Page 160 - สังคมโลก
P. 160
7-54 สังคมโลก
บัพพาชนียกรรมไล่ออกจากการเป็นคริสต์ศาสนิกชน หมดความชอบธรรมที่จะปกครองรัฐ และขุนนางหรือพลเมือง
ของรัฐนั้นก็สามารถโค่นล้มลงจากอำ�นาจได้โดยความเห็นชอบของศาสนจักร นอกจากนั้นพระในคริสต์ศาสนาที่อยู่
ในรัฐต่างๆ ก็ขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา และมีอำ�นาจมากในหลายด้าน ทั้งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การศึกษา
กิจกรรมทางสังคม และการให้คำ�ปรึกษาราชการงานเมืองแก่ผู้ปกครองรัฐ โบสถ์และธรณีสงฆ์เป็นอิสระจากอำ�นาจรัฐ
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีรายได้ขององค์กรศาสนา และมีข้าพระหรือผู้ใช้แรงงานในบังคับบัญชาของโบสถ์เอง
ในปลายยุคกลางของยุโรป สังคมเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการรู้แจ้ง (Renaissance) ความเจริญก้าวหน้าทาง
ศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ เริ่มมีมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ในหลายแขนงเริ่มค้นพบความรู้ใหม่ที่ขัดแย้งกับคำ�สอน
ของคริสต์ศาสนา เช่น นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ชื่อ นิโคลาอุส โกแปร์นิกุส (Nicolaus Copernicus) และ
นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อกาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) ได้แย้งคำ�สอนของศาสนาคริสต์ที่ว่าพระเจ้าสร้าง
โลกให้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยยืนยันว่าโลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ และระบบสุริยะก็เป็น
ระบบย่อยในกาแลกซีทางช้างเผือกซึ่งเป็น 1 ในหลายกาแลกซีในจักรวาล ทำ�ให้นักดาราศาสตร์ทั้ง 2 คนถูกลงโทษจาก
ฝ่ายศาสนจักร เป็นต้น เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ก็มีความลำ�บากในการบริหารบ้านเมืองเพราะมักถูกองค์กรทางศาสนา
แทรกแซงในนโยบายต่างๆ และบ่อยครั้งที่ผลประโยชน์และจุดมุ่งหมายของศาสนจักรกับของอาณาจักรไม่ตรงกัน จึง
เริ่มมีแนวความคิดที่จะแยกอำ�นาจของบ้านเมืองให้เป็นอิสระจากอำ�นาจของศาสนา นักปรัชญาการเมืองอย่างนิกโกโล
มาเคียเวลลี ชาวอิตาลี และโทมัส ฮอบส์ ชาวอังกฤษ ต่างก็สนับสนุนให้เจ้าผู้ปกครองแคว้นมีอ�ำ นาจเด็ดขาดเหนือทุก
ฝ่าย รวมทั้งฝ่ายศาสนจักรด้วย
ที่สำ�คัญคือบรรดาพระในคริสต์ศาสนาเองหลายรูปต่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำ�สอนและอำ�นาจของ
พระสันตะปาปาในหลายเรื่อง เช่น การจ่ายเงินเพื่อล้างบาป การเรี่ยไรเงินและครอบครองทรัพย์สินอย่างมหาศาลของ
โบสถ์ การที่สำ�นักวาติกันยุ่งเกี่ยวและครอบงำ�ทางการเมืองของรัฐต่างๆ ตลอดจนการที่พระผูกขาดการเป็นตัวกลาง
ในการติดต่อระหว่างศาสนิกชนกับพระเจ้า เป็นต้น โดยพระเหล่านี้ยืนยันสิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะสามารถเข้าถึง
พระเจ้าได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านองค์กรทางศาสนา อีกทั้งสนับสนุนเจ้าผู้ปกครองรัฐและประชาชนในทุกประเทศ
ให้เป็นอิสระทางการเมืองจากสำ�นักวาติกัน ตัวอย่างเช่น จอห์น ไวคลีฟ (John Wycliffe) ชาวอังกฤษ มาร์ติน ลูเธอร์
(Martin Luther) ชาวเยอรมัน เดซิเดริอุส เอราสมุส โรเตโรดามุส (Desiderius Erasmus Roterodamus) ชาว
เนเธอรแ์ ลนด์ จอหน์ นอ็ กซ์ (John Knox) ชาวสกอ๊ ตแลนด์ อลุ รคิ สวงิ ลี (Ulrick Swingli) ชาวสวสิ และ ชอ็ ง กาลแวง็
(Jean Calvin) ชาวฝรั่งเศส เป็นต้น พระเหล่านี้เริ่มแปลคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาลาตินที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์แต่ประชาชน
ทั่วไปไม่เข้าใจมาเป็นภาษาประจำ�ชาติของตนและเทศน์สั่งสอนประชาชนเป็นภาษาท้องถิ่น78 ความขัดแย้งทางศาสนา
และการเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ได้เกิดสงครามขึ้นใน ค.ศ. 1618 โดยเริ่มต้นจากการรบระหว่างรัฐต่างๆ ใน
อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งแตกแยกออกเป็นฝ่ายที่สนับสนุนพระสันตะปาปาซึ่งเรียกว่าฝ่ายนิกายโรมันคาทอลิก
กับฝ่ายที่ต้องการเป็นอิสระจากสำ�นักวาติกันซึ่งเรียกว่าฝ่ายนิกายโปรเตสแตนต์ ต่อมาสงครามได้ขยายออกไปทั่ว
ทวีปยุโรป ฝ่ายโปรเตสแตนต์ประกอบด้วย สวีเดน โบฮีเมีย ฝรั่งเศส แซกซอน อังกฤษ บรุนสวิก-ลือเนบวร์ก บราน
เดนบวร์ก-ปรัสเซีย ทรานซิลเวเนีย สาธารณรัฐฮังการี เยอรมัน อาณาจักรออตโตมาน เดนมาร์กและนอร์เวย์ (ระหว่าง
ค.ศ. 1625-1629) ฝ่ายโรมันคาทอลิกประกอบด้วย อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ออสเตรีย บาวาเรีย ราชอาณาจักร
ฮังการี โครเอเทีย สเปน เดนมาร์กและนอร์เวย์ (ระหว่าง ค.ศ. 1643-1645) สงครามดำ�เนินไปเป็นเวลา 30 ปีจึงยุติ
ลงใน ค.ศ. 1648 โดยมีการทำ�สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลียที่มีข้อตกลงเรื่องการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่รัฐต่างๆ
78 รุ่งพงษ์ ชัยนาม “ฟร็องโกโฟนี: ประชาคมที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส” วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2546
หน้า 56
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช