Page 163 - สังคมโลก
P. 163

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-57

ได้ขึ้นภาษีที่ขุนนางต้องส่งมอบท้องพระคลังใน ค.ศ. 1205 เพราะพระองค์ต้องการใช้เงินเพื่อทำ�สงครามกับฝรั่งเศส
ทำ�ให้บรรดาขุนนางไม่พอใจจนเกิดข้อขัดแย้งกับกษัตริย์ ในที่สุดขุนนางก็ใช้กำ�ลังทหารบีบบังคับให้พระเจ้าจอห์น
ต้องตรามหากฎบัตร (Magna Carta) ใน ค.ศ. 1215 เพื่อยอมลดพระราชอำ�นาจของกษัตริย์ลงและให้เสรีภาพแก่
ขุนนางและราษฎรมากขึ้น

       ในระหว่างสงคราม 7 ปที ี่อังกฤษท�ำ การตอ่ สู้แย่งชิงอาณานิคมในดินแดนตา่ งๆ กบั ฝรัง่ เศสนัน้ รฐั บาลองั กฤษ
สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้กู้ยืมเงินจำ�นวนมหาศาลจากนายธนาคารอังกฤษและนายธนาคารเนเธอร์แลนด์มาเป็น	
ค่าใช้จ่ายในการทำ�สงคราม หนี้ 75 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 1754 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 133 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 1763 เมื่อต้อง
ชำ�ระหนีร้ ัฐบาลอังกฤษจึงไดเ้ รียกเกบ็ ภาษีสนิ ค้าจากประชาชนเพิม่ ขึ้นมากมาย มีทัง้ ภาษีเกลอื นํ้าตาล ยาสบู เบียร์ และ
สุรา ทำ�ให้ประชาชนในอังกฤษได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ใน ค.ศ. 1763 ก็ได้เรียกเก็บภาษีนํ้าตาลจากอาณานิคม
ในทวีปอเมริกาเหนือ และต่อมาใน ค.ศ. 1765 ก็ได้กำ�หนดให้มีภาษีแสตมป์ซึ่งเก็บจากการทำ�สิ่งพิมพ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น
อีก ทำ�ให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจและต่อต้าน ในที่สุดรัฐสภาอาณานิคม (Congress) ได้มีมติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ
แสตมป์ (Stamp Act Resolves)85 ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับอาณานิคมอเมริกาในเรื่องภาษีนี้ได้เป็นสาเหตุ
หนึ่งที่ทำ�ให้เกิดสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1775

       ใน ค.ศ. 1798 วิลเลียม พิท (william Pitt) นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ออกกฎหมายเรียกเก็บภาษีรายได้ของ
บุคคลธรรมดา แล้วหักเอาร้อยละ 10 ของภาษีที่เก็บได้นำ�ไปใช้จ่ายในการจ้างทหารและซื้ออาวุธเพื่อทำ�สงครามกับ	
นโปเลียน และใน ค.ศ. 1842 รัฐบาลอังกฤษก็ได้กำ�หนดให้มีการเก็บภาษีในลักษณะนี้อีก86

       ในสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับสเปน ค.ศ. 1898 ที่เกิดขึ้นในคิวบา เปอร์โตริโก ฟิลิปปินส์ และเกาะกวม
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ได้เก็บภาษีเพื่อการทำ�สงคราม (War Tax) จากประชาชนเช่นกัน ทำ�ให้ประชาชนได้รับความ
เดือดร้อนและมีบางส่วนซึ่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวได้ทำ�การต่อต้าน

       สงครามก่อให้เกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจของรัฐที่เกี่ยวข้อง ลำ�พังงบประมาณทางทหารตามปกติที่มาจาก
การเก็บภาษีย่อมไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในยามสงคราม ในช่วงสงคราม 30 ปีรัฐต่างๆ ของเยอรมันต้องกู้เงินจาก
บรรดาขุนนางเจา้ ที่ดนิ ทีร่ ํา่ รวย พ่อค้าคหบดี และทหารทีต่ ักตวงสะสมทรพั ย์สินจากการทำ�สงคราม เป็นมลู คา่ มหาศาล
ตัวอย่างเช่น รัฐนูเรมเบิร์กรัฐเดียวในต้นสงครามเมื่อ ค.ศ. 1618 ต้องเป็นหนี้ถึง 1.8 ล้านกุลเดน (gulden) และเมื่อ
สงครามยุติใน ค.ศ. 1648 หนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่าคือ 7.4 ล้านกุลเดน สภาวะสงครามทำ�ให้การผลิตสินค้าการเกษตร
และหัตถกรรมต้องหยุดชะงักหรือลดลง นอกจากผู้ชายจะถูกเกณฑ์ไปรบแล้วยังเกิดโรคระบาดทั่วไป พลเรือนถูก
ทารุณกรรมและสังหาร บ่อยครั้งที่ชาวนาและชาวบ้านถูกทหารทั้ง 2 ฝ่ายไล่ออกจากบ้านเรือนและที่ดินเพื่อจะยึดเอา
เป็นที่ตั้งค่ายหรือที่พักทหาร ทำ�ให้หมดหนทางทำ�มาหากิน นอกจากนั้นยังถูกปล้น ฆ่า หรือบีบบังคับเอาทรัพย์สินและ
เสบยี งอาหารอยูเ่ สมอๆ ตลอดระยะเวลาของสงคราม ชาวเมอื งชวาบชิ ฮาล (Schwabisch Hall) ตอ้ งบริจาคทรัพยส์ ิน
เงินทองให้แก่ทหารฝ่ายต่างๆ ที่เดินทัพผ่านถึง 3.5 ล้านกุลเดน สงคราม 30 ปีจึงเป็นการทำ�ลายความเจริญรุ่งเรือง
ทางเศรษฐกิจของรัฐต่างๆ ในเยอรมันที่เคยมีมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะเป็นสนามรบหลักในสงครามครั้งนี้87

	 85 “1756-1776: The Seven Years War to the American Revolution”, Tax History Museum, http://www. taxanalysts.
com/museum/1756-1776.htm	
	 86 “History of war tax resistance”, http://www.peacetaxseven.com/history.html (14/8/2553)	
	 87 Geoffrey Parker and Simon Adam, The Thirty Years’ War, (Second edition), New York: Routledge & Kegan Paul,
1997, pp.179-181.	

                              ลิขสทิ ธ์ิของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168