Page 122 - สังคมโลก
P. 122
7-16 สังคมโลก
3. สาเหตดุ ้านเศรษฐกิจและทรัพยากร
ปจั จยั ทางเศรษฐกจิ เปน็ สาเหตสุ ำ�คญั อกี ประการหนึง่ ทีท่ ำ�ใหเ้ กดิ สงครามขึน้ การแขง่ ขนั ทางเศรษฐกจิ ระหวา่ ง
ประเทศก็ดี การขาดแคลนและความต้องการด้านทรัพยากรก็ดี ตลอดจนการถูกกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่
เหนือกว่า ล้วนแล้วแต่นำ�มาซึ่งข้อขัดแย้งระหว่างกันทั้งสิ้น ผู้ที่ชื่นชอบระบบทุนนิยมเสรีเชื่อว่าในระบบนี้การแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจโดยเสรีจะทำ�ให้สังคมมีสันติภาพ เกิดความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุข ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนายทุน กรรมกร
ผู้ดำ�เนินการ หรือผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากกระบวนการผลิตสินค้าที่ยุติธรรมนี้ แต่การแข่งขันทาง
เศรษฐกิจนั้น ผู้ประกอบการย่อมมุ่งแสวงหารายได้หรือผลกำ�ไรมากที่สุด การพยายามได้ชัยชนะเหนือคู่แข่งขัน เช่น
การมุ่งครอบครองตลาด การดำ�เนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรการผลิตที่ดีกว่ามากกว่า การลดต้นทุนการผลิตให้
ตํ่าลง เป็นต้น อาจนำ�มาซึ่งข้อขัดแย้งระหว่างกัน และเมื่อผู้ประกอบการรายหนึ่งได้รับชัยชนะในการแข่งขันสามารถ
ผูกขาดตลาดสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งได้ ก็จะทำ�ให้คู่แข่งขันรายอื่นๆ หมดหนทางต่อสู้ ซึ่งดูเหมือนเป็นสภาวะ
ปกติในระบบทุนนิยม แต่แท้ที่จริงแล้วมันเป็นสภาวะของความขัดแย้งมากกว่า ความขัดแย้งไม่ได้จำ�กัดอยู่เฉพาะ
การแข่งขันทางเศรษฐกิจภายในประเทศเท่านั้น เมื่อตลาดภายในประเทศถึงจุดอิ่มตัว ผู้ประกอบการก็มุ่งแสวงหา
ตลาดนอกประเทศ ทำ�การแข่งขันกับนายทุนจากประเทศอื่นๆ ต่อไป มีการแย่งพื้นที่ตลาดกัน พร้อมกันนี้ก็แข่งขันกัน
แสวงหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกหรือได้เปล่า แหล่งแรงงานค่าจ้างตํ่าหรือแรงงานทาส โดยเฉพาะในดินแดนด้อยพัฒนา
อันทำ�ให้เกิดการแข่งขันกันล่าอาณานิคมของบรรดามหาอำ�นาจ ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นทั้งระหว่างมหาอำ�นาจที่แข่งขัน
กันเอง และระหว่างมหาอำ�นาจผู้ล่าอาณานิคมกับดินแดนที่ถูกล่าอาณานิคม จนเกิดสงครามระหว่างมหาอำ�นาจด้วย
กันเอง และสงครามที่ชาวพื้นเมืองลุกขึ้นต่อต้านการยึดครองดินแดนอาณานิคม ซึ่งถ้าถูกยึดครองโดยสมบูรณ์แล้ว
ต่อมาก็จะเกิดสงครามเพื่อการปลดปล่อยดินแดนอาณานิคมให้เป็นเอกราช ระบบล่าอาณานิคมนี้เรียกอีกอย่างหนึ่ง
ว่า “ลัทธิจักรวรรดินิยม” (Imperialism) ซึ่งเลนิน ผู้นำ�สหภาพโซเวียตคนแรก ได้เขียนไว้ว่า “จักรวรรดินิยมคือ
พัฒนาการขั้นสูงสุดของระบบทุนนิยม”27
การแข่งขันทางเศรษฐกิจดังกล่าวทำ�ให้เกิดการกดขี่ขูดรีดผู้ใช้แรงงานโดยนายทุน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้แรงงาน
ภายในประเทศอตุ สาหกรรมเองหรอื แรงงานในดนิ แดนอาณานคิ ม มกี ารกดคา่ แรงใหต้ ํา่ จนถงึ บงั คบั ใชแ้ รงงานทาสโดย
ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ไม่มีการให้สวัสดิการหรือการจ่ายค่าชดเชยใดๆ ยามเจ็บป่วยจากการทำ�งาน และมีการลงโทษที่
รุนแรงต่อผู้ที่ขัดขืนการทำ�งาน ในทางตรงกันข้ามนายทุนกลับได้รับประโยชน์และผลก�ำ ไรอย่างเต็มที่จากกระบวนการ
ผลิตสินคา้ นี้ ท�ำ ใหเ้ กิดความขดั แย้งระหวา่ งชนชัน้ นายทุนเจ้าของกิจการกบั ชนชั้นผูใ้ ชแ้ รงงานขึ้น ถา้ ชนชัน้ ผูใ้ ช้แรงงาน
มีสำ�นึกในความขัดแย้งนี้ ประกอบกับมีกลุ่มการเมืองที่เป็นแกนนำ�ที่คอยชี้นำ�การแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการที่
รุนแรง การต่อสู้ทางชนชั้นย่อมเกิดขึ้นได้ กลายเป็นสงครามปฏิวัติทางชนชั้นอย่างในกรณีของสงครามปฏิวัติในรัสเซีย
ค.ศ. 1917 หรือสงครามกลางเมืองในจีนช่วงทศวรรษที่ 1930-1940 เป็นต้น ในสหรัฐอเมริกาการใช้แรงงานทาสจาก
แอฟริกาในการปลูกฝ้ายในภาคใต้ก็เป็นสาเหตุที่ทำ�ให้รัฐบาลฝ่ายเหนือถือเป็นข้ออ้างในการทำ�สงครามกลางเมืองเพื่อ
ปลดปล่อยทาสในช่วง ค.ศ. 1861-1865 ดังนั้นการต่อสู้เพื่อเอกราชของดินแดนอาณานิคมที่ท�ำ สงครามกับมหาอ�ำ นาจ
ผู้ยึดครองจึงเป็นการต่อสู้ 2 นัย นั่นคือในระดับรัฐเป็นการปลดแอกอาณานิคมจากการยึดครองของจักรวรรดินิยม
และในระดับประชาชนเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นที่ผู้ใช้แรงงานพื้นเมืองต้องการโค่นล้มการกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบ
ของนายทุนเจ้าอาณานิคม
27 Lenin, “Imperialism, the Highest Stage of Capitalism”, in Selected Works, Moscow: Progress Publishers, 1975,
pp. 231-239.
ลิขสิทธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช