Page 174 - สังคมโลก
P. 174

7-68 สังคมโลก

เรอ่ื งที่ 7.4.1
การระงบั สงครามและการสร้างสันติภาพโดยรัฐ

       ในการด�ำ เนนิ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งประเทศรฐั เปน็ ตวั แสดงทีม่ บี ทบาทส�ำ คญั ทีส่ ดุ ดงั นัน้ ในการสรา้ งสนั ตภิ าพ
ให้เกิดขึ้นแก่สังคมโลก รัฐจึงมีบทบาทอย่างมากในการป้องกันและระงับมิให้สงครามเกิดขึ้น การกำ�หนดนโยบาย
ต่างประเทศ การดำ�เนินการทางการเมืองและการทูต ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า ตลอดจนความร่วมมือ
ทางสังคมและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำ�คัญยิ่ง รัฐสามารถดำ�เนินการระงับสงครามและสร้างสันติภาพได้หลายวิธี ดังนี้

1. 	 การเจรจาทางการทตู (Diplomatic Negotiation)

       การเจรจาทางการทูตอาจกระทำ�โดยนักการทูตมปี ระจ�ำ อยูร่ ัฐตา่ งๆ หรอื โดยนกั การทตู ทีถ่ ูกสง่ ไปชั่วคราวเพื่อ
ภารกิจโดยเฉพาะ หรือโดยประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลโดยตรง

       นับตั้งแต่สมัยโบราณการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐกระทำ�โดยการส่งคณะทูตไปยังราชสำ�นักของ
ต่างประเทศเพื่อยื่นถวายสาส์นขอเปิดความสัมพันธ์ระหว่างกันทางการค้าหรือขอทำ�ความร่วมมือกันในด้านความ
มั่นคง การเดินทางไปพบปะติดต่อกันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐมีน้อยมากเนื่องจากระยะทางและระยะเวลาด้าน
การคมนาคม ในกรณีที่มีข้อพิพาทระหว่างรัฐ การส่งทูตไปเจรจากับคู่กรณีเพื่อชี้แจงปัญหาและไกล่เกลี่ยระงับข้อขัด
แย้งก็เป็นสิ่งสำ�คัญยิ่ง ทูตเป็นผู้ส่งสาส์นของประมุขแห่งรัฐหรือเป็นตัวแทนของประมุขแห่งรัฐที่ถูกส่งไปเจรจาความ
เมือง การดำ�เนินการทางการทูตจึงได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู การทำ�ร้าย
หรือสังหารทูตถือว่าเป็นการกระทำ�ที่รุนแรงถึงขั้นประกาศสงครามระหว่างกันเลยทีเดียว

       ในการประชมุ ระหวา่ งผูแ้ ทนทางการทตู ของนครรฐั ตา่ งๆ ของกรกี ทีน่ ครรฐั สปารต์ าในปที ี่ 431 กอ่ นครสิ ตกาล
เพื่อเจรจาหาทางยุติข้อขัดแย้งระหว่างนครรัฐต่างๆ ผู้แทนของนครรัฐเอเธนส์ได้รับอนุญาตให้กล่าวอธิบายเหตุผล
ของการดำ�เนินนโยบายและการแสดงท่าทีของฝ่ายตนอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถโน้มน้าวนครรัฐสปาร์ตาและกลุ่ม
พันธมิตรเปโลโปนเนเซีย (Peloponnesia) ไม่ให้ทำ�สงครามได้สำ�เร็จ กษัตริย์เปลอิสโตอานักซ์ (Pleistoanax) แห่ง
สปาร์ตาไม่พอใจจึงประกาศสงครามกับนครรัฐเอเธนส์และพันธมิตรสันนิบาตเดเลียน (Delian League) อันเป็นที่มา
ของสงครามเปโลโปนเนเซีย และเมื่อประกาศสงครามแล้ว ทูตของนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเป็นคู่สงครามของนครรัฐสปาร์ตา
ก็ยังได้รับการคุ้มครองให้เดินทางกลับนครรัฐของตนอย่างปลอดภัย101

2. 	 การดำ�เนินนโยบายตา่ งประเทศเพื่อสนั ติภาพ (Foreign Policy for Peace)

       ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น เนวิล แชมเบอร์เลน (Neville Chamberlain) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
ได้ใช้นโยบายทางการทูตแบบเอาใจ (Appeasement Policy) เพื่อโน้มน้าวเยอรมนีให้หลีกเลี่ยงการทำ�สงคราม โดย
สนับสนนุ ใหม้ กี ารแก้ไขสนธสิ ัญญาแวรซ์ ายส์ทีเ่ อารัดเอาเปรยี บเยอรมนีผูแ้ พส้ งครามโลกครัง้ ที่ 1 ต่อมาใน ค.ศ. 1938
เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำ�เยอรมันดำ�เนินนโยบายผนวกดินแดน (Anschluss) โดยผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่ง
ของเยอรมนี และเรียกร้องที่จะรวมเอาแคว้น สุเดเตนของเชโกสโลวะเกียเข้ามาด้วย แม้อังกฤษและฝรั่งเศสจะไม่
พอใจเยอรมนี แต่แชมเบอร์แลนก็ได้พยายามแนะนำ�ให้เอดูอาร์ด เบเนช (Eduard BeneŠ) ประธานาธิบดีเชโกส-	

	 101 สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ “การทูต” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 9 นนทบุรี สำ�นักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2533 หน้า 447	

                             ลิขสทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179