Page 161 - สังคมโลก
P. 161
สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-55
และแก่พลเมืองภายในรัฐ นอกจากนั้นยังมีการรับรองการเกิดรัฐเอกราชใหม่ที่แยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโรมันอัน
ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ซาวัว มิลาน เจนัว มันตัว ทัสคานี ลุกกา โมเดนา และปาร์มา อีกด้วย
สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลียถือได้ว่าเป็นที่มาของการเกิดรัฐชาติ (Nation state) สมัยใหม่79 นั่นคือ รัฐหรือ
อาณาจักรต่างๆ ได้รับหลักประกันเกี่ยวกับดินแดนที่มีเขตปักปันที่แน่นอน มีประชากรซึ่งมีความผูกพันกันทางด้าน
วฒั นธรรมและผลประโยชนร์ ่วมกนั และมอี ำ�นาจอธปิ ไตยในการบริหารปกครองโดยสมบรู ณ์ ซึ่งเปน็ องคป์ ระกอบของ
รัฐชาติสมัยใหม่ รัฐเหล่านี้จะเป็นรัฐที่ฆราวาสเป็นใหญ่ (secular state) หรือจะเป็นรัฐที่องค์กรทางศาสนาเป็นใหญ่
(clerical state) ก็ได้ แต่ต้องเป็นอิสระจากอำ�นาจภายนอกรัฐ ทำ�ให้อำ�นาจและบทบาทของพระสันตะปาปาและนคร
วาติกันในการแทรกแซงกิจการทางการเมืองของรัฐต่างๆ ลดลงไปมาก
สงครามทีม่ ผี ลส�ำ คญั ตอ่ การเมอื งระหวา่ งประเทศอกี เหตกุ ารณห์ นึง่ คอื สงครามนโปเลยี นระหวา่ ง ค.ศ. 1803-
1815 เมื่อจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้สงครามในเดือนเมษายน ค.ศ. 1814 ในเดือนกันยายนปีเดียวกันมหาอำ�นาจ
พันธมิตรผู้ชนะสงคราม 7 ชาติอันประกอบด้วย อังกฤษ ออสเตรีย รัสเซีย ปรัสเซีย สวีเดน สเปน และโปรตุเกส
ได้ประชุมร่วมกับฝรั่งเศสเพื่อจัดการเรื่องแบ่งปันเขตแดนและผลประโยชน์ ณ กรุงเวียนนาของจักรวรรดิออสเตรีย
ข้อตกลงของที่ประชุมเวียนนา (Congress of Vienna) กำ�หนดให้เสริมสร้างความมั่นคงเข้มแข็งแก่รัฐต่างๆ ที่มี
พรมแดนตดิ ตอ่ กบั ฝรัง่ เศส ใหผ้ ลตอบแทนเปน็ ดนิ แดนแกร่ ฐั ทเี่ ปน็ ฝา่ ยพนั ธมติ รผูช้ นะสงคราม และมกี ารฟืน้ ฟกู ษตั รยิ ์
ราชวงศ์เดิมของประเทศต่างๆ ที่มีมาก่อนหน้าสงครามนโปเลียนให้กลับไปครองราชย์ดังเดิม ได้แก่ ราชวงศ์ออรานจ ์
-นัสเซา (oranje-nassau) ของเนเธอร์แลนด์ ราชวงศ์บอร์บอน (Borbon) ของสเปน และราชวงศ์บูร์บง (Bourbon)
ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการทำ�ลายฐานอำ�นาจของราชวงศ์โบนาปาร์ต (Bonaparte) ของพระเจ้านโปเลียนที่ทรงแต่งตั้ง
พระญาติไปเป็นกษัตริย์ของประเทศต่างๆ ในช่วงที่พระองค์มีอำ�นาจ
ผลที่สำ�คัญยิ่งของที่ประชุมเวียนนาคือมีการจัดตั้งกลุ่มสัมพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Alliance) ของ
มหาอำ�นาจ 4 ประเทศที่มีกษัตริย์หรือจักรพรรดิเป็นประมุข จุดมุ่งหมายคือเพื่อต่อต้านและกำ�จัดพวกชาตินิยม พวก
เสรีนยิ ม และพวกสาธารณรฐั นยิ มในประเทศตา่ งๆ ในยโุ รปทีจ่ ะเป็นภยั ต่อระบอบราชาธปิ ไตย มหาอำ�นาจเหลา่ นีไ้ ดท้ ำ�
ขอ้ ตกลงสมั พนั ธมติ รสีฝ่ า่ ย (Quadruple Alliance) เพือ่ รว่ มกนั ดแู ลรกั ษาใหม้ กี ารปฏบิ ตั ติ ามขอ้ ตกลงของการประชมุ
เวียนนา โดยจะมาร่วมประชุมปรึกษาหารือกันเป็นครั้งคราวในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของยุโรปโดยส่วนรวมและ
ในยามที่มีวิกฤตการณ์ต่างๆ การประชุมนี้เรียกว่า Concert of Europe หรือความร่วมมือแห่งยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่ม
ต้นของการประชุมระหว่างประเทศของบรรดาผู้นำ�รัฐบาล และเป็นที่มาของการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศระดับ
มหาอ�ำ นาจเพื่อดูแลสถานการณใ์ นดา้ นตา่ งๆ ของโลกในเวลาต่อมา ใน ค.ศ. 1818 เมื่อฝรัง่ เศสใชห้ นี้สงครามหมดแล้ว
และการเมอื งการปกครองกม็ เี สถยี รภาพภายใตร้ ะบอบราชาธปิ ไตยของพระเจา้ หลุยสท์ ี่ 18 แห่งราชวงศบ์ รู บ์ ง ฝรัง่ เศส
ก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของที่ประชุมความร่วมมือแห่งยุโรป ซึ่งได้ขยายองค์การเป็นสัมพันธมิตรห้าฝ่าย80
2. ผลของสงครามด้านสังคม
สงครามในยุคสมัยใหม่ได้สร้างความเสียหายให้เกิดแก่มนุษยชาติและสังคมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสงครามใน
ยุคโบราณ การมีอาวุธปืนทำ�ให้อำ�นาจการทำ�ลายล้างมีมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าสงครามยุคสมัย
ใหม่จะมีผลทำ�ให้ผู้คนเสียชีวิตมากกว่าหรือบ้านเรือนถูกทำ�ลายมากกว่าสงครามในยุคโบราณ เพราะสงครามในอดีต
79 “Nation state”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Nation_state, (14/8/2553); Charles
Debbasch et Yves Daudet, “ètat”, Lexique de termes politiques, Paris: Dalloz, 1974, p.94; “Treaty of Westphalia”, http://avalon.
law.yale.edu/17th_century/westphalia.asp, (14/8/2553)
80 มณีมัย อ้างแล้ว หน้า 111-114
ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช