Page 176 - สังคมโลก
P. 176
7-70 สังคมโลก
ปรารถนาดีที่จะให้การเจรจาประสบความสำ�เร็จ แต่ก็จะไม่เข้าแทรกแซงให้ข้อเสนอแนะใดๆ ในเรื่องที่เจรจา และคู่
กรณีก็มีอิสระที่จะตอบรับหรือปฏิเสธความเอื้อเฟื้อในการจัดเจรจานี้ได้103 รัฐที่ช่วยเหลือจัดเจรจาให้นี้ไม่จำ�เป็นต้อง
เป็นประเทศใหญ่หรือมหาอำ�นาจ แต่อาจเป็นประเทศเล็กๆ ที่คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายให้ความไว้วางใจ หรือมีสัมพันธภาพ
อันดี หรือเป็นรัฐที่เป็นกลาง โดยคู่ขัดแย้งมีสิทธิที่จะเลือกผู้จัดเจรจาได้โดยเสรีและไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ในปัจจุบัน
การจัดเจรจานิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การอำ�นวยความสะดวก” (Facilitation) และผู้จัดเจรจาเรียกว่า “ผู้อำ�นวย
ความสะดวก” (Facilitator)
สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวอย่างที่ดีของรัฐผู้ให้ความเอื้อเฟื้อจัดเจรจาระหว่างประเทศมาเป็นระยะเวลานานซึ่งมี
จำ�นวนนับหลายกรณี ความเป็นกลางที่ถาวรและยาวนานของสวิตเซอร์แลนด์ทำ�ให้นานาประเทศนิยมชมชอบและให้
ความไว้วางใจในการดำ�เนินการเพื่อจัดเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง ในทศวรรษที่ 1990 ข้อขัดแย้งทางการเมือง 42 กรณี
ยุติลงได้ด้วยการจัดเจรจาของสวิตเซอร์แลนด์ และในทศวรรษที่ 2000 สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้จัดเจรจาอีก 20 ครั้งซึ่ง
มีประเทศที่เกี่ยวข้องในสงครามและความขัดแย้งเข้าร่วมเจรจา 15 ประเทศ นครเจนีวาซึ่งเป็นศูนย์กลางการประชุม
ระหว่างประเทศและเป็นอดีตที่ตั้งของสำ�นักงานใหญ่แห่งองค์การสันนิบาตชาติเป็นสถานที่ถาวรสำ�หรับการจัดเจรจา
มาโดยตลอด ตัวอย่างของความสำ�เร็จในการยุติข้อขัดแย้งและสงคราม ได้แก่ การเจรจาระหว่างรัฐบาลเนปาลกับ
ขบวนการคอมมิวนิสต์เหมาเจ๋อตงในเนปาล การเจรจาระหว่างกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติของรัฐบาลโคลัมโบกับกอง
กำ�ลังปฏิวัติโคลัมโบ การเจรจาระหว่างรัฐบาลศรีลังกากับกลุ่มพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม เป็นต้น (ในกรณีการ
เจรจาระหว่างรัฐบาลศรีลังกากับกลุ่มพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมนี้ อีก 2 ประเทศที่มีบทบาทสำ�คัญในการจัดเจรจา
คือนอร์เวย์และไทย) ใน ค.ศ. 2010 รัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์ได้อนุมัติงบประมาณ 240 ล้านฟรังก์สวิสเพื่อดำ�เนินการ
ส่งเสริมสันติภาพและสิทธิมนุษยชน104 ซึ่งการจัดเจรจาก็เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าว
5. การเปน็ ผู้ไกลเ่ กลี่ยใหค้ กู่ รณี (mediation)
รัฐที่สามซึ่งมีศักยภาพมากกว่าคู่กรณีหรือคู่สงคราม ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร เศรษฐกิจ หรือการเมือง
ระหว่างประเทศ อาจจัดให้มีการเจรจาสันติภาพเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยกำ�หนดสถานที่และจัดความสะดวก
ต่างๆ ให้ ประเทศที่สามจะเข้าร่วมในกระบวนการเจรจาปรึกษาหารือด้วย และมีบทบาทในการช่วยหาหนทางยุติความ
ขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยพยายามให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์และความพึงพอใจมากที่สุด อันจะนำ�ไปสู่
ความเข้าใจอันดีระหว่าง 2 ฝ่าย105 ในขณะเดียวกันประเทศที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยก็อาจได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ตัวอย่าง
ของการไกล่เกลี่ย ได้แก่ การประชุมสุดยอดที่แคมป์เดวิด (Camp David) ใน ค.ศ. 2000 ระหว่างเอฮุด บารัก (Ehud
Barak) นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กับยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์
(Palestine Liberation Organization: PLO) โดยมีประธานาธิบดีบิล คลินตัน (Bill Clinton) แห่งสหรัฐอเมริกา
เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งการเจรจายังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับสถานภาพขั้นสุดท้าย (final status settlement)
ของดินแดนอิสลาเอลและปาเลสไตน์ โดยมีเพียงการกำ�หนดหลักการว่าจะมีการเจรจาครั้งต่อไปในอนาคต เป็นต้น
6. การจำ�กัดและการลดกำ�ลังทหารและอาวธุ (Forces and Arms limitation)
ประเทศตา่ งๆ ไดม้ กี ารท�ำ ขอ้ ตกลงเกีย่ วกบั การผลติ อาวธุ การลดอาวธุ การจ�ำ กดั การใชอ้ าวธุ ตลอดจนการคา้
อาวุธประเภทต่างๆ มาโดยตลอดเพื่อยับยั้งสงครามและลดความรุนแรงของสงครามลง อาทิ ในการประชุมสันติภาพ
103 Charles Debbasch et Yves Daudet, “Bon Office”, Lexique de termes politique, Paris: Dalloz, 1974, p. 22.
104 http://www.swissinfo.ch/eng/politics/foreign_affairs/Switzerland_overhauls_its_good_offices.html?cid=6575814
105 Debbasch et Daudet, “Mèdiation”, op.cit., pp. 154-155.
ลิขสทิ ธ์ิของมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช