวียดนาม เป็นต้น แม้มหาอำ�นาจจะไม่ทำ�สงครามกันโดยตรง แต่ก็เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์
ระหว่างกัน มีการโฆษณาชวนเชื่อโจมตีซึ่งกันและกัน มีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขู่กัน และมีการสนับสนุน
พันธมิตรของแต่ละฝ่ายให้ท�ำ สงครามในภูมิภาค สภาวะความสัมพันธ์ระหว่างมหาอ�ำ นาจในช่วงทศวรรษ 1950-1980
นี้จึงเรียกว่าเป็นสภาวะแห่งสงครามเย็น (Cold War) ซึ่งเป็นการทำ�สงครามที่ไม่มีการรบกันโดยตรง

	 26 Thomas Hobbes, Libertas, Chapter 1, Section R, http://en.wikipedia.org/wiki/Bellum_omnium_contra_omnes,
(13/7/2553)

                              ลิขสิทธิข์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126