Page 117 - สังคมโลก
P. 117
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-11
ยทุ ธวธิ ีในการทำ�สงครามของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นมาใหม่เลย เทคโนโลยีของอาวุธ
ยุทโธปกรณ์ก็เป็นแบบเดิมๆ ยุทธศาสตร์ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพียงแต่นโปเลียนรวบรวมยุทธศาสตร์เก่าหลายๆ
แบบแล้วผสมผสานกันให้กลายเป็นยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เท่านั้นเอง ส่วนพระเจ้าฟรีดีชที่ 2 แห่งปรัสเซียได้แสดงให้
เห็นถึงความสามารถในการใช้กองทัพที่มีอยู่อย่างจำ�กัดให้มีประสิทธิภาพ16
ในแนวคิดที่สำ�คัญเกี่ยวกับสงครามของคลาวเซวิทซ์นั้น สงครามไม่ได้เป็นจุดมุ่งหมายในตัวของมันเอง
แต่เป็นวิธีการในการใช้กำ�ลังเพื่อให้บรรลุผลตามเจตจำ�นง นั่นคือมีชัยชนะเหนือศัตรู เป้าหมายทางทหารในการทำ�
สงครามเพื่อสนับสนุนเป้าหมายทางการเมือง มี 2 ทางคือ การบรรลุเป้าหมายที่จำ�กัด และการบรรลุเป้าหมายเต็มที่
การบรรลเุ ปา้ หมายเตม็ ทีเ่ ปน็ การปลดอาวธุ ศตั รเู พือ่ ทำ�ใหไ้ มม่ อี �ำ นาจทางทหารอกี ตอ่ ไปและหมดหนทางทีจ่ ะดำ�เนนิ การ
ทางการเมือง เพราะถ้าสงครามดำ�เนินต่อไปไม่สิ้นสุด ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำ�ให้ต้องใช้กำ�ลังและทรัพยากรเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องทำ�สงครามขั้นเด็ดขาด (absolute war) เพื่อให้ได้ชัยชนะเด็ดขาดโดยเร็ว17
คลาวเซวิทซ์ได้ให้ความสำ�คัญแก่รัฐว่าเป็นตัวแสดงหลักในการทำ�สงคราม โดยศึกษาสภาพสังคมยุโรปมา
ตั้งแต่การทำ�สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียใน ค.ศ. 1648 ซึ่งเกิดรัฐชาติ (Nation-state) อย่างเป็นทางการ ส่วนตัว
แสดงอื่นๆ อาทิ กลุ่มกบฏ กลุ่มกองโจร และการลุกฮือของประชาชนนั้น มีการกล่าวถึงน้อยมาก18
ในหนังสือ “ว่าด้วยสงคราม” คลาวเซวิทซ์ได้ให้คำ�จำ�กัดความของสงครามไว้ว่า “สงครามคือการต่อสู้ใน
ขอบเขตที่กว้างใหญ่ สงครามเป็นการกระทำ�ด้วยความรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้คู่ต่อสู้ยอมตามที่ฝ่ายตนต้องการ ซึ่งมี
การใช้กำ�ลังอย่างเต็มที่โดยอาศัยทั้งศิลปะและศาสตร์ด้านการยุทธ เพื่อทำ�ให้ข้าศึกไม่สามารถทำ�การรบต่อไปได้อีก”
(to disarm the enemy)19 หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 8 เล่ม
เลม่ ท่ี 1 กล่าวถึง ธรรมชาติของสงคราม ประกอบด้วย ความหมาย เป้าหมาย การดำ�เนินการ จุดแข็ง
และจุดอ่อนในการทำ�สงคราม
เล่มที่ 2 กล่าวถึง ทฤษฎีสงคราม ประกอบด้วย ศิลปะและศาสตร์ของสงคราม วิธีการและตัวอย่างใน
การทำ�สงคราม
เลม่ ที่ 3 กลา่ วถงึ ยทุ ธศาสตรใ์ นการท�ำ สงคราม ประกอบดว้ ย ขวญั และก�ำ ลงั ใจ คณุ ธรรม ความกลา้ หาญ
ความมุ่งมั่น อัตรากำ�ลังพล สิ่งที่ไม่คาดคิด สถานที่และเวลา ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การพักรบและภาวะความตึงเครียด
เลม่ ท่ี 4 กล่าวถึง การสู้รบ ประกอบด้วย ลักษณะการสู้รบสมัยใหม่ การตัดสินใจ ระยะเวลาของการ
รบ ผลของชัยชนะ การถอยทัพเมื่อพ่ายแพ้ การสู้รบในเวลากลางคืน
เล่มท่ี 5 กล่าวถึง กำ�ลังพล ประกอบด้วย กองทัพ ความสัมพันธ์ระหว่างทหารราบ-ทหารม้า-ทหารปืน
ใหญ่ การตั้งค่าย การเดินทัพ การยังชีพของทหาร การติดต่อสื่อสาร ภูมิประเทศและยุทธภูมิ
เล่มท่ี 6 กล่าวถึง การป้องกันหรือการตั้งรับ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบุกและการตั้งรับ
การรวมกำ�ลังเข้าโจมตีและการแยกกำ�ลังตั้งรับ ยุทธวิธีการต่อต้าน ป้อมปราการ การป้องกันชัยภูมิที่เป็นภูเขา แม่นํ้า
หนองบึง ป่า และเมือง การป้องกันการโจมตีด้านปีกของกองทัพ
16 Carl von Clausewitz, On War, English Translation by J.J. Graham, London: N.Trûbner, 1873, http://www.clause-
witz.com/readings/OnWar1873/TOC.htm, (28/2/2553)
17 ibid.
18 ibid.
19 ibid. Chapter I, What is war, Book I, On the Nature of War.
ลิขสิทธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช