Page 181 - สังคมโลก
P. 181

สงครามกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก 7-75

ระหว่างประเทศ108 รัฐสมาชิกจะต้องให้ความช่วยเหลือทุกประการแก่สหประชาชาติในการดำ�เนินการต่างๆ ที่เป็นไป
ตามกฎบตั รซึง่ เปน็ หลกั การของระบบความมัน่ คงรว่ มกนั (Collective Security) นอกจากนัน้ รฐั ทีม่ ไิ ดเ้ ปน็ สมาชกิ ของ
สหประชาชาตกิ ต็ อ้ งปฏบิ ตั ติ ามหลกั การนีเ้ ทา่ ทีจ่ �ำ เปน็ ส�ำ หรบั การด�ำ รงไวซ้ ึง่ สนั ตภิ าพและความมัน่ คงระหวา่ งประเทศ109

       เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นการดำ�เนินการเพื่อรักษาสันติภาพและระงับข้อพิพาทอาจริเริ่มได้จาก 3 องค์กรหลัก
ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง และเลขาธิการ รวมถึงรัฐสมาชิกที่นำ�เรื่องเสนอต่อคณะมนตรีความ	
มั่นคงหรือสมัชชาใหญ่ด้วย110 แต่การกำ�หนดวิธีการและการปฏิบัติการระงับข้อพิพาทเป็นหน้าที่หลักของคณะมนตรี
ความมัน่ คง111 นอกเหนอื จากการเจรจาและการไกลเ่ กลีย่ ซึง่ เปน็ มาตรการทางการทตู แลว้ สหประชาชาตแิ ละรฐั สมาชกิ
ยังสามารถใช้วิธีการไต่สวน อนุญาโตตุลาการ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีได้อีก
ด้วย

       การไตส่ วน (Enquiry)
       การไต่สวนเป็นกระบวนการสืบหาข้อมูล ข้อเท็จจริง และหลักฐานของความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพื่อหา
หนทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงอาจสืบสวนกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
ที่อาจนำ�ไปสู่การกระทบกระทั่งกันด้วยกำ�ลัง หรือเป็นกรณีที่สถานการณ์การปะทะกันด้วยกำ�ลังได้เกิดขึ้นแล้วและน่า
จะเป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศได้112
       ตัวอย่างของการไต่สวนคือ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 ได้เกิดกรณีที่เรือรบของอิสราเอลโจมตีกองเรือ
คาราวาน 6 ลำ�ของเอกชนซึ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมเพื่อสันติภาพที่กำ�ลังลำ�เลียงเครื่องอุปโภคบริโภคจากประเทศไซปรัส
ไปช่วยเหลือประชาชนชาวอาหรับในเขตฉนวนกาซา ระหว่างแล่นอยู่ในน่านนํ้าสากล ทำ�ให้มีพลเรือนเสียชีวิต 9 คน
และบาดเจ็บอีกกว่าสิบคน ที่จริงแล้วความพยายามที่จะฝ่าการปิดกั้นน่านนํ้าของอิสราเอลโดยองค์การเอกชนเพื่อ
ให้ความช่วยเหลือดังกล่าวมีมาหลายปีแล้ว แต่ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สามารถฝ่าเข้าไปได้สำ�เร็จ หลังจากการโจมตี
กองเรือคาราวาน ทางการอิสราเอลได้นำ�เรือเหล่านี้เข้าเทียบท่าอิสราเอลและส่งผู้บาดเจ็บพร้อมคนที่เหลือขึ้นฝั่ง แล้ว
ยินยอมใหส้ ่งสิง่ ของช่วยเหลือต่างๆ ไปยงั ฉนวนกาซาได้ การปฏบิ ตั กิ ารทางทหารของอสิ ราเอลในครัง้ นี้อาจนำ�มาซึง่ ข้อ
ขัดแย้งและความรุนแรงกับฝ่ายปาเลสไตน์และกลุ่มประเทศอาหรับได้ นายฮาร์รี่ ฟาน บอมเมล (Harry van Bom-
mel) สมาชิกรัฐสภาของเนเธอร์แลนด์จึงได้ร้องเรียนไปยังสหประชาชาติให้ทำ�การไต่สวนกรณีดังกล่าว ซึ่งนายบัน	
คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติได้ตอบรับ โดยเสนอให้มีการไต่สวนโดยคณะกรรมการที่มีเซอร์จอฟฟรี พัลเมอร์ (Sir
Geoffrey Palmer) อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ชำ�นาญการด้านกฎหมายระหว่างประเทศทางทะเล เป็น
หัวหน้าคณะ แต่นายเบนยามิน เนตันยาฮู (Benjamin Netanyahu) นายกรัฐมนตรีอิสราเอล บอกปัดข้อเสนอ	
โดยกล่าวว่าอิสราเอลเป็นรัฐเอกราช การสืบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวสามารถกระทำ�ได้เองโดยไม่ต้องอาศัย	
คณะกรรมการไต่สวนระหว่างประเทศใดๆ มาจัดการ จึงทำ�ให้สหประชาชาติไม่สามารถดำ�เนินการใดๆ ต่อไปได้113
เป็นต้น

	 108 เชิดชาย เหล่าหล้า พันเอก (พิเศษ) สหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร แพร่พิทยา 2516 หน้า 903	
	 109 เพิ่งอ้าง หน้า 886	
	 110 ข้อ 35 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ	
	 111 หมวดที่ 6 การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี และหมวดที่ 7 การดำ�เนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ
และการกระทำ�การรุกราน แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ	
	 112 ข้อ 34 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ	
	 113 http://international.sp.nl/bericht/45247/100531-sp-demands_un_enquiry_into_israeli_attack.html; http://www.
telegraph.co.uk/news/worldnews/middleeast/israel/7807155/Israel-defies-international-push-for-UN-investigation-into-Gaza-
aid-ship (16/09/2553)

                              ลิขสิทธขิ์ องมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186