Page 158 - สังคมโลก
P. 158
7-52 สังคมโลก
ทาส พลเมืองจีนในสมัยราชวงค์ซ่งลดลงราวครึ่งหนึ่ง76 ผู้คนอพยพหนีภัยสงครามจำ�นวนมากจนทำ�ให้หลายเมืองใน
เปอร์เซียและดินแดนอาหรับกลายเป็นเมืองร้าง และเมืองที่อยู่ไกลออกไปก็แออัดหนาแน่นด้วยผู้ลี้ภัยสงคราม
สงครามในครัง้ นีก้ องทพั มองโกลเคลือ่ นพลผา่ นหลายเมอื งในหลายดนิ แดนทำ�ใหม้ กี ารแตง่ งานผสมกลมกลนื
ระหว่างผู้รุกรานกับชาวพื้นเมืองหลายชนชาติ การอพยพของผู้ลี้ภัยสงครามไปยังดินแดนอื่นก็ก่อให้เกิดการย้าย
ถิ่นฐานและกลายเป็นชนกลุ่มน้อยในแว่นแคว้นต่างๆ นอกจากนั้นในการทำ�สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมองโกลกับ
อาณาจกั รตา่ งๆ ก็มีการใช้การแตง่ งานเปน็ เครือ่ งมือในการผูกไมตรี อาทิ มกี ารอภิเษกสมรสระหว่างเจ้านายในราชวงศ์
หยวนของมองโกลที่ปกครองจีนกับเจ้านายในราชวงศ์โคเรียวของเกาหลี คือ เจ้าหญิงคีฮวงฮูแห่งราชวงศ์โคเรียวทรง
อภิเษกสมรสกับโตกุนเตมืรข่านแห่งราชวงศ์หยวน และกษัตริย์ชุงเนียลวังแห่งอาณาจักรโคเรียวก็มีพระมเหสีเป็น
พระธิดาของจักรพรรดิกุบไลข่าน ที่ทรงพระนามว่าเจ้าหญิงคูตุกเบกี เป็นต้น77 ซึ่งประเพณีดังกล่าวถือปฏิบัติ
ตลอดสมัยที่ราชวงศ์หยวนมีอำ�นาจปกครองจีนกว่า 80 ปี
ผลของสงครามอีกประการหนึ่งคือเกิดการแพร่กระจายของวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ ในกรณีที่ผู้รุกราน
และครอบครองดินแดนอื่นเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมเจริญก้าวหน้ากว่าก็จะเป็นฝ่ายถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมือง
การปกครอง จารีตประเพณี วิถีชีวิตในสังคม และศาสนาไปให้แก่ชนชาติที่ถูกปกครอง อาทิ การเมืองการปกครอง
ระบบกฎหมาย และตัวอักษรโรมันที่จักรวรรดิโรมันนำ�ไปเผยแพร่ในดินแดนอาณานิคมต่างๆ เป็นต้น ในทางตรงกัน
ข้าม ชนชาติที่ชนะสงครามอาจเข้มแข็งทางทหาร แต่ล้าหลังทางด้านอารยธรรมกว่าดินแดนที่เข้าไปยึดครอง จึงเป็น
ฝ่ายที่ต้องรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาเป็นแบบแผนในสังคม เช่น ราชวงศ์หยวนซึ่งเป็นชนชาติมองโกลที่ปกครอง
จักรวรรดิจีนได้รับเอาราชประเพณีหลายอย่างของจีนและภาษาจีนมาใช้ในราชสำ�นัก รวมถึงพุทธศาสนาที่มองโกลรับ
มาจากทิเบตด้วย
สงครามนอกจากจะทำ�ลายชวี ติ มนษุ ย์ วตั ถุ เคหะสถาน และนเิ วศแลว้ ยงั สามารถทำ�ลายวฒั นธรรมความเชือ่
และจติ วญิ ญาณของคนในสงั คมไดอ้ กี ดว้ ย ในการรกุ รานอนิ เดยี ของพวกมสุ ลมิ อาหรบั ในครสิ ตศ์ ตวรรษที่ 8 จนถงึ การ
โจมตีของพวกมุสลิมตุรกีในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ได้มีการทำ�ลายพุทธศาสนาทั้งโดยการฆ่าพระภิกษุสงฆ์และฆารวาส
ชาวพุทธ การทำ�ลายวัดและพุทธสถานหลายแห่ง ตลอดจนการบังคับให้ชาวพุทธเปลี่ยนศาสนา ซึ่งทำ�ให้พุทธศาสนา
ต้องสูญสิ้นไปจากอินเดียเกือบสิ้นเชิง แต่ศาสนาอิสลามก็ไม่สามารถทำ�ลายศาสนาฮินดูที่แข็งแกร่งและเป็นรากฐาน
แห่งอารยธรรมอินเดียมายาวนานกว่า 3 พันปีได้ ผลของการรุกรานของศาสนาอิสลามในอินเดียทำ�ให้สังคมอินเดีย
เกิดความขัดแย้งทางศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างชาวฮินดูและชาวมุสลิม ซึ่งคงอยู่มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21
กจิ กรรม 7.3.1
จงกลา่ วถึงผลทางการเมืองของสงครามยุคโบราณมาโดยสังเขป
76 Ping-ti Ho, “An Estimate of the Total Population of Sung-Chin China, in tudes Song, Sèries 1, No.1 (1970), pp.33-35,
cited in” Destruction under Mongol Empine”, Wikipedia, the free Encyclopedia, http://en.org/wiki/ Destruction_under_Mon-
gol_Empire#cite_note-4, (14/8/2553)
77 “Kublai kahn”, Wikipedia, the free encyclopedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Kublai_kahn, (14/8/2553)
ลขิ สิทธข์ิ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช