Page 166 - สังคมโลก
P. 166

7-60 สังคมโลก

มาใน ค.ศ. 1949 ก็มีสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มขึ้นอีกประเทศหนึ่ง สภาพการณ์ทางการเมืองที่โลกแบ่งออกเป็น 2
ขั้วเช่นนี้มีผลต่อการแข่งขันอำ�นาจระหว่างกันต่อมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ซึ่งเรียกว่ายุคสงครามเย็น ที่เป็นการต่อสู้
กันทางการเมือง การทูต และการโฆษณาชวนเชื่อ โดยมหาอำ�นาจทั้ง 2 ค่ายไม่มีความขัดแย้งถึงขั้นใช้กำ�ลังต่อกัน แต่
จะสนับสนุนให้ประเทศเล็กๆ ที่อยู่ในค่ายของตนต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามในลักษณะของสงครามตัวแทน

       การสิน้ สดุ ของสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เปน็ การประกาศชยั ชนะตอ่ การปกครองทีก่ ดขีท่ ารณุ ของบรรดามหาอ�ำ นาจ
ฟาสซิสต์ แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ถูกกดขี่เป็นอาณานิคมของมหาอำ�นาจผู้ชนะสงครามโดยเฉพาะจักรวรรดินิยม
องั กฤษและฝรัง่ เศส ประเทศอาณานคิ มเหลา่ นีจ้ งึ เริม่ เรยี กรอ้ งเอกราชและสทิ ธใิ นการปกครองตนเอง มกี ารทำ�สงคราม
ปลดแอกจากการครอบครองของมหาอำ�นาจทัง้ ในทวปี เอเชยี และแอฟรกิ า อาทิ ในพมา่ เวยี ดนาม และอินโดนีเซยี โดย
มสี หภาพโซเวยี ตใหก้ ารสนบั สนนุ เมือ่ ไดร้ บั เอกราชแลว้ ในหลายประเทศกไ็ ดเ้ กดิ สงครามกลางเมอื งระหวา่ งฝา่ ยรฐั บาล
ที่ได้อำ�นาจรัฐกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ต่อต้านรัฐบาลซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น
สงครามในกลุ่มประเทศอินโดจีน เป็นต้น

       หลังจากความล้มเหลวของการดำ�เนินงานของสันนิบาตชาติแล้ว สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ประชุมปรึกษา
หารือกันตั้งแต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอันที่จะจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อการรักษาสันติภาพและความ
มัน่ คงของโลกอนั ใหมข่ ึน้ มาแทนทีใ่ หท้ �ำ หนา้ ทไี่ ดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ องคก์ ารระหวา่ งประเทศใหมน่ ีจ้ ะมหี ลกั การในการ
ยอมรบั ทีจ่ ะใหร้ ฐั เลก็ ๆ มอี ธปิ ไตยและสทิ ธเิ ทา่ เทยี มกบั รฐั ใหญใ่ นการด�ำ เนนิ การตา่ งๆ ใน ค.ศ. 1945 จงึ ไดม้ กี ารจดั ตัง้ 	
องค์การสหประชาชาติขึ้น โดยมีมหาอำ�นาจหลัก 5 ชาติเป็นแกนนำ� ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพโซเวียต จีน
และฝรั่งเศส ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ดำ�เนินการอย่างมีประสิทธิภาพมาจนถึงปัจจุบัน

       ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความขัดแย้งและสงครามยังเกิดขึ้นทั่วไป มีสงครามใหญ่หลายครั้ง อาทิ
สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และสงครามอ่าวเปอร์เซีย เป็นต้น ความขัดแย้งและสงครามเหล่านี้ได้ก่อให้เกิด
การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคขึ้นหลายแห่ง องค์การประเภทที่มีวัตถุประสงค์ด้านการเมือง ความ
มั่นคง และการทหาร เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization) หรือนาโต้
(NATO) องค์การกติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Treaty Organization หรือ Warsaw Pact) องค์การสนธิสัญญา
ป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ส.ป.อ. (Southeast Asia Treaty Organization หรือ SEATO)
องค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization) หรือ เซนโต้ (CENTO) เป็นต้น องค์การประเภทที่มี
วัตถุประสงค์ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เช่น ประชาคมยุโรป (European Community
หรือ EC) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย	
ตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) องค์การเอกภาพ
แอฟริกา (Organization of African Unity หรือ OAU) เป็นต้น

       ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็เริ่มมีบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น มีการจัดตั้งองค์การ
ภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านสงครามและอาวุธปรมาณู อาทิ ขบวนการพักวอช (Pugwash Movement)	
คณะมนตรีสันติภาพแห่งโลก (World Peace Council) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีองค์การภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงผลจากสงคราม อาทิ สหกรณ์เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของ
ชาวอเมริกันในทุกพื้นที่ (Co-operative for American Relief Everywhere หรือ CARE) องค์การคอนเซิร์น
(CONCERN) เป็นต้น

       การที่มหาอำ�นาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบงำ�ประเทศต่างๆ ในสมัยหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการทำ�สงครามและการกดดันทางการเมือง ได้ก่อให้เกิดการต่อต้านโดยประเทศเล็กๆ หลาย
แห่ง ทั้งโดยการทำ�สงครามกองโจรและการทำ�สงครามก่อการร้าย อาทิ สงครามกองโจรในทวีปอเมริกาใต้ภายใต้การ

                             ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171