Page 167 - สังคมโลก
P. 167
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-61
นำ�ของเช เกบารา ชาวอาร์เจนตินา การก่อการร้ายด้วยการระเบิดเครื่องบินโดยสารและการก่อวินาศกรรมสถานที่
สำ�คัญและแหล่งชุมชนโดยขบวนการอัลกออิดะห์ของพวกอาหรับ เป็นต้น สภาพการณ์ดังกล่าวทำ�ให้มหาอำ�นาจและ
ประเทศต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อการร้าย กำ�หนดนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายเป็นประเด็นสำ�คัญในการ
ดำ�เนินการทางการเมืองระหว่างประเทศตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
2. ผลของสงครามดา้ นเศรษฐกจิ
สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อเศรษฐกิจ
ของสังคมโลก ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งประเทศที่ชนะและประเทศที่แพ้สงครามสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำ�นวนเงิน
ถึงราว 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำ�ให้ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นหนี้ต่างประเทศมากมาย ฝ่ายมหาอำ�นาจกลางผู้แพ้
สงครามยงั ถกู บบี บังคับใหช้ ดใชค้ า่ ปฏกิ รรมสงครามอกี จ�ำ นวนมาก ท�ำ ใหต้ อ้ งกูเ้ งนิ จากตา่ งประเทศมาชดใชห้ นี้สนิ และ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับผลกระทบจากการสู้รบของสงครามน้อยที่สุด กลายเป็นเจ้าหนี้ราย
ใหญ่ เพราะทุกฝ่ายต่างกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและบูรณะพัฒนาประเทศ เฉพาะฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามฝ่าย
เดียวก็กู้เงินจากสหรัฐอเมริกาถึง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ89 นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สกุลเงินดอลลาร์
สหรฐั ฯ จงึ แพรส่ ะพดั ไปทัว่ โลก และกลายเปน็ สกลุ เงนิ หลกั ของโลกในเวลาตอ่ มา ในขณะเดยี วกนั สหรฐั อเมรกิ ากก็ ลาย
เป็นมหาอำ�นาจที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่นั้นมา เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาใน
ค.ศ. 1930 ที่เริ่มต้นใน ค.ศ. 1929 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งล้มละลาย การลงทุนหยุดชะงัก และมีการ
เลิกจ้างงานจนมีคนว่างงานถึงประมาณ 7.5 ล้านคน เยอรมนีซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่จึงได้รับผลกระทบไปด้วย และ
ไม่สามารถชำ�ระหนี้ให้แก่ประเทศต่างๆ ได้ ต่อมาเศรษฐกิจก็ตกตํ่าไปทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบ
ไปด้วย เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศคู่ค้าที่สำ�คัญที่สุดของไทยในยุโรป และเงินสกุลบาทของไทยก็ผูกติดอยู่กับเงิน
ปอนด์สเตอริงของอังกฤษ เมื่ออังกฤษต้องประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็ทำ�ให้มีการ
ลดค่าเงินปอนด์สเตอริงลง การค้าขายที่ไทยทำ�กับอังกฤษจึงเกิดปัญหาอย่างมาก เพราะไทยไม่ยอมลดค่าเงินบาทตาม
ค่าเงินปอนด์สเตอริง ทำ�ให้สินค้าของไทยมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าว ข้าวและสินค้าอื่นๆ จึงขายไม่ออก ไม่ใช่เฉพาะ
กับอังกฤษเท่านั้น แต่รวมถึงกับทุกประเทศด้วย ทำ�ให้ฐานะทางการเงินและการคลังของไทยทรุดหนักจนถึงกับมีการ
ตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐลงอย่างมาก และทำ�การปลดข้าราชการออกจ�ำ นวนมาก อันเป็นสาเหตุหนึ่งแห่งความ
ล้มเหลวในการบริหารประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำ�ให้นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.247590
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อประเทศต่างๆ ยิ่งร้ายแรงกว่าในสมัยสงครามโลกครั้ง
ที่ 1 เพราะหลายประเทศเป็นสนามรบและได้รับความเสียหายอย่างมากจากสงคราม ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ ไม่ว่าจะเป็น
เยอรมนี ญีป่ ุน่ จนี สหภาพโซเวยี ต หรอื ประเทศอืน่ ๆ สมรภมู ไิ มไ่ ดจ้ ำ�กดั อยูเ่ ฉพาะในทวปี ยโุ รปเหมอื นกบั สงครามโลก
ครั้งที่ 1 การฟื้นฟูประเทศและชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามกระทำ�ได้ยากเนื่องจากหลายประเทศแทบจะล้มละลาย หลาย
ประเทศต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นมูลค่าสูงมาก อาทิ เยอรมนีต้องจ่ายชดเชยให้แก่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
เป็นมูลค่าถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรูปของสิทธิบัตรทางการค้า เงินทุน และการโอนบริษัทของเยอรมันที่อยู่
ในประเทศทั้งสอง นักวิทยาศาสตร์และนักเทคนิคเยอรมันถูกส่งไปยังสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตจ�ำ นวนมาก
89 กระมล ทองธรรมชาติ “สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมโลก หน่วยที่
8 นนทบุรี สำ�นักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2546 หน้า 414
90 อ่านรายละเอียดได้ใน อวยชัย ชะบา “การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 7” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์สังคมและ
การเมืองไทย หน่วยที่ 10 นนทบุรี สำ�นักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2552
ลิขสทิ ธิข์ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช