Page 182 - สังคมโลก
P. 182
7-76 สังคมโลก
อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)
อนญุ าโตตลุ าการเปน็ การแกไ้ ขขอ้ ขดั แยง้ ดา้ นกระบวนการทางกฎหมายทีแ่ ยกตา่ งหากจากระบบศาลยตุ ธิ รรม
ระหว่างประเทศ คู่กรณีพิพาทจะเสนอบุคคล (arbitrator) หรือคณะบุคคล (arbitral tribunal) เพื่อให้วินิจฉัยใน
ปัญหาข้อขัดแย้ง โดยคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายผูกพันที่จะยินยอมปฏิบัติตามการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ส่วนใหญ่จะ
เป็นข้อขัดแย้งทางเศรษฐกิจและการค้า ซึ่งอาจนำ�ไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองได้ แต่ก็มีข้อขัดแย้งทางการเมือง
หลายกรณีเช่นกันที่คู่พิพาทน�ำ ขึ้นสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ในการประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกใน ค.ศ. 1899 ได้
ก�ำ หนดใหอ้ นญุ าโตตลุ าการเปน็ กลไกในการแกไ้ ขขอ้ ขดั แยง้ ระหวา่ งรฐั ซึง่ อนสุ ญั ญาวา่ ดว้ ยการแกไ้ ขขอ้ ขดั แยง้ ระหวา่ ง
ประเทศโดยสันติวิธี (Hague Convention for the Pacific Settlement of International Disputes) ได้ระบุให้
มีการจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ขึ้น โดยแต่ละรัฐจะแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ
ทางกฎหมายไว้ 4 คนสำ�หรับการถูกเสนอชื่อให้ทำ�หน้าที่ให้คำ�วินิจฉัยในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐ ในสมัยการ
ดำ�เนินการของสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงจะเป็นผู้จัดท�ำ รายชื่ออนุญาโตตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งมาจาก
รัฐสมาชิกของสหประชาชาติไว้
ตวั อยา่ งการด�ำ เนนิ งานของอนญุ าโตตลุ าการคอื กรณพี พิ าทระหวา่ งเยเมนกบั เอรเิ ทรยี เกีย่ วกบั การครอบครอง
หมู่เกาะฮานิชในทะเลแดง จนกระทั่งเกิดการปะทะกันด้วยกำ�ลังในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 ทั้ง 2 ฝ่ายจึงนำ�เรื่องขึ้น
สู่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1998 ศาลอนุญาโตตุลาการที่มีองค์คณะ 5 คน โดยมีเซอร์ โร
เบิร์ต วาย เจนนิงส์ (Sir Robert Y. Jennings) เป็นประธาน ได้ชี้ขาดให้หมู่เกาะฮานิชเป็นของเยเมน ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย
ยอมรับคำ�วินิจฉัยดังกล่าว ข้อขัดแย้งจึงยุติลง114
ศาลยุตธิ รรมระหวา่ งประเทศ (International Court of Justice)
ในสมัยการดำ�เนินงานของสันนิบาตชาติ กติกาสัญญาของสันนิบาตชาติข้อ 14 ได้กำ�หนดให้คณะมนตรีเป็น
ผู้วางแผนจัดตั้งศาลยุติธรรมประจำ�ระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice) เพื่อระงับกรณี
พิพาทในทางกฎหมาย โดยมีอำ�นาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศที่นำ�ขึ้นสู่ศาลโดยรัฐคู่กรณี และยัง
มีอำ�นาจให้ความเห็นแนะนำ�เกี่ยวกับข้อพิพาทใดๆ ที่คณะมนตรีหรือสมัชชาเสนอมายังศาล ต่อมาเมื่อศาลยุติธรรม
ประจำ�ระหว่างประเทศหยุดดำ�เนินงานไประหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำ�นาจที่วางแผนจัดตั้งสหประชาชาติจึง
ปรึกษาหารือกันให้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศอันใหม่ขึ้นมา เพื่อทำ�หน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างรัฐในทาง
กฎหมาย และให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติเป็นภาคีของธรรมนูญศาลระหว่างประเทศดังกล่าว ต่อมาในวันที่ 18
เมษายน ค.ศ. 1946 จึงได้มีการประกาศเปิดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ โดยมีฐานะเป็นองค์กร
หลัก 1 ใน 6 ของสหประชาชาติ นอกเหนือจากสมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
คณะมนตรีภาวะทรัสตี และสำ�นักเลขาธิการ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ศาลโลก” อำ�นาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมระหว่าง
ประเทศกเ็ ชน่ เดยี วกบั ศาลยตุ ธิ รรมประจ�ำ ระหวา่ งประเทศในสมยั สนั นบิ าตชาติ และรฐั ทีไ่ มใ่ ชส่ มาชกิ ของสหประชาชาติ
อาจเป็นภาคีของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ได้ตามเงื่อนไขที่กำ�หนดโดยสมัชชาใหญ่เป็นรายๆ ไป และ
ตามคำ�แนะนำ�ของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยคณะผู้พิพากษา 15 คน โดย
114 Barbara Kwiatkowska, “The Eritrea/Yemen Arbitration: Landmark Progress in the Acquisition of Territorial
Sovereignty and Equitable Maritime Boundary Delimitation”, Articles Selection, IBRU Boundary and Security Bulletin 2000,
pp. 66-86.
ลขิ สทิ ธิข์ องมหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช